หน้าแรก Networking & Wireless Fiber Optic หัวต่อ LC แบบโลหะ: บอกลาปัญหาเดือยหักของสายไฟเบอร์ไปได้เลย

หัวต่อ LC แบบโลหะ: บอกลาปัญหาเดือยหักของสายไฟเบอร์ไปได้เลย

แบ่งปัน

แม้ในโลกของสายใยแก้วนำแสงจะมีหัวเชื่อมต่อมากมายหลายแบบขึ้นกับประเภทของอุปกรณ์ แต่หลักๆ แล้วเราก็มักเห็นการใช้หัวต่อแบบ LC เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

หัวต่อ LC แบบพลาสติก
การใช้หัวต่อที่วัสดุเป็นพลาสติกนั้นเหมาะกับตำแหน่งที่เชื่อมต่อแบบไม่ต้องถอดเข้าถอดออกอีก แต่ถ้าเป็นจุดที่ต้องมีการถอดเข้าออกอยู่บ่อยครั้งแล้ว ตัวอย่างเช่นกับสายไฟเบอร์อ้างอิงสำหรับทดสอบ ก็มักจะเจอปัญหาเดือยตัวล็อกหักจากการกดซ้ำๆ หลายครั้งได้

เสริมความแข็งแรงให้หัวต่อสายไฟเบอร์อ้างอิงสำหรับทดสอบด้วยการใช้วัสดุที่เป็นโลหะแทน
แทนที่ต้องมานั่งเตรียมสายไฟเบอร์ทดสอบสำรองไว้หลายๆ เส้น หรือต้องสั่งซื้อสายใหม่มาใช้แทนอย่างเร่งรีบทุกครั้ง สู้ลองหันมาพิจารณาหัวต่อที่มีความทนทานสูงกว่าอย่างหัวต่อ LC แบบโลหะ (Metal LC) แบบใหม่ล่าสุดของ Fluke Networks ที่เป็นนวัตกรรมเขย่าวงการสายทดสอบสำหรับตรวจค่าการสูญเสียด้วยเครื่อง OTDR ด้วยหัวต่อ LC ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด

ตัวอย่างปัญหาเดือยหัวบนหัวต่อ LC แบบพลาสติก

หัวต่อสายไฟเบอร์รุ่นนี้ประกอบด้วยปลอกหุ้มที่โปร่งด้านใน โดยผิวด้านนอกของปลอกหุ้มจะมีกลไกเดือยโลหะที่แข็งแรงสำหรับใช้ยึดเชื่อมหัวต่อสายไฟเบอร์เข้าออก ส่วนตรงปลายเดือยนั้นหมุนได้ ยึดกับตัวปลอก ทำให้ยึดเชื่อมติดกับรูพอร์ตได้โดยไม่เป็นการเพิ่มความเครียดทางกล

หัวต่อใหม่นี้ผ่านการทดสอบสุดโหดทั้งหลายจาก Fluke Networks
การทดสอบตามหลัก GR-326-CORE
เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหัวต่อสายไฟเบอร์แบบ LC ใหม่นี้ทนทานต่อการใช้งานในระยะยาว จึงมีการทดสอบหัวต่อ LC โลหะนี้ตามเกณฑ์ GR-326-CORE ซึ่งเป็นสเปกด้านประสิทธิภาพจากการประกอบสายเคเบิล การทดสอบดังกล่าวได้การยอมรับว่าเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์แบบและเข้มงวดมากที่สุดในการทดสอบหัวต่อสายไฟเบอร์แบบ LC โดยมีการทดสอบสายไฟเบอร์หลายด้านด้วยกัน

