หน้าแรก Networking & Wireless สรุปเทคนิคทดสอบด้วยเครื่องมือในการตรวจสอบทั้ง OLTS และ OTDR

สรุปเทคนิคทดสอบด้วยเครื่องมือในการตรวจสอบทั้ง OLTS และ OTDR

แบ่งปัน

ปัจจุบันสายไฟเบอร์มีบทบาทสำคัญในการวางระบบเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ จากความต้องการแบนด์วิธที่มากกว่าเดิมทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ และระบบสายเคเบิลแกนหลัก หรือแม้แต่โครงข่ายผู้ให้บริการ 5G และ FTTX ที่ต้องการดีเลย์ต่ำ

แม้สายทองแดงจะยังครองส่วนแบ่งตลาดระบบสายเคเบิลส่วนใหญ่อยู่เนื่องจากยังไม่มีอุปกรณ์มากเท่าที่ต้องการแบนด์วิธมากกว่า 10 Gbps แถมส่วนใหญ่นี้ดกำลังไฟในสายเคเบิลแบบ PoE กันมากกว่า แต่ปริมาณการใช้สายไฟเบอร์ก็พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

โดยเฉพาะความต้องการที่พุ่งสูงถึงระดับ 40 และ Gbps ขึ้นไป หรือที่ที่ต้องการระยะทางไกลขึ้น รวมถึงไม่อยากให้อ่อนไหวต่อสัญญาณรบกวน ได้เรื่องความเสถียรและปลอดภัยมากกว่า ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดพบว่า ตลาดสายไฟเบอร์ทั่วโลกน่าจะแตะ 6.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2024 นี้

เรียกว่าการวางระบบสายไฟเบอร์เริ่มเป็นที่พบเห็นกันได้ทั่วไปแล้ว ทั้งเจ้าของเครือข่ายและช่างหน้างานจึงหันมาให้ความสำคัญกับเครื่องมือที่ใช้ทดสอบสายไฟเบอร์ที่จำเป็นอยู่สองตัว ได้แก่ Optical Loss Test Set (OLTS) และเครื่อง Optical Time Domain Reflectometer (OTDR)

เครื่อง OLTS ใช้ในการวัดค่าการสูญเสียภายในสายได้แม่นยำที่สุด วัดบนลิงค์โดยใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วต่อปลายอีกด้านหนึ่งเข้ากับเครื่องวัดกำลังแสงเพื่อวัดว่ามีปริมาณแสงออกมามากเท่าไรที่ปลายอีกด้านหนึ่ง

ซึ่งการตรวจวัดนั้นจำเป็นต้องทำตามมาตรฐานอุตสาหกรรม อย่างมากตรฐาน TIA และ ISO ต่างก็ใช้คำว่า “Tier 1” แทนการทดสอบด้วยเครื่อง OLTS นี้ ขณะที่เครื่อง OTDR ใช้อธิบายลักษณะของการสูญเสียพลังงานบนลิงค์ที่สไปซ์และหัวต่อแต่ละจุด

โดยใช้การส่งผ่านคลื่นแสงเข้าไปในสายไฟเบอร์ แล้ววัดปริมาณแสงที่สะท้อนออกมาสำหรับแต่ละคลื่นแสง แนะนำให้ทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในรูปแบบการใช้งานแบบ Short-Reach, Single Mode ที่กำลังนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

การทดสอบนี้จำเป็นอย่างมากในการเติมเต็มยุทธศาสตร์การทดสอบระบบสายเคเบิล โดยการทำสอบที่ครบทั้งการใช้เครื่อง OTDR และ OLTS นี้จะเรียกว่าการทดสอบแบบ “Tier 2” ตามมาตรฐาน TIA และเรียกว่าการทดสอบแบบ “Extended” ตามมาตรฐาน ISO

แม้การตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือทั้งสองตัวนี้จะดูคล้ายกัน แต่จริงๆ แล้วทำงานแตกต่างกัน และต่างมีบทบาทสำคัญทั้งสิ้น เราจึงควรเข้าใจกำไลการทำงานของแต่ละเครื่อง รูปแบบการเลือกใช้เครื่องมือ และการเติมเต็มซึ่งกันและกันในการวัดประสิทธิภาพสายไฟเบอร์ในปัจจุบัน

