หน้าแรก Networking & Wireless คำแนะนำ 6 ประการในการเตรียมเครือข่ายสู่ IPv6

[บทความ] คำแนะนำ 6 ประการในการเตรียมเครือข่ายสู่ IPv6

แบ่งปัน

หลังจากได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงประมาณปี 2550 เป็นต้นมา ก็ถือว่าปัจจุบันได้เข้าสู่ช่วงวิกฤติจริงที่ IPv6 จะได้ออกโรงแล้ว หลังจากทุกเทคนิคที่พยายามใช้ IPv4 ให้คุ้มที่สุด ขุดทุกซอกทุกมุมทั้งทำ NAT, Private/Public IP, การ Translate แปลงที่อยู่ทุกรูปแบบแล้วก็ไม่สามารถต่ออายุได้อีกนานนัก

ดังนั้น ขั้นตอนแรกที่องค์กรของคุณจะเริ่มหันมาใช้ IPv6 นั้น คือการทำการบ้าน ศึกษาข้อมูลและคู่มือต่างๆ อย่างละเอียด ซึ่งมีให้เลือกอ่านมากมายแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนโลกอินเทอร์เน็ต แต่ในบทความนี้เราได้สรุปขั้นตอนง่ายๆ สั้นๆ ให้คุณได้ทำความเข้าใจเบื้องต้นเรียงตามลำดับดังต่อไปนี้

1. จัดตั้งทีมงานสำหรับดูแลเรื่อง IPv6 โดยเฉพาะ จากตัวแทนฝ่ายต่างๆ เพื่อร่วมกันวางแผนและพัฒนา โดยสมาชิกในทีมควรมีทั้งฝ่ายดูแลเครือข่าย, ระบบ, แอพลิเคชั่น, เดสก์ท็อป, และเฮ้ลฟ์เดสก์ ร่วมกับตัวแทนจากฝั่งธุรกิจและผู้บริหาร เพื่อประกันความร่วมมือและอำนาจการตัดสินใจที่เพียงพอ

2. รวบรวมรายการทรัพยากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ทางด้านไอทีทั้งหลาย เพื่อตรวจสอบว่ารายการไหนรองรับ IPv6 ที่พร้อมดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้เลย ซึ่งปัจจุบันนี้ถือเป็นเวลาที่ดีมาก เนื่องจากอุปกรณ์เกือบทุกประเภทในตลาดที่ผ่านมาทั้งเราเตอร์, สวิตช์, ไฟร์วอลล์, ระบบปฏิบัติการ, แอพพลิเคชั่น, และระบบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่างใช้งาน IPv6 ได้หมดแล้ว

3. เข้ารับการอบรมการใช้ IPv6 เนื่องจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีในองค์กรส่วนใหญ่น่าจะไม่คุ้นเคยกับ IPv6 มากเท่าไร โดยเฉพาะตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน ดังนั้นการลงทุนกับการอบรมย่อมให้ผลดีในภายหลังที่จะเห็นได้ชัดในช่วงที่ดำเนินการเปลี่ยนระบบอย่างต่อเนื่อง

4. วางแผนและออกแบบระบบ IPv6 ซึ่งควรทำหลังจากทีมงานได้รับการอบรมเป็นอย่างดี และรู้จักทรัพยากรไอทีทุกอย่างในมือแล้ว การออกแบบควรมองภาพแบบองค์รวมที่นำทุกปัจจัยแวดล้อม รวมทั้งผลประโยชน์ที่องค์กรจะได้มาพิจารณา โดยการวางแผนนั้นควรเริ่มติดตั้งจากฝั่งอินเทอร์เน็ตภายนอกเข้ามาด้านใน

5. วางแผนจัดสรรที่อยู่ IPv6
เริ่มจากการกำหนดขนาดของพรีฟิกซ์ IPv6 แบบโกลบอลที่องค์กรของคุณต้องการ เพื่อที่จะร้องขอการจัดสรรที่อยู่จากผู้ให้บริการจดทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาคที่ตัวเองสังกัดหรือ (RIR) จากนั้นจึงค่อยวางแผนกำหนดพรีฟิกซ์ย่อยลงไป ซึ่งกรณีที่องค์กรเพิ่งเริ่มหันมาใช้ IPv6 ใหม่ตั้งแต่ต้น ก็ควรใช้พิจารณาเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการกำหนดไอพีอย่างเป็นระบบ อย่างเช่น IPv6 IP Address Management (IPAM)

6. การทดสอบระบบ IPv6 ก่อนนำมาใช้งานจริง ซึ่งถ้าองค์กรมีแล็ปสำหรับทดสอบการตั้งค่าต่างๆ แล้ว ย่อมทำให้มั่นใจและพร้อมต่อการนำมาติดตั้งจริงมากขึ้น

ดาวน์โหลดเพิ่มเติมทั้งหมดที่นี่ : https://www.networkworld.com/article/3235805/lan-wan/ipv6-deployment-guide.html