การทดสอบความคงทน
เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์จาก Fluke ทุกรายการ เหล่าหัวต่อสายใยแก้วนำแสงนี้ก็ต้องผ่านชุดการทดสอบด้านความคงทนต่อการใช้งานต่างๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าปลอกหุ้มนี้จะผ่านมาตรฐานที่เข้มงวดของเราได้ ไม่ว่าจะเป็นการทดสอบด้วยการเชื่อมสายและดึงสายออก ตามจำนวนครั้งที่กำหนดว่าจะสามารถทนต่อเกณฑ์ค่าประสิทธิภาพอย่าง Attenuation และ Return Loss ตามสเปกของสายได้หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วจะทดสอบประมาณ 500 – 1,000 รอบ

แต่กับหัวต่อ LC แบบโลหะ เราต้องการให้มั่นใจจริงๆ ว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป จึงทำการทดสอบสูงถึง 1,500 รอบโดยตรวจว่าไม่พบการเปลี่ยนแปลงของ Attenuation หรือ Return Loss ที่สังเกตได้ ภายใต้สเปกด้านความทนทานของหัวต่อ LC แบบโลหะที่ระบุไว้ว่า เมื่อผ่านการทดสอบเชื่อมสายเข้าออกขั้นต่ำ 1,000 รอบแล้ว จะต้องมีค่า Attenuation น้อยกว่า 0.1 dB สำหรับหัวต่อแบบมัลติโหมด และ 0.2 dB สำหรับหัวต่อแบบซิงเกิลโหมด ทั้งรุ่น PC และ APC

ตัวเดือยของ LC ก็ต้องผ่านการทดสอบเพื่อพิสูจน์ความแข็งแรง ให้เชื่อมั่นได้ว่าสายเคเบิลเหล่านี้สามารถนำไปใช้งานจริงได้ในระยะยาว ด้วยการเสียบเข้าออกมากถึง 10,000 ครั้งโดยใช้หัวต่อและอแดปเตอร์ตัวเดียวกัน โดยมีการตรวจสอบบริเวณต่างๆ ทุกจุดของหัวต่อทุกๆ 500 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นบริเวณตัวหุ้ม คลิปที่ยึดไว้ สปริง และตัวเดือย โดยเมื่อจบการทดสอบแล้ว เดือยจะต้องไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น

การนำหัวต่อ LC แบบโลหะมาใช้กับเครื่องมือที่คุณมีอยู่
ชุด Versiv ทุกแบบที่มาพร้อมกับสาย LC อ้างอิงสำหรับทดสอบตอนนี้จะมาพร้อมกับหัวต่อ LC แบบโลหะ รวมทั้งสาย “LC” เสริมทุกรุ่นจะถูกเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ที่ใช้หัวต่อเป็นโลหะแทน โดยรุ่นของ Metal MC จะระบุด้วย “-M” หรือใช้ตัว “M” เป็นตัวอักษรสุดท้าย และถึงแม้ผู้ใช้ยังควรตรวจสอบข้อกำหนดด้านความต้องการของเครื่องมือทดสอบของตัวเองก่อน แต่สายแบบใหม่ส่วนใหญ่นี้ก็สามารถนำไปใช้กับเครื่องมือทดสอบจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้ โดยเอาไปใช้แทนสายทดสอบเดิมของเครื่องมือดังกล่าวที่ใช้หัวต่อ LC แบบพลาสติกที่อ่อนและชำรุดง่าย

สายเคเบิลที่ใช้หัวต่อ LC แบบโลหะ

แต่จำไว้ว่า แม้หัวต่อ LC แบบโลหะใหม่นี้จะให้ความแข็งแรงทนทานเชิงกลสูงมาก แต่อย่าลืมว่าหน้าตัดสายไฟเบอร์ก็ยังทำด้วยแก้ว ถ้าไม่ได้ตรวจสอบและทำความสะอาดหน้าตัดสายก่อนเชื่อมต่อแล้ว ถึงจะใช้หัวต่อแบบโลหะก็อาจไม่ได้ให้อายุการใช้งานยาวนานอย่างที่คุณคาดหวังได้

ที่มา : https://www.flukenetworks.com/expertise/learn-about/metal-lc-connector