หน้าแรก Networking & Wireless Fiber Optic ข้อมูลน่ารู้ : สายเคเบิลพิเศษแบบไหนบ้าง ที่คุณควรใช้

ข้อมูลน่ารู้ : สายเคเบิลพิเศษแบบไหนบ้าง ที่คุณควรใช้

แบ่งปัน

ช่วงที่ผ่านมามีลูกค้าตั้งข้อสงสัยระหว่างการสาธิตการใช้งาน Fluke Networks OptiFiber® Pro OTDR และ CertiFiber® Pro OLTS ว่าทำไมเราถึงจำเป็นต้องใช้สายเคเบิลพิเศษเหล่านี้ในการตรวจวัดค่า แทนที่จะใช้สายเคเบิลสั้นแบบทั่วไปแทน

ดังนั้นครั้งนี้ทาง Fluke Networks จึงถือโอกาสในการอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับสายเคเบิลแบบพิเศษหลากหลายแบบที่คุณจำเป็นต้องใช้เพื่อตรวจวัดกับอุปกรณ์ทดสอบของเราได้อย่างแม่นยำดังต่อไปนี้

สาย Launch Cord และ Tail Cord
การใช้เครื่อง OptiFiber Pro OTDR นั้นเหมือนกับเครื่อง OTDR ส่วนใหญ่ ที่เราต้องหาวิธีในการตรวจวัดหัวต่อที่อยู่ต้นทางของลิงค์ที่กำลังทดสอบ ซึ่งตัวร่าค่าทางอิเล็กทรอนิกส์ของ OTDR ค่อนข้างอ่อนไหวมาก ตัวโฟโต้ไดโอดที่ใช้ก็ต้องสามารถตรวจจับค่าแสงที่สะท้อนกลับมาแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยมากหลังจากตัว OTDR ปล่อยคลื่นแสงสำหรับการตรวจวัด ซึ่งคลื่นแสงช่วงแรกที่ปล่อยออกมาสำหรับตรวจวัดนั้นจะทำให้ตัวตรวจจับของ OTDR รับภาระมาก จนต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งระบบอิเล็กทรอนิกส์ถึงจะกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งเวลาที่ใช้นี้จะเท่ากับที่แสงใช้ในการเดินทางตลอดสายไฟเบอร์ ดังนั้น การที่จะตรวจวัดหัวต่ออันแรกได้ถูกต้อง เราจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Launch Cord เพื่อให้ตัวตรวจจับของ OTDR สามารถ “มองเห็น” หัวต่ออันแรก และตรวจวัดประสิทธิภาพได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ ในการตรวจวัดด้วย OTDR ที่ดีนั้น ยังจำเป็นต้องใช้สายเคเบิลที่มีลักษณะเดียวกันมาเชื่อมต่อส่วนท้ายของลิ้งค์ไฟเบอร์ที่ทดสอบด้วย ซึ่งเรามักจะเรียกสายเส้นนี้ว่า Tail Cord โดยมักใช้สายที่มีความยาวเท่ากับ Launch Cord เพื่อช่วยให้ตรวจวัดประสิทธิภาพของหัวต่อปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในกรณีที่สายไฟเบอร์ของคุณเกิดหักตรงหัวต่อส่วนปลายเส้นพอดีนั้น เราจะไม่มีทางทราบได้เลยถ้าไม่ได้ใช้สายต่อปลายหางออกมาหรือ Tail Cord ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณใช้สายต่อปลายลิงค์เพิ่มออกมา 100 เมตร คุณก็ควรตรวจพบสายไฟเบอร์ความยาวอีก 100 เมตรหลังหัวต่ออันสุดท้าย ถ้าเกิดเครื่องมองไม่เห็นสาย 100 เมตรนี้แล้ว ก็แสดงว่าสายหักตรงหัวต่อสุดท้ายนั่นเอง นอกจากนี้ ถ้าคุณทำการตรวจวัดเฉลี่ยแบบสองทิศทางบนสายไฟเบอร์ ก็จำเป็นต้องใช้ Tail Cord เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้องด้วย

สาย Loopback และ Sacrificial

ในการสาธิตการใช้งาน OptiFiber Pro OTDR ของทาง Fluke จะเป็นการแสดงให้ลูกค้าเห็นวิธีการตรวจวัดแบบ SmartLoop® OTDR ที่เป็นแบบเฉพาะของเรา ซึ่งเป็นการใช้ OTDR ตรวจวัดสายไฟเบอร์สองเส้นแบบสองทิศทางเพื่อให้ผลตรวจวัดแบบเฉลี่ย โดยไม่จำเป็นต้องย้ายเครื่อง OTDR ไปอีกปลายด้านหนึ่งของลิงค์ที่มักจะอยู่ไกลมาก โดยจะมีการใช้สายสั้นๆ แค่ 30 ซม. (มักนิยมเรียกสายประเภทนี้ว่า สาย “Sacrificial”) ที่มีอแดปเตอร์เชื่อมต่อระหว่างพอร์ตขาออกของ OTDR กับสาย Launch หรือ Tail ลูกค้าบางรายอาจกังวลว่าสายที่ต่อเพิ่มมาถึง 30 ซม. นี้อาจกระทบกับค่าที่ตรวจวัดได้บน OTDR

