หน้าแรก Networking & Wireless สิ่งที่คุณต้องรู้ เมื่อเวลาเลือกอุปกรณ์ทดสอบระบบ PoE

สิ่งที่คุณต้องรู้ เมื่อเวลาเลือกอุปกรณ์ทดสอบระบบ PoE

แบ่งปัน

ฟีเจอร์ Power over Ethernet (PoE) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างล้นหลามตั้งแต่มีการเปิดตัวมาตรฐานต้นกำเนิดอย่าง IEEE 802.3af Type 1 PoE ที่ให้กำลังไฟออกมาได้ถึง 15.4 วัตต์ เมื่อปี 2003 เป็นต้นมา ขณะที่มาตรฐานล่าสุดอย่าง 802.3bt สามารถให้กำลังไฟได้มากสุดถึง 90 วัตต์ เพียงพอต่อการจ่ายไฟให้ทั้งโทรศัพท์ กล้อง แอคเซสพอยต์ไร้สาย ไปจนถึงไฟ LED เครื่องรับชำระเงิน แล็ปท็อป และจอมอนิเตอร์แสดงภาพต่างๆ จึงไม่แปลกใจเลยที่นับวันจำนวนอุปกรณ์ PoE ยิ่งพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

จนถึงตอนนี้ คุณคงต้องเคยทำเกี่ยวกับการติดตั้ง ทดสอบ และแก้ปัญหาระบบสายเคเบิลที่เชื่อมต่อและจ่ายไฟให้อุปกรณ์ PoE หลากหลายประเภทมาแล้ว ขณะที่เครื่องทดสอบเทียบมาตรฐานสามารถช่วยการติดตั้งระบบสายเคเบิลครั้งแรกให้สอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมได้นั้น การที่นำอุปกรณ์ PoE มาใช้เพิ่มขึ้นก็ยิ่งทำให้การตัดสินใจซื้อเครื่องทดสอบที่รองรับ PoE คุ้มค่ากับการลงทุนยิ่งขึ้นไปอีก แล้วอะไรล่ะที่เป็นฟีเจอร์และความสามารถที่ทำให้เครื่องทดสอบ PoE ที่จะเลือกซื้อนั้นดีที่สุดสำหรับคุณ?

เครื่องทดสอบเครือข่าย Fluke Networks LinkIQ Cable+ จะบอกคุณได้ว่าเครือข่ายรองรับอุปกรณ์ PoE แบบไหนได้บ้าง

การตรวจคุณภาพระบบสายเคเบิล

เมื่อวางลากสายเคเบิลครั้งแรกโดยผู้ติดตั้งจากบริษัทวางระบบในตลาด พวกเขามักต้องมีการทดสอบแบบเทียบมาตรฐานตามปกติเพื่อดูว่าผลงานที่ทำไปนั้นผ่าน (Pass) หรือไม่ผ่าน (Fail) อิงตามมาตรฐานสายเคเบิล TIA หรือ ISO รวมทั้งเพื่อให้ได้การรับประกันจากผู้ผลิตสายเคเบิลด้วย แต่ในฐานะช่างเทคนิคด้านเน็ตเวิร์กแล้ว ย่อมรู้ดีว่าการเคลื่อนย้าย เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนสายบ่อยๆ หลังจากมีการทดสอบเทียบมาตรฐานครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มลิงค์หรืออุปกรณ์ใหม่, การย้ายตำแหน่งเอาต์เล็ต, หรืออัพเกรดอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้งานอยู่เดิมนั้น หลายครั้งที่จำเป็นต้องกลับมาตรวจสอบอีกทีว่าลิงค์ชุดใหม่ที่ผ่านการเปลี่ยนแปลงนี้ยังรองรับเทคโนโลยีเครือข่ายที่ต้องการอยู่ได้ไหม โดยเฉพาะเมื่อมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับสายเคเบิลที่อาจเสียหายระหว่างการเคลื่อนย้าย เพิ่มเติม หรือปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ

บางครั้งอุปกรณ์ PoE ได้แค่กระแสไฟฟ้า แต่ไม่ได้ส่งต่อหรือรับข้อมูลมาด้วย แม้สัญญาณนาฬิกาของ PoE จะซิงค์กับกระแสข้อมูลบนเครือข่ายแล้ว ซึ่งการใช้เครื่องทดสอบ PoE จะสามารถตรวจพารามิเตอร์ที่ต้องพิจารณาในการส่งต่อข้อมูลได้อย่างความยาว, ค่าการสูญเสียพลังงานในสาย, การสูญเสียไปกลับ, ครอสทอล์กฝั่งใกล้ตัว, ส่วนต่างค่าดีเลย์, และแสดงแผนภาพการโยงสายเพื่อเทียบคุณภาพของสายเคเบิลเข้ากับมาตรฐาน IEEE ที่จำเพาะ เช่น 1000BASE-T, 2.5/5GBASE-T, และ 10GBASE-T นอกจากนี้ ถ้าลิงค์ไม่ผ่านการทดสอบ Wire Map ก็ทำให้ทราบด้วยว่าอุปกรณ์ไม่ได้ทั้งข้อมูลและพลังงานไฟฟ้าแน่นอนเพราะสายอาจจะขาดกลาง วิ่งได้ไม่ต่อเนื่อง เป็นต้น

เมื่อกล่าวถึงการทดสอบแผนผังการโยงสายหรือ Wire Map เราก็ต้องการเครื่องทดสอบสายเคเบิลแบบ PoE ที่ไม่เพียงตรวจการเชื่อมต่อ แต่ยังต้องสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเช่นสายขาด ลัดวงจร จับคู่ผิดคู่สาย หรือเข้าสายผิด เพื่อที่จะได้รู้สาเหตุและแก้ได้ตรงจุด โดยเฉพาะเมื่อการทดสอบความต่อเนื่องของกระแสไฟ DC อย่างง่ายมักให้ผลเป็นผ่านแม้จะจับคู่สายผิดหรือ Split Pair ก็ตาม ซึ่งกรณีนี้ความต่อเนื่องของวงจรเมื่อดูแบบขั้วต่อขั้ว (Pin-to-Pin) จะยังได้อยู่ทั้งๆ ที่คู่สายทางกายภาพจริงโดนจับแยกออกจากกัน ในกรณีระบบสายเคเบิบแบบหุ้มฉนวน กรณีแบบนี้มักเกิดจากการหุ้มฉนวนที่ไม่ต่อเนื่องด้วย ดังนั้นการเลือกเครื่องทดสอบ PoE ที่สามารถตรวจความสมบูรณ์ของฉนวนก็เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับกรณีสายขาดหรือ Open เกิดจากลวดตัวนำภายในสายไม่ได้เชื่อมต่อกับจุดเชื่อมอย่างสมบูรณ์ หรือสายหักที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งบนลิงค์ ส่วนสายลัดวงจรหรือ Short เกิดขึ้นเมื่อสัญญาณวิ่งข้ามจากลวดตัวนำเส้นหนึ่งไปสู่อีกเส้นหนึ่ง เช่นเข้าหัวผิดขั้วหรือหัวต่อได้รับความเสียหาย การเกิดลัดวงจรยังบอกได้ด้วยว่าอาจมีวัสดุไปอุดตันระหว่างพินที่จุดเชื่อมต่อด้วย ส่วนการโยงสายผิดอย่างการเชื่อมคู่สายย้อนกลับ (Reversed) หรือข้ามคู่สาย (Crossed) เกิดขึ้นเมื่อลวดตัวนำไปเชื่อมต่อกับพินผิดตำแหน่งที่จุดเข้าหัวสาย

ในฐานะช่างเทคนิคด้านเครือข่ายแล้ว เครื่องทดสอบ PoE ที่ดีที่สุดควรจะใช้งานได้ง่าย เรียกดูข้อมูลที่บอกถึงปัญหาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น เครื่องทดสอบสายเคเบิล PoE ที่แสดงข้อมูลแบบกราฟิกให้เห็นลวดตัวนำทั้ง 8 เส้นและสถานะฉนวน (ถ้ามี) ที่ช่วยระบุตำแหน่งที่เกิดปัญหาได้อย่างแม่นยำ ไม่ต้องนั่งเดาให้เสียเวลาอีก อย่างภาพด้านล่างเป็นการแสดงผลบนเครื่องทดสอบเครือข่าย Fluke Networks’ LinkIQ™ Cable + แสดงตำแหน่งที่คู่สายโดนแยกกัน แผนผังการโยงสาย และปัญหาสภาพของฉนวนให้ด้วยการวงกรอบแดงบนหลายเลขตำแหน่งเส้นลวดหรือฉนวนให้อย่างชัดเจน

การใช้เครื่องทดสอบสายเคเบิล PoE เพื่อตรวจปัญหาสายขาด ลัดวงจร แยกคู่สาย หรือโยงสายผิด

