หน้าแรก Vendors Cisco ม.อ. ทุ่มงบกว่า 130 ล้านผุดโครงการ Smart City วางซิสโก้เป็นแพลตฟอร์ม

ม.อ. ทุ่มงบกว่า 130 ล้านผุดโครงการ Smart City วางซิสโก้เป็นแพลตฟอร์ม

แบ่งปัน

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของยักษ์ใหญ่ด้านเน็ตเวิร์ก “ซิสโก้” ตามแนวคิดของพวกเขาคือ Connected Cities ที่ช่วยให้การใช้ชีวิตของผู้คนเป็นไปในทางที่ดีและสะดวกสบายมากขึ้น

และในครั้งนี้ซิสโก้เองได้โยกเอาความคิดดังกล่าวไปสู่โลกแห่งความจริงอีกครั้ง โดยได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับทาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตที่หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นความร่วมมือที่น่าสนใจ โดยซิสโก้ได้เข้าไปมีส่วนสำคัญที่เกรียกว่า Digital Network Architecture for Cities ซึ่งซิสโก้ยังเข้าไปมีส่วนในการช่วยในส่วนของดาต้าเซ็นเตอร์ โดยนำเอาระบบ AI , Hyperconverged แพลตฟอร์ม IoT เข้ามาใช้ในการทำงาน เป็นต้น

ด้าน ม.อ. นั้นภารกิจนี้ถือเป็นวาระที่สำคัญไม่ใช่แค่พัฒนาเมืองอัจฉริยะเพื่อมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่พวกเขากำลังกลายเป็นตัวอย่างสำคัญของภาคใต้เลยก็เรียกได้ว่าไม่เกินไปนัก มีโครงการหลายๆ อย่างที่กลายเป็นต้นแบบและนำไปใช้ในภาคของประชาชนแล้ว ดังนั้นการลงทุนในการพัฒนา Smart City ของ ม.อ. จึงได้รับการสนับสนุนเป็นเม็ดเงินมหาศาลกว่า 130 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย

ทาง Enterprise ITPro ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมที่ ม.อ. เกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่ ม.อ. ได้พัฒนาและทางซิสโก้ที่มีส่วนอย่างยิ่งในการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับกับ Smart City ที่เกิดขึ้น โดยโซลูชันของซิสโก้ ไม่ว่าจะเป็น เน็ตเวิร์กหลัก (core network) แพลตฟอร์มไอโอที (IoT) ที่ใช้เทคโนโลยีซิสโก้เป็นฐานหลักโดยระบบที่เราได้เห็นกันจริงๆ อาทิ

ระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ
มีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับบุคลากรและนักศึกษาภายในวิทยาเขต ผ่านระบบ ไม้กั้น ที่ตรวจสอบ RFID long range ที่ถูกใช้เป็นบัตรของบุคลากร เพื่อตรวจสอบการเข้าออกมหาวิทยาลัย ร่วมกับระบบกล้อง จับป้ายทะเบียน และการติดตาม เฝ้าระวังรถต้องสงสัยแบบ Real-time analytic and warning system ซึ่งเป็นการตอบโจทย์กับพื้นที่เสี่ยงภัยในส่วนของภาคใต้ตอนล่างนี้

ระบบฟาร์มอัจฉริยะ
ระบบฟาร์มอัจฉริยะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่น่าสนใจ ในครั้งนี้ทาง ม.อ. ได้นำระบบ IoT มาใช้ในการบริหารจัดกาและเพาะเลี้ยง Melon ที่สามารถรองรับการสั่งตัดความหวาน และขนาดของผล ทราบระยะเวลาของการเลี้ยง การตัดผลผลิต และขนส่งให้พอดีกับความอร่อยที่ลูกค้าต้องการ โดยผนวกเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ ปัจจุบันก็มีเกษตรกรท้องถิ่นมาขอดูตัวอย่างงาน

เสาไฟอัจฉริยะ
ตามจุดบางจุด ม.อ. เราได้เห็นเสาไฟอัจฉริยะที่ประกอบด้วยสิ่งจำเป็นสำหรับการเป็นโครงสร้างพื้นฐานบนท้องถนนในอนาคตประกอบด้วย WiFi, Signage, Camera, Weather sensors, Dust sensors, EV Charger และ Emergency button ที่เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้าง Smart City

ระบบการใช้พลังงานอัฉริยะ
ในครั้งนี้เราได้มีโอกาสนั่งรถ EV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Smart City ของ ม.อ. เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการใช้งานสะอาด อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับ ระบบ smart transportation ที่สามารถแสดงตำแหน่งของรถโดยสาร EV ทำให้นักศึกษาสามารถทราบเวลาของรถที่จะมาถึงจุดจอดได้แบบเรียลไทม์ทันที

ระบบการควบคุมอัจฉริยะ
หัวใจสำคัญของ Smart City ของ ม.อ. จะอยู่ที่ศูนย์บัญชาการและควบคุมกลาง Intelligent Operating Centre (IoC) โดยเชื่อมระบบทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อคอยติดตามและสั่งการ ซึ่งความสามารถของศูนย์บัญชาการยังเหนือขั้นไปอีกด้วยการ เชื่อมต่อข้อมูลจากหน่วยงานและฝ่ายต่างๆ เข้าสู่ City Data Platform ทำให้สามารถเชื่อมข้อมูลในระบบเดิม และระบบใหