หน้าแรก Networking & Wireless Fiber Optic 10 บริษัทด้าน SD-WAN ที่เป็นน้องใหม่ไฟแรง ที่น่าจับตา

10 บริษัทด้าน SD-WAN ที่เป็นน้องใหม่ไฟแรง ที่น่าจับตา

แบ่งปัน

ต้องยอมรับว่าโลกของเทคโนโลยี SD-WAN ถูกผลักดันด้วยยักษ์ใหญ่ในวงการอย่าง AT&T, Cisco, Citrix, และ VMware มาช้านาน

แต่ปัจจุบันก็มีสตาร์ทอัพน้องใหม่ที่เริ่มเข้ามาเดินแคทวอล์กสวยๆ ในตลาดจนไม่ควรคลาดสายตาด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตอย่างโดดเด่นจนเข้าตากรรมการ นำไปสู่การโดนซื้อกิจการอย่างที่ซิสโก้ซื้อ Viptela, VMware ซื้อ VeloCloud, NTT ซื้อ Virtela, รวมทั้งที่ Riverbed ซื้อ Ocedoเป็นต้น

ความสามารถในการเปลี่ยนจากโครงสร้างพื้นฐานที่อุ้ยอ้ายไม่ยืดหยุ่นอย่าง MPLS/VPN มาใช้เครือข่ายแบบ Software-Defined แทนนี้ทำให้การโยกย้ายสำนักงานสาขา โดยเฉพาะในต่างประเทศทำได้สะดวกขึ้นมากแทบจะเรียกว่าเปลี่ยนชีวิตกันเลยทีเดียว ยิ่งนำมาใช้ร่วมกับระบบคลาวด์, อุปกรณ์พกพา, และแอพแบบ Rich-Media ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในระดับองค์กรอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจที่ IDC จะคาดการณ์ตลาด SD-WAN ว่าจะเติบโตขึ้นไปแตะระดับ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2564 นี้

จากผลสำรวจของ IHS Markit พบว่าผู้นำตลาด SD-WAN ตอนนี้ได้แก่ VMware (VeloCloud), Aryaka, Silver Peak, และ Cisco (Viptela) แต่ก็มีสตาร์ทอัพใหม่ที่ดูเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดอย่างเข้มข้นอยู่ 10 เจ้าด้วยกัน ได้แก่

1. BigLeaf Networks

ก่อตั้งเมื่อ 2555ด้วยทุนจดทะเบียน 7ล้านดอลลาร์ฯโดยอดีตซีไอโอของ Freewire Broadbandให้บริการ SD-WAN สำหรับเร่งความเร็วของแอพบนนคลาวด์ พร้อมการตรวจสอบปัญหาด้านประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ และการปรับแต่งรูปแบบทราฟิกให้อัตโนมัติเมื่อมีการเพิ่มแอพใหม่

2. Cato Networks

ก่อตั้งเมื่อ 2558ด้วยทุนจดทะเบียน 70ล้านดอลลาร์ฯโดยอดีตผู้ก่อตั้ง Check Point Software และ Impervaให้บริการ SD-WAN ภายใต้ชื่อ Cato Cloud ที่เชื่อมต่อทุกองค์ประกอบบนเครือข่ายขององค์กร ไม่ว่าจะเป็นที่สำนักงานสาขา, พนักงานที่ทำงานแบบโมบายล์, และดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งภายในองค์กรและบนคลาวด์

3. CloudGenix

ก่อตั้งเมื่อ 2556ด้วยทุนจดทะเบียน 57ล้านดอลลาร์ฯให้บริการในชื่อ AppFabric ที่สามารถกำหนดรูปแบบการให้บริการ WAN สำหรับแต่ละแอพพลิเคชั่น (Application-Aware) ได้ โดยจัดการปัจจัยทั้งด้านเครือข่ายและแอพที่ส่งผลต่อประสบการณ์ใช้งานโดยรวม

4. Mode

ก่อตั้งเมื่อ 2556ด้วยทุนจดทะเบียน 24.3ล้านดอลลาร์ฯให้บริการในรูป Network-as-a-Service ที่มองว่าเหมือน “คลาวด์MPLS ที่ให้บริการทั่วโลก” สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Edge ของ SD-WAN เพื่อฟอร์เวิร์ดทราฟิกไปยังเครือข่ายแกนหลักของ Software-Defined

5. SimpleWAN

ก่อตั้งเมื่อ 2557 เริ่มต้นจากเงินรางวัลในการแข่งขัน Arizona Innovation Challengeเมื่อปี 2557 กว่า 2.5 แสนเหรียญสหรัฐฯ ให้บริการชุดจัดการเครือข่ายครบวงจรทั้ง SD-WAN, Managed Wi-Fi, ด้านความปลอดภัย และด้านอื่นๆ

6. Speedify

ก่อตั้งเมื่อ 2557 โดยอดีตซีอีโอของ Nomadioให้บริการ SD-WAN ที่รวมการเชื่อมต่อทั้งแบบ Wi-Fi, Cellular, Ethernet และแบบอื่นๆ เข้าเป็นลิงค์เดียวเพื่อเพิ่มแบนด์วิธ โดยใช้แอพซอฟต์แวร์แบบสแตนอโลนทั้งบนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพาในการใช้เทคนิคบอนด์แชนแนลการเชื่อมต่อเน็ตเป็นหนึ่งเดียวกัน ที่ให้ทั้งประสิทธิภาพ, การสำรองการทำงาน, และระบบเฟลโอเวอร์แบบอัตโนมัติ

7. Turnium Technology

ก่อตั้งเมื่อ 2560โดยอดีต CTIO ของ Multapplied Networksให้บริการ SD-WAN แบบเชื่อมช่องสัญญาณ (Channel Bonding) ผ่านการเชื่อมต่อหลายรูปแบบ (เช่น DSL, เคเบิล, MPLS) เพื่อเพิ่มทั้งความเร็วและประสิทธิภาพ ด้วยบริการผ่านคลาวด์ที่โฆษณาว่าช่วยจัดการเครือข่ายให้ได้อัพไทม์มากกว่า 99% พร้อมความสามารถในการมองเห็นทราฟิกที่สำคัญ และใช้จัดสรรแบนด์วิธตามความต้องการพิเศษภายในเวลาอันรวดเร็วได้

8. Versa Networks

ก่อตั้งเมื่อ 2555ด้วยทุนจดทะเบียน 111.9ล้านดอลลาร์ฯโดยอดีต SVP ของซิสโก้ ให้บริการทั้ง SD-WAN และระบบความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง เช่น SD-Branch, หรือบริการ SD-Router และ SD-Security สำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย

9. Vrayo Systems

ก่อตั้งเมื่อ 2560จากประเทศไอร์แลนด์ ให้บริการ SD-WAN ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์แบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ, การเชื่อมต่อในระบบขนส่งมวลชน, และการสื่อสารเพื่อควบคุมอากาศยาน (UAV Telemetry)โดยใช้ซอฟต์แวร์เชื่อมวีพีเอ็นหลายช่องสัญญาณเข้าด้วยกัน ที่ใช้อัลกอริทึมที่ซับซ้อนในการจัดการลูปบนเครือข่าย ทำให้ยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายได้กับหลายรูปแบบการใช้งาน

10. Zenlayer

ก่อตั้งเมื่อ 2557 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านดอลลาร์ฯโดยอดีต SVP ด้านธุรกิจต่างประเทศของ ChinaCacheที่ให้บริการเครือข่าย SD-WAN ที่เชื่อมต่อเข้าถึงกว่า 80% ของพื้นที่ที่มีประชากรอยู่อาศัยทั่วโลกภายในไม่ถึง 25ms นอกจากนี้ยังมีบริการโคโล, โฮสติ้งแบบ Managed, เซิร์ฟเวอร์Bare-Metal แบบออนดีมานด์, และบริการประมวลผลแบบ Edge อีกด้วย

ที่มา : Networkworld