การทดสอบเครือข่าย PoE แบบเรียลไทม์

จะดีมากถ้าเลือกเครื่องทดสอบ PoE ที่มีความสามารถในการทดสอบและแก้ปัญหาเครือข่าย PoE แบบถ่ายทอดสด (Live) ได้ เนื่องจากเป็นทางเดียวที่ทำให้ทราบว่าอุปกรณ์ฝั่งจ่ายไฟฟ้า (PSE) สามารถตอบสนองความต้องการต่างๆ ของอุปกรณ์ฝั่งได้รับกระแสไฟ (PD) หรือไม่ โดยมีฟีเจอร์สำคัญสองประการบนเครื่องทดสอบ PoE แบบถ่ายทอดสดได้แก่ การทดสอบการเจรจาคลาสกำลังไฟ และการทดสอบโหลดไฟ PoE

เครื่องทดสอบเครือข่าย LinkIQ Cable+ สามารถใช้ทดสอบและแก้ปัญหาเครือข่าย PoE ได้แบบถ่ายทอดสด (Live)

ทาง IEEE แบ่งคลาสให้กับระบบ PoE เป็นตั้งแต่ 0 ถึง 8 โดย PoE Type 1 และ Type 2 จะครอบคลุม Class 0 ไปถึง Class 4 (4 – 40 วัตต์) ขณะที่ Type 3 จัดอยู่ในคลาส 5 (45 วัตต์) และคลาส 6 (60 วัตต์) และ Type 4 จะจัดอยู่ในคลาส 7 (75 วัตต์) และคลาส 8 (90 วัตต์) การที่ PoE จะทำงานได้นั้น คลาสของอุปกรณ์ฝั่ง PSE จะต้องเท่ากับหรือสูงกว่าคลาสของฝั่ง PD ซึ่งเครื่องทดสอบ PoE ที่ดีควรสามารถระบุคลาสที่ตกลงกันได้โดยอิงจากค่าวัตต์ไฟฟ้าที่ฝั่ง PD ซึ่งเครื่อง LinkIQ™ แสดงค่าคลาสและค่าวัตต์ที่คุยกันได้ที่ฝั่ง PD ทั้งระดับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยสามารถศึกษาเกี่ยวกับคลาส PoE เพิ่มเติมได้จากคู่มือ https://www.flukenetworks.com/edocs/poe-installation-guide เพื่อการติดตั้งให้ประสบความสำเร็จ

บนสวิตช์ที่ใช้ PoE ได้นั้น ปริมาณกระแสไฟฟ้า PoE ที่จ่ายออกมาในแต่ละพอร์ตจะอิงตามความต้องการของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อด้วย ซึ่งเครื่องทดสอบ PoE ที่ดีจะต้องทดสอบศักย์ไฟฟ้า PoE แต่ละพอร์ตขณะที่ได้รับข้อมูลความต้องการกระแสไฟได้ ที่เราเรียกว่าการทดสอบโหลดไฟ PoE ซึ่งปกติจะใช้โปรโตคอลค้นหาบนลิงค์เลเยอร์ (LLDP) หรือโปรโตคอล Cisco discovery protocol (CPD) ที่ช่วยให้สวิตช์ค้นพบอุปกรณ์และคุยเกี่ยวกับความต้องการต่างๆ ระหว่างกัน เครื่อง Fluke Networks’ LinkIQ จะตรวจโหลดบนการเชื่อมต่อเพื่อดูว่ากำลังไฟที่ร้องขอนั้นสามารถจ่ายเข้ามายังอุปกรณ์ได้ตามต้องการหรือไม่ รวมทั้งแสดงศักย์ไฟฟ้าขั้นต่ำที่อุปกรณ์ต้องการด้วย โดยลิงค์จะไม่ผ่านการทดสอบ PoE ถ้าค่าศักย์ไฟฟ้าบนโหลดไฟดังกล่าวต่ำกว่าค่าขั้นต่ำที่อุปกรณ์ต้องการ

ดังนั้น ถ้าคุณกำลังทำงานกับลิงค์ที่ใช้ PoE บ่อยๆ และต้องการเพิ่มเครื่องทดสอบ PoE ดีๆ พกไว้ติดตัวแล้ว ก็ควรเลือกเครื่องที่สามารถตรวจคุณภาพสายและทดสอบเครือข่าย PoE แบบสดๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะเครื่องที่ใช้งานง่ายและสะดวกอย่างเช่น Fluke Networks’ LinkIQ