หน้าแรก Home feature บทความน่ารู้ : อย่าลืม!! ทดสอบสายเคเบิลใหม่ ก่อนใช้ด้วย!

บทความน่ารู้ : อย่าลืม!! ทดสอบสายเคเบิลใหม่ ก่อนใช้ด้วย!

แบ่งปัน

แน่นอนว่าคุณอาจจะอยากทดสอบม้วนสายเคเบิลก่อนที่จะยอมเสียเวลาและทรัพยากรในการลากสายนั้น แม้คนมักจะมองว่าสายเคเบิลใหม่เอี่ยมจากโรงงานควรจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์แบบ แต่ก็อาจไม่เป็นแบบนั้นเสมอไป ยิ่งไปกว่านั้น ใครจะไปรับประกันได้ว่าม้วนสายเคเบิลดังกล่าวจะไม่ได้รับความเสียหายอะไรเลยระหว่างการขนส่งขนย้าย เพียงแค่คิดถึงการทดสอบสายเคเบิลหลังติดตั้งเสร็จทั้งหมดแล้วพบว่าสายมีปัญหา ก็แทบเสียวสันหลังวาบกับจำนวนเงินที่ต้องเสียเปล่าไปแล้ว

การทดสอบและบันทึกผลเป็นเอกสารสำหรับสายที่เพิ่งรับเข้ามาใหม่ยังช่วยตรวจคุณภาพในแต่ละม้วนสายว่ามีความสม่ำเสมอ สามารถเขื่อใจผู้จำหน่ายสายเคเบิลของคุณหรือไม่ได้ด้วย อีกทั้งยังเป็นข้อมูลเทียบได้ว่าสายเสียหายตั้งแต่แรกหรือมาเสียระหว่างติดตั้ง จะได้หาตัวผู้รับผิดชอบได้ถูกพร้อมหลักฐานชัดเจน

แต่เราจะทดสอบม้วนสายเคเบิลที่ยาวรวมเป็นกิโลโดยไม่เห็นปลายสายอีกด้านหนึ่งได้อย่างไร? แม้เราอาจไม่สามารถทดสอบพารามิเตอร์ทุกค่าได้ แม้เราอาจไม่สามารถทดสอบพารามิเตอร์ทุกค่าได้ แต่ก็สามารถเทสผลบางอย่างที่เพียงพอจะตีความได้ว่าควรใช้สายนั้นในการติดตั้งหรือไม่ เรามาดูวิธีกัน

การทดสอบสายทองแดงจากปลายด้านเดียว

เวลาจะทดสอบม้วนสายเคเบิลทองแดงแบบบิดเกลียวคู่นั้น ด้วยอุปกรณ์ทดสอบในตระกูล Fluke Network DSX CableAnalyzer™ ที่ใช้เฟิร์มแวร์รุ่นล่าสุดจะมีตัวเลือกการทดสอบที่เรียกว่า “Single Ended Cable” อยู่ในหมวด “Other” ในส่วนของการทดสอบค่าลิมิต แต่ก่อนจะกดปุ่มเริ่มทดสอบนั้น ต้องมาดูวิธีเชื่อมต่อสายเข้ากับเครื่องทดสอบกันก่อน

ตอนที่ผู้จำหน่ายสายทดสอบม้วนสายเคเบิลนั้น จะใช้อแดปเตอร์ในห้องปฏิบัติการร่วมกับอุปกรณ์ DSX แม้วิธีนี้จะเป็นวิธีแนะนำในการทดสอบม้วนสายเคเบิล แต่ก็เสียเวลาในการเข้าหัวสายและการทำให้มั่นใจได้ว่าจับคู่คู่สายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งไม่เหมาะอย่างยิ่งกับการทดสอบม้วนสายเป็นสิบๆ ที่หน้างานแน่นอน

ทางเลือกที่ง่ายกว่าคือการใช้แค่หัวเสียบเข้าสายสำหรับหน้างานกับปลายสายของม้วนเคเบิล พร้อมกับใช้แชนแนลอแดปเตอร์ ที่ใช้วิธีนีเพราะไม่ได้ต้องการจะหาค่าประสิทธิภาพที่ตัวปลั๊กอยู่แล้ว มีข้อสังเกตว่าเครื่อง DSX จะขึ้นข้อความแสดงความผิดพลาดเนื่องจากนึกว่าคุณต้องใช้อแดปเตอร์ระดับห้องปฏิบัติการสำหรับตัวเลือกการทดสอบ Single Ended Cable นี้ แต่ก็ให้ทดสอบต่อไปโดยไม่ต้องสนใจการแจ้งเตือนดังกล่าว

เมื่อทดสอบม้วนสายด้วยวิธีนี้ เราจะสามารถหาระยะทาง (ซึ่งมีประโยชน์มากเวลาต้องการดูว่ามีสายเหลือยาวอีกเท่าไรในม้วนนั้นๆ) รวมทั้งค่า Crosstalk ส่วนปลายสายฝั่งใกล้เรา (NEXT) และค่าความสูญเสียของสัญญาณไปกลับ (RL) ทีนี้คุณจะตัองทราบก่อนเกี่ยวกับการทดสอบม้วนสายเคเบิลลักษณะนี้ว่า การทดสอบจากปลายสายแค่ด้านเดียวนี้ เราไม่มีทางจะหาค่าการสูญเสียระหว่างการส่งสัญญาณ หรือค่า Crosstalk ที่ปลายสายอีกด้านหนึ่งได้เนื่องจากต้องใช้เครื่องต่อปลายอีกฝั่งด้วย รวมทั้งค่าความสูญเสียไ กลับที่ได้นั้นจะไม่ได้ให้ค่าที่ดีเนื่องจากกลับที่ได้นั้นจะไม่ได้ให้ค่าที่ดีเนื่องจากค่าความต้านทานจะถือว่าไม่มีที่สิ้นสุดทางเทคนิคเนื่องจากไม่มีการเชื่อมต่อที่ปลายสาย แต่ประเด็นคือถ้าการทดสอบ NEXT และ RL ขึ้นว่าล้มเหลวแล้ว ย่อมแสดงว่าม้วนสายนี้ “มีปัญหา” แน่นอน

แนะนำให้ทดสอบกับสายไฟเบอร์ด้วย

เนื่องจากสายใยแก้วนำแสงบอบบางกว่า อาจเสียหายระหว่างการขนส่งหรือขนย้ายได้ง่าย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราควรทดสอบม้วนสายไฟเบอร์ด้วย แม้ในอุดมคติเราควรจะทดสอบจากปลายสายทั้งสองด้านก็ตาม แต่ถ้าผู้จำหน่ายสายไม่ปล่อยปลายสายออกมาทั้งคู่เราก็แทบทดสอบแบบปกติไม่ได้เลย

แม้คุณจะใช้ชุดทดสอบหาการสูญเสียของแสงเบื้องต้นได้ แต่เราก็แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ OTDR อย่าง Fluke Networks’ OptiFiber® Pro เพราะจะให้ข้อมูลละเอียดกว่ามาก ไม่ว่าจะเป็นความยาวของสายในม้วน การตรวจหาการสูญเสีย และตำแหน่งที่เกิดปัญหาบนสาย แต่ก็เช่นเดียวกับกรณีของสายทองแดงที่ต้องหาวิธีเชื่อมต่อสายเข้ากับอุปกรณ์ทดสอบด้วย ซึ่งวิธีทดสอบม้วนสายไฟเบอร์ที่แนะนำและทำได้เร็วที่สุดก็คือการใช้สายพิกเทลร่วมกับการเชื่อมสายชั่วคราวหรือสไปลซ์สายทางกลเข้ากับสายไฟเบอร์ที่ทำการทดสอบ

เมื่อคุณเตรียมพร้อมเรียบร้อย ให้เลือก Real Time Trace แล้วตั้งค่าความยาวคลื่นที่ต้องการ ถ้าคุณจะทดสอบม้วนสายที่ความยาวคลื่นเดียวในช่วงเวลาที่ต้องการแล้ว แนะนำให้เลือกความยาวคลื่นที่สูงกว่าเพื่อระบุหาปัญหาได้ดีกว่า เนื่องจากความยาวคลื่นที่ยาวกว่านั้นจะไวต่อการสูญเสียจากการบิดงอของสายมากกว่า

ที่มา : Fluke Networks