เริ่มที่เครื่อง OLTS ที่ถือเป็นพื้นฐานหลักในการทดสอบสายไฟเบอร์ เนื่องจากใช้วิธีที่แม่นยำมากที่สุดในการวัดค่าการสูญเสียทั้งหมดบนลิงค์ จำเป็นสำหรับมาตรฐานอุตสาหกรรมเพื่อพิสูจน์ว่า ลิงค์ดังกล่าวได้สเปกการสูญเสียตรงตามรูปแบบการประยุกต์ใช้ที่ต้องการ

การทดสอบนี้ทำได้ด้วยแหล่งกำเนิดแสงที่ปล่อยคลื่นแสงต่อเนื่อง ที่ความยาวคลื่นจำเพาะ เชื่อมเข้าที่ปลายด้านหนึ่งของสาย ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งต่อกับเครื่องวัดกำลังแสงที่วัดกำลังแสงที่ความยาวคลื่นเดียวกันกับแสงที่ปล่อยจากตัวต้นกำเนิด จนคำนวณค่าการสูญเสียทั้งหมดมาได้

มาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ มีการกำหนดขีดจำกัดของค่าการสูญเสียภายในสายที่จำเพาะกับรูปแบบการใช้งานแต่ละแบบเอาไว้ ที่เป็นการคิดรวมกันระหว่างโควต้าค่าการสูญเสีย และความยาวของลิงค์ อย่างเช่นที่ต้องการสำหรับมาตรฐาน TIA 568-3.D และ ISO/IEC 14763-3 สำหรับการทดสอบแบบ Tier 1 นั้น

ค่าการสูญเสียที่วัดได้จากเครื่อง OLTS จะเทียบกับลิมิตค่า Insertion Loss ของรูปแบบการใช้งานที่เลือกไว้ เพื่อดูว่าผลผ่านหรือไม่ผ่าน ซึ่งตัวมิเตอร์วัดกำลังไฟจากแหล่งกำเนิดหรือ LSPM ตรวจค่าการสูญเสียตามแต่ละมาตรฐานได้แม่นยำก็จริง

แต่ก็ไม่ได้มีฟีเจอร์สำคัญบางอย่างบนเครื่อง OLTS ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทดสอบไว้ด้วย เช่นการทดสอบดูเพล็กซ์ การทดสอบสองทิศทางแบบแฮนด์ฟรี การโหลดค่าลอสลิมิตล่วงหน้า การตรวจวัดความยาวสาย และฟีเจอร์ชั้นสูงอื่นๆ

มาที่เครื่อง OTDR ที่แสดงผลการตรวจที่พิจาณาลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยพล็อตค่าแสงที่สะท้อนกลับหรือกระจายกลับออกมาเทียบกับระยะทางตลอดสายไฟเบอร์ จึงใช้อธิบายเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสะท้อนหรือไม่สะท้อนที่จุดต่างๆ บนลิงค์ไฟเบอร์ได้

โดยการตรวจตลอดสายผ่าน OTDR แบบต่างๆ มีลักษณะคล้ายกันคือ เริ่มจากการปล่อยคลื่นแสงแรกที่เป็นผลจากการสะท้อนแบบ Fresnel ที่จุดเชื่อมต่อเครื่อง OTDR จากนั้นกราฟจะโค้งลงจากผลของค่าการสูญเสียภายในสายที่วัดจากแสงกระจายสะท้อนกลับระหว่างวิ่งบนสายไฟเบอร์

การลดลงนี้อาจโดนคั่นด้วยการเปลี่ยนค่าฉับพลัน ที่แสดงถึงการเบี่ยงเบนของค่าที่ตรวจตลอดสายไม่ว่าจะเป็นทิศขึ้นหรือลง ซึ่งมักเกิดจากหัวต่อ จุดเชื่อมสไปซ์ หรือสายหักขาด และเมื่อถึงจุดปลายสายก็จะเห็นการหักของกราฟอย่างรุนแรง ที่ร่วงลงมาตามแกน Y

และคลื่นแสงที่ออกมาที่ปลายผลการทดสอบด้วยเครื่อง OTDR นั้นเป็นผลจากการสะท้อนแสงที่จุดหน้าตัดปลายสาย ที่เราเรียกเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “Ghost” เนื่องจากในทางเทคนิคในเชิงปฏิบัติแล้วจะไม่เกิดเหตุการณ์อะไรแบบนี้

ดาวน์โหลด Whitepaper เต็มได้ที่ https://www.flukenetworks.com/createpdf/en/edocs/olts-otdr-complete-testing-strategy

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ – บริษํท เมเชอร์โทรนิกซ์ จำกัด โทร. 02-514-1000