หน้าแรก Data Center เรื่องน่ารู้ : การทดสอบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์

เรื่องน่ารู้ : การทดสอบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดาต้าเซ็นเตอร์

แบ่งปัน

แม้แต่ในดาต้าเซ็นเตอร์ก็มีส่วนต่างๆ ที่แตกต่างกัน ทั้งประเภทมาตรฐานการใช้งาน สายเคเบิล และการเชื่อมต่อที่คุณต้องเจอและทดสอบ ดังนั้นการทำความเข้าใจพื้นที่ใช้งานแต่ละส่วนของดาต้าเซ็นเตอร์ และสิ่งที่น่าจะต้องทดสอบในแต่ละส่วนนั้นจะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมในการเข้าทดสอบในดาต้าเซ็นเตอร์ได้เป็นอย่างดี

“พื้นที่” ที่ว่านั้นหมายถึงอะไร?

มาตรฐานอุตสาหกรรมอย่าง ANSI/TIA-942-A ที่กล่าวถึงมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์, ISO/IEC 24764 ที่ว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนของระบบสายเคเบิลทั่วไปในดาต้าเซ็นเตอร์, และ ANSI/BICSI 002-2014 แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการออกแบบและติดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ได้กล่าวถึงพื้นที่ใช้สอยที่จำเพาะต่างๆ ของดาต้าเซ็นเตอร์ไว้เพื่อระบุตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ในมาตรฐาน TIA-942-A นั้น พื้นที่ใช้สอยต่างๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์จะเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลแกนหลัก (สีฟ้า) และสายเคเบิลแนวระนาบ (สีแดง) โดยระบุเกณฑ์ขั้นต่ำมาตรฐานของสายเคเบิล และระยะห่างระหว่างพื้นที่เอาไว้ แต่หลายคนคงสงสัยว่าพื้นที่แต่ละแบบมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง

ห้องทางเข้า (ER) ตั้งได้ทั้งภายในหรือภายนอกดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นบริเวณที่ทีมเซอร์วิสเดินเข้าเขตดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งมีจุดเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายภายนอกที่เชื่อมไปยังเครือข่ายของผู้ให้บริการ และเชื่อมกับสายเคเบิลแกนหลักที่วิ่งไปยังอาคารอื่นในอาณาเขตเดียวกัน

พื้นที่กระจายการเชื่อมต่อหลัก (MDA) มีคอร์สวิตช์และเราเตอร์สำหรับเชื่อมต่อกับแลน รวมถึง SAN และพื้นที่อื่นๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์ รวมทั้งไปยังห้องชุมสาย (TR) ที่กระจายอยู่ทั่วทุกอาคาร

พื้นที่กระจายการเชื่อมต่อรอง (IDA) เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้บังคับต้องมี แต่มักมีอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งอ้างอิงจากนิยามของตัวกระจายการเชื่อมต่อระดับรอง (Intermediate Distributor – ID) ในมาตรฐาน ISO/IEC 24764 นั้น IDA อาจรวมถึงการเชื่อมต่อข้ามระดับรอง และออกแบบไว้เพื่อรองรับการเติบโตของดาต้าเซ็นเตอร์ในอนาคต หรือใช้แบ่งส่วนพื้นที่ย่อยเพื่อวัตถุประสงค์ที่จำเพาะ

พื้นที่กระจายการเชื่อมต่อแนวราบ (HDA) ใช้เป็นจุดกระจายการเชื่อมต่อสำหรับพื้นที่กระจายการเชื่อมต่ออุปกรณ์หรือ EDA แต่ละจุดอีกทีหนึ่ง ถึงแม้ดาต้าเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่จะมี HDA อย่างน้อยหนึ่งจุด แต่ก็มีการใช้วิธีการติดตั้งแบบ Top-of-Rack (ToR) มาใช้แทน HDA โดยให้แอคเซสสวิตช์ที่อยู่ในแต่ละตู้ของ EDA เชื่อมต่อไปยังสวิตช์ใน IDA หรือ MDA โดยตรง

พื้นที่กระจายการเชื่อมต่อแต่ละโซน (ZDA) เป็นทางเลือกเสริมที่ไม่ค่อยใช้กันในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรส่วนใหญ่ โดยเป็นจุดรวมการเชื่อมต่อของสายเคเบิลแนวราบระหว่าง HDA และ EDA ซึ่งจะไม่มีอุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้งานตั้งอยู่ในพื้นที่นี้

พื้นที่กระจายการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ (EDA) เป็นที่เก็บอุปกรณ์ปลายทาง (เช่น เซิร์ฟเวอร์) ที่เชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลแนวระนาบจากแอคเซสสวิตช์ใน HDA หรือผ่านสายเคเบิลที่ต่อตรงแบบจุดต่อจุดไปยังสวิตช์แอคเซส์แบบ ToR ที่อยู่ในตู้เดียวกัน

แล้วเราจะทดสอบอะไรกันบ้าง?

แต่ละพื้นที่ใช้งานของดาต้าเซ็นเตอร์ต่างมีวัตถุประสงค์และอุปกรณ์ของตัวเองแตกต่างกันไป ที่เชื่อมต่อไม่ว่ากับสายเคเบิลหลักหรือเคเบิลแนวราบที่ยิงระหว่างพื้นที่ ดังนั้นคุณจึงควรเตรียมพร้อมที่จะทดสอบสายเคเบิลหลากหลายแบบที่ใช้กับรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกันด้วย

ตัวอย่างเช่น ใน MDA คุณน่าจะพบกับลิงค์สายไฟเบอร์ไม่ว่าจะแบบซิงเกิลหรือมัลติโหมดจากห้อง ER ที่วิ่งด้วยความเร็วทั้งแบบ 40 และ 100 กิกะบิต ซึ่งต้องการมาตรฐานการรับรองระดับ Tier 1 อย่างไรก็ดี ในห้อง ER คุณอาจต้องทดสอบแบบ Tier 2 ด้วยเครื่อง Optical Time Domain Reflectometer (OTDR) อย่างเช่น Fluke Networks’ OptiFiber® Pro เนื่องจากสายเคเบิลที่อยู่ภายนอกนั้นลากระหว่างอาคาร จะตรวจสอบสายไฟเบอร์ทางกายภาพได้ยาก รวมทั้งมักใช้การเชื่อมสไปลซ์สายตรงจุดที่เชื่อมสายข้างนอกกับข้างในอาคาร นอกจากนี้ยังต้องเตรียมตัวทดสอบการเชื่อมต่อมัดสายไฟเบอร์แบบ MPO ด้วย ที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มแบนด์วิธแบบมัลติโหมดอย่างการใช้งานแบบ 40 และ 100GBASE-SR4 จึงต้องเลือกเครื่องมือทดสอบที่สามารถเทสสาย MPO ได้อย่างเช่น Fluke Networks’ MultiFiber™ Pro Optical Power Meter เพื่อประหยัดเวลาและเพิ่มความแม่นยำ