ดังนั้นทาง Fluke จึงออกมาอธิบายดังนี้: ยกตัวอย่างกรณีแรก เนื่องจากมีส่วนที่เราเรียกว่า OTDR Event Dead Zone (ซึ่ง OTDR ทุกเครื่องมีอยู่แล้ว) ทำให้ OTDR จะมองไม่เห็นสาย Sacrificial สั้นๆ นี้ หรือหมายความว่าสายดังกล่าว “ไม่มีตัวตน” ส่วนเหตุผลสำคัญที่ต้องมีการใช้สาย Sacrificial ก็เพื่อปกป้องพอร์ตเอาต์พุตของ OTDR จากความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากเวลาที่ใช้โหมด SmartLoop OTDR เราต้องคอยสับเปลี่ยนสายทั้งส่วน Launch และ Tail ที่เชื่อมต่อกับเส้นทางที่ OTDR ปล่อยคลื่นเอาต์พุตออกมา ซึ่งมีโอกาสทำให้ปนเปื้อนสิ่งสกปรกได้โดยไม่ตั้งใจ จนไปทำลายพอร์ตเอาต์พุตของเครื่อง OTDR ได้

ดังนั้น ถ้าเราหันมาใช้สายต่อออกมาหรือ Sacrificial Cord ในการสลับเปลี่ยนสาย Launch/Tail แทนการทำที่พอร์ตเครื่องตามภาพที่ 1 แล้ว นอกจากจะทำได้ง่ายกว่า ถ้าตัวสายที่เราเอาเป็นตัวตายตัวแทนนี้เกิดชำรุด ก็แค่เปลี่ยนสายส่วนนี้ใหม่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีลูกค้าหลายรายที่ต่อสายตัวตายตัวแทนหรือ Sacrificial กับเครื่อง OTDR ทิ้งเอาไว้ตลอดสำหรับการตรวจวัดทุกประเภทเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนหรือสร้างความเสียหายการพอร์ตตรวจวัดหลักบนเครื่อง OTDR (แต่พอร์ตนี้ก็สามารถทำความสะอาดได้ง่ายเช่นกัน ลองดูรายละเอียดได้จาก https://www.flukenetworks.com/support/knowledge-base/optifiber-pror/making-sure-optifiberr-pro-output-ports-are-clean)


ภาพที่ 1 สาย Sacrificial ที่ต่อออกมาจากพอร์ตเอาต์พุตของเครื่อง OTDR

สำหรับชุดอุปกรณ์จาก Fluke Networks แล้ว ทั้งสาย Launch, Tail, และ Sacrificial ต่างใช้หัวต่อเกรดมาตรฐานสำหรับอ้างอิงทั้งสิ้น เพื่อให้สูญเสียพลังงานน้อยที่สุดเมื่อนำมาใช้งานอย่างเหมาะสม

การทดสอบสายอ้างอิงเพื่อวัดค่าการสูญเสียได้อย่างแม่นยำ

สำหรับสายพิเศษแบบสุดท้าย ที่หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมระหว่างการใช้งานเครื่อง CertiFiber Pro OLTS ถึงมีการใช้สายอ้างอิงสำหรับทดสอบหรือ TRC ระหว่างการตรวจวัดมากกว่าจะใช้สายต่อสั้นๆ แบบปกติ ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็คือ สายไฟเบอร์สั้นๆ หรือ Patch Cord ที่ใช้กันทั่วไปนั้นมีความหลากหลายและมีค่าการสูญเสียมากพอที่จะทำให้การตรวจวัดไม่เที่ยงตรงหรือสม่ำเสมอเพียงพอ ซึ่งสายพิเศษอย่าง TRC นั้นจะใช้ใยแก้วนำแสงและหัวต่อเกรดสำหรับเป็นมาตรฐานอ้างอิงโดยเฉพาะจนทำให้สูญเสียพลังงานน้อยมาก โดยน้อยกว่า 0.1dB สำหรับสายแบบ MM และน้อยกว่า 0.2dB สำหรับสายแบบ SM ซึ่งค่าการสูญเสียที่น้อยมากนี้แทบไม่มีผลกับค่าการตรวจวัดจริง ขณะที่สาย Patch Cord ทั่วไปอาจให้ค่าการสูญเสียได้มากถึง 0.5dB สำหรับการตรวจวัดสายมัลติโหมด และมากถึง 1.0dB สำหรับสายต่อแบบซิงเกิ้ลโหมด

สามารติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ที่เพจ Fluke Network