หน้าแรก Home feature ข้อมูลสำคัญ 5 ประการที่ทำให้ WiGig เหนือกว่า WiFi ปัจจุบัน

ข้อมูลสำคัญ 5 ประการที่ทำให้ WiGig เหนือกว่า WiFi ปัจจุบัน

แบ่งปัน
IEEE

IEEE เพิ่งออกมาตรฐานใหม่ในชื่อ 802.11ad ที่รู้จักกันในชื่อของ WiGig ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีก้าวถัดไปจาก WiFi ล่าสุดอย่าง 802.11ax ที่มีผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในตลาดมาตั้งแต่ต้นปี โดยโลกของไวไฟในอนาคตอีกกว่า 10 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นยุคของ WiGig ที่มีหลักการทำงานพื้นฐานแตกต่างจากเดิมดังต่อไปนี้

1. ระยะรับส่งและบริเวณครอบคลุมสัญญาณ

จาก WiFi ปัจจุบันที่ทำงานบนย่านความถี่ 2.4 และ 5 GHz นั้น WiGig กลับถูกออกแบบมาเพื่ออยู่บนย่าน 60 GHzยิ่งใช้ความถี่คลื่นมากเท่าไร ก็ยิ่งพาข้อมูลวิ่งไปได้มากเท่านั้นเมื่อเทียบกับความยาวคลื่นเท่ากัน ดังนั้น WiGig จึงพาข้อมูลวิ่งบนคลื่นวิทยุได้มากกว่าถึง 100 เท่าเมื่อเทียบกับ WiFi เดิม ที่ทำได้ถึงขนาดนี้เพราะ WiGig ใช้การยิงสัญญาณที่แคบกว่า แต่นั่นก็ทำให้ระยะครอบคลุมสัญญาณลดลงเหลือแค่ 30 ฟุต อีกทั้งยังไม่สามารถยิงทะลุผ่านสิ่งกีดขวางอย่างกำแพงหรือร่างกายมนุษย์ด้วย สรุปคือ WiGig จะให้การครอบคลุมสัญญาณแค่ภายในห้องเดียวกันเท่านั้น โดยไม่มีอะไรกีดขวางเส้นทางส่งสัญญาณชัดเจน

2. ใช้หลายเสาสัญญาณที่เข้ารหัสแบบ “Beamforming”

Advertisement

หรือการใช้เทคโนโลยี MIMO เพื่อแบ่งการส่งสัญญาณไปยังเสาที่อยู่ใกล้ปลายทางมากที่สุด พร้อมส่งพลังงานให้คลื่นที่ยิงไปยังปลายทางดังกล่าวเป็นพิเศษในลักษณะคล้ายแสงจากไฟฉายที่เรียกว่า ‘Array Gain” ซึ่งแอคเซสพอยต์ของ WiGig สามารถมีเสาสัญญาณได้มากถึง 64 เสา สำหรับยิงลำคลื่นออกมาได้มากถึง 128 ทิศทางในเวลาเดียวกัน

3. ใช้หลักการเข้าถึงช่องส่งสัญญาณใหม่ที่เรียกว่า “Service Period (SP)”

เพราะการเข้าถึงสื่อแบบเดิมอย่าง CSMA ที่ใช้การตรวจว่าสื่อหรืออากาศที่ตัวเองจะใช้มีอุปกรณ์อื่นแย่งใช้ส่งข้อมูลอยู่หรือเปล่านั้น ทำไม่ได้กับการส่งข้อมูลแบบ Beamforming ข้างต้นที่ยิงลำคลื่นเฉพาะบริเวณ ดังนั้นการใช้วิธีเข้าถึงสื่อแบบใหม่อย่าง Service Period จะใช้การแบ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า Beacon Interval (BI) แทน

4. รูปแบบการให้บริการใหม่อย่าง PBSS

จากเดิมที่มี Service Set แค่แบบ Infrastructure กับ Adhoc ครั้งนี้ WiGig เปิดรูปแบบการให้บริการใหม่เป็นแบบผสมหรือ PBSS ที่แม้ AP จะยังเป็นศูนย์กลางการสื่อสารร่วมกันอยู่ แต่อุปกรณ์ลูกทั้งหลายก็ไม่จำเป็นต้องคุยผ่าน AP เสมอไป โดยสามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์กันเองแบบ Ad hoc ได้ด้วย เช่น การสตรีมวิดีโอความละเอียดสูงจากเซิร์ฟเวอร์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องผ่าน AP ให้เปลืองแบนด์วิธ

5. หลบคลื่นรบกวนสัญญาณแบบเดิมๆ ได้

จากการหนีไปใช้ย่าน 60 Gbps ที่ไม่มีใครหรืออุปกรณ์มาตรฐานอื่นใช้กันเหมือน 2.4 กับ 5 Gbps เดิม แม้อัตราการส่งข้อมูลมากที่สุดที่รองรับได้จะอยู่ที่ 7 Gbps ขณะที่ 802.11ax ปัจจุบันรองรับได้มากถึง 9.6 Gbps ก็ตาม ซึ่งคาดว่าอุปกรณ์ WiFi ในอนาคตจะพัฒนาให้รองรับครบทั้งสามย่านความถี่ เพื่อเลือกสรรมาตรฐานและย่านความถี่ที่เหมาะสมกับการเชื่อมต่อกับแต่ละอุปกรณ์ได้อย่างอัจฉริยะ

ที่มา : Networkcomputing