หน้าแรก Internet of Things ความจริง 8 ประการของ IoT สำหรับงานอุตสาหกรรม

[บทความ] ความจริง 8 ประการของ IoT สำหรับงานอุตสาหกรรม

แบ่งปัน
image : blogs.intel.com

Internet of Thing (IoT) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้วัตถุที่อยู่ในชีวิตประจำวันมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์สำหรับใช้ในกระบวนการอัตโนมัติต่างๆ ซึ่งถือว่ามีทั้งประโยชน์และอุปสรรคที่หลากหลายมากขึ้นกับเป้าหมายในการใช้งานของคุณ โดยเฉพาะการใช้งานในด้านอุตสาหกรรมที่ต้องศึกษาให้พร้อมก่อนลงมือใช้งาน

ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริง 8 ประการที่คุณควรพิจารณาก่อนตัดสินใจนำ IoT มาใช้ในงานอุตสาหกรรม:

1. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากอุตสาหกรรมแต่ละแบบมีลักษณะจำเพาะ รูปแบบ, วิธีรวบรวม, และวิธีวิเคราะห์ข้อมูลที่มาจากเซ็นเซอร์และซอฟต์แวร์ต่างๆ นั้น จะต้องประยุกต์กับเครื่องจักรที่ดัดแปลงและซับซ้อนพอสมควร

2. สภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค ซึ่งในโลกของอุตสาหกรรมนั้น อาจเต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่อ่อนไหวต่อการติดตั้งอุปกรณ์เครือข่ายเซ็นเซอร์ โดยเฉพาะความร้อนสูง, อากาศหนาวจัด, ความชื้นสูง, หรือบริเวณที่อากาศไม่ถ่ายเท นอกจากนี้อาจยังมีเรื่องของการใช้พลังงานสะอาดมาเกี่ยวข้อง ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว อุปกรณ์เซ็นเซอร์และเครือข่ายที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมมักจะมีการครอบกล่องเคสเป็นอย่างดีเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมภายนอกที่โหดร้ายและไม่แน่นอนได้

3. การใช้ควบคุมคุณภาพแบบอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นกุญแจหลักที่สร้างความแตกต่างจากกันใช้ IoT ประเภทอื่น ซึ่งกระบวนการควบคุมคุณภาพถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ, การเกษตร, หรือการก่อสร้าง ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่จะนำมาใช้ตรวจคุณภาพก็จะจำเพาะแตกต่างกันตามประเภทของอุตสาหกรรม เรียกว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลยทีเดียว

iiot

4. การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ โดยการใช้ IoT เพื่อตรวจสอบและปรับการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพอย่างหลากหลาย เช่น การใช้สมาร์ทเซ็นเซอร์ในระบบระบายอากาศ HVAC หรือไฟส่องสว่างภายในโรงงาน แล้วติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ลงในเครื่องจักรเพื่อให้รันการทำงานในระดับที่เหมาะสมตลอด และเพื่อค้นหาพื้นที่ในโรงงานที่สามารถปรับปรุงให้ใช้พลังงานให้เหมาะสมมากขึ้นได้ เรียกได้ว่า รูปแบบของการนำมาใช้งานนั้นหลากหลายจนไร้ขีดจำกัดเลยทีเดียว

5. ยกระดับการมองเห็นกระบวนการซัพพลายเชน ยกตัวอย่างซีอีโอของแอปเปิ้ลอย่าง ทิม คุก ที่ก่อนหน้านี้เขาถือเป็นกูรูด้านซัพพลายเชน ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในอุตสาหกรรมแบบไหน การพัฒนากระบวนการซัพพลายเชนถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่การค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงในซัพพลายเชนมักเป็นเรื่องที่ลำบาก ปัจจุบันกระบวนการซัพพลายเชนส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีโกดังเก็บสินค้าที่ใช้ระบบดิจิตอล การนำ IoT มาใช้จะช่วยลดจุดบอดที่เราไม่เคยมองเห็น ให้การมองเห็นตลอดกระบวนการได้

6. ใช้กับเครื่องจักรในกระบวนการ Retrofitting โดยเซนเซอร์นี้จะนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตอย่างเช่น เครื่องจักรสำหรับผลิต, รถฟอร์กลิฟต์, และคอนเทนเนอร์เก็บสินค้า จุดที่ควรพิจารณาคือ หลายกรณีเราก็จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ IoT นี้ในเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงานที่มีอยู่เดิมด้วย ไม่ใช่ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องจักรใหม่แต่เพียงอย่างเดียว

iiot2

7. การใช้กับแอพพลิเคชั่นและโปรโตคอลที่จำเพาะกับแต่ละอุตสาหกรรม เช่น โปรโตคอลอย่าง OPC, MQTT DDS, หรือ AMQP หรือแม้กระทั่งแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบนแพลตฟอร์มอย่าง SCADA, และ MES ซึ่งพบได้มากในระบบไอทีของอุตสาหกรรม ซึ่งการเชื่อมต่อระบบ IoT เข้ากับโปรโตคอลและแอพพลิเคชั่นเหล่านี้เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง

8. การผนวกรวมระบบไอทีของฝั่งอุตสาหกรรมและฝั่งองค์กรเข้าด้วยกัน ด้วยการใช้ IoT จำเป็นต้องรวมระบบไอทีของทั้งฝั่งอุตสาหกรรม และฝั่งบริษัทเข้าด้วยกัน จากที่ส่วนใหญ่มักถูกแบ่งแยกออกเป็นเอกเทศมาก่อน ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างมาก แต่ตอนนี้มีกลุ่มมาตรฐานอย่าง Industrial Internet Consortium (IIC) กำลังพัฒนาเฟรมเวิร์กเพื่อลดช่องว่างในการประสานการทำงาน ให้ผนวกได้ง่ายขึ้นในอนาคต

ที่มา : http://www.networkcomputing.com/cloud-infrastructure/industrial-iot-8-things-know/762622529