การเลือกสายเคเบิลแบบ Stranded หรือ Solid Wire อันไหนเหมาะกับคุณ?

น่าจะพอคุ้นกันบ้างว่าสายเคเบิลทองแดงแบบบิดเกลียวคู่ทั้งแบบหุ้มและไม่หุ้มฉนวนต่างมีทั้งแบบมัดลวดย่อย (Stranded) กับแบบลวดเดี่ยวเส้นใหญ่ (Solid Wire) ซึ่งมีข้อควรพิจารณาในการตัดสินใจเลือกเยอะแยกมาก

เทคโนโลยี Single-Pair Ethernet (SPE) และสิ่งที่คาดจะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งต้องจับตา

SPE เข้ามาอยู่ในมาตรฐานระบบโครงสร้างพื้นฐานสายเคเบิลอย่าง ISO/IEC 11801 แล้วล่าสุดปี 2022 TIA ได้ปล่อยมาตรฐานชิ้นส่วน SPE สำหรับสภาพแวดล้อมการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่าง ANSI/TIA-568.5 ให้สอดคล้องกับทาง ISO/IEC นอกจากนี้ยังมีการนำ SPE เข้าผนวกกับมาตรฐาน TIA-1005 สำหรับสายเคเบิลในโรงงานอุตสาหกรรม และมาตรฐาน TIA-862 สำหรับใช้งานในอาคารอัจฉริยะด้วย

5 กฎเหล็กด้านความปลอดภัยเมื่อต้องทำงานกับสายไฟเบอร์

มีอันตรายหลายแบบมากที่ต้องเฝ้าระวังเวลาทำงานกับเน็ตเวิร์กไม่ว่าจะเชิงพาณิชย์หรือตามโรงงานอุตสาหกรรม แม้สายใยแก้วนำแสงดูเผินๆ เหมือนปลอดภัย ไม่ได้นำกระแสไฟฟ้าเหมือนสายทองแดง

ทำความเข้าใจกับการตรวจความสมบูรณ์ของฉนวนสายเน็ตเวิร์ก

การทดสอบระบบสายเคเบิลแบบหุ้มปลอกตาข่าย (Screened) ที่หน้างานนั้น ผู้ทดสอบจำเป็นต้องตรวจให้แน่ใจว่ามีการหุ้มต่อเนื่องไปจนถึงปลายสาย อย่างไรก็ดี ก็มักพบการทดสอบหน้างานที่ไม่ได้ระบุความต่อเนื่องของปลอกตาข่ายหุ้มดีพอ

บทความน่ารู้ : เน็ตเวิร์กที่เร็วขึ้น ก็ต้องการผลการทดสอบที่แม่นยำขึ้นด้วย

เราพบว่าทราฟิกทางดิจิตอลทั้งหมดที่ใช้งานกันตอนนี้มีค่าความเร็วเฉลี่ยอยู่ที่ 53.31 Mbps สำหรับการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์พกพา และที่ 134.10 Mbps สำหรับการเชื่อมต่อแบบตายตัวทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็หันมาใช้การเชื่อมต่อแบบไร้สายกับผู้ใช้ปลายทางกันหมดแล้ว ความเร็วระดับนี้เหนือกว่าสมัย 20 ปีที่แล้วมากถึง 1000 เท่าเลยทีเดียว

ความรู้พื้นฐาน 101 : การสไปซ์สายไฟเบอร์ ควรทำหรือไม่อย่างไร?

การสไปซ์สายไฟเบอร์ (Fiber Splicing) เป็นวิธีการเชื่อมไฟเบอร์สองเส้นเข้าด้วยกัน ด้วยการตัดสายไฟเบอร์ทั้งสองเส้นให้หน้าตัดคมสวยอย่างแม่นยำ แล้วเอามาวางต่อกันพร้อมเชื่อมสายด้วยเครื่องหลอมสไปซ์สาย

Fluke Networks เปิดเผยความสามารถใหม่ บนเครื่อง LinkIQ™ Cable+Network Tester

Fluke Networks ได้ประกาศการอัปเกรดเครื่อง LinkIQ™ Cable+Network Tester ที่ได้ขยายความครอบคลุมความสามารถในการทดสอบและแก้ปัญหาบนเครือข่ายไอพี, การทดสอบสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตอุตสาหกรรม, และรองรับผู้ใช้เพิ่มเป็นถึง 12 ภาษา

จบเสียที! ปัญหาเสียงรบกวนตอนตรวจสายด้วย Toner และ Probe

แม้การติดป้ายรหัสสายตามมาตรฐาน ANSI/TIA-606-B จะถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ควรทำ แต่เชื่อเถอะว่าหลายครั้งก็ลืมหรือรีบจนไม่ได้ทำป้ายติด หรือติดแล้วแต่ก็หาไม่เจอ มองไม่เห็นในเวลาที่ต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น ลิงค์สายเคเบิลก็มักมีการโยกย้ายเปลี่ยนพอร์ตใหม่ไม่ว่าจะในตู้หรือห้องชุมสาย หรือแม้แต่ในดาต้าเซ็นเตอร์

ประวัติศาสตร์ของสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตประเภทต่างๆ ตั้งแต่ Cat 3 – Cat 8

อีเธอร์เน็ตถือกำเนิดเมื่อปี 1973 โดย Bob Metcalfe ในศูนย์วิจัย Xerox Palo Alto ด้วยการใช้สายทองแดงเส้นหนาแบบโคแอกเซียล โดยเวอร์ชั่นแรกสุดคือ 10BASE5 ใช้สายที่ใหญ่เทอะทะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบครึ่งนิ้ว ต่อมาถึงขึ้นมาเป็น 10BASE2 ที่หันมาใช้สายเคเบิลที่หนาน้อยลงกว่าครึ่ง ยืดหยุ่นกว่าเดิม

เอาจริงนะ? ระบบสายเคเบิลของคุณพร้อมรับ Wi-Fi 6 หรือยัง?

ก่อนหน้านี้เราเคยกล่าวถึงเทคโนโลยีใหม่อย่าง Wi-Fi 6 และ 6E มาแล้ว ซึ่งถ้าคุณตัดสินใจว่าต้องเอาของใหม่ของดีนี้มาใช้บนเครือข่าย ก็ต้องตรวจให้แน่ใจก่อนว่าระบบสายเคเบิลที่มีอยู่นั้นใช้กับไวไฟใหม่ล่าสุดนี้ได้ดีไหมด้วย


View My Stats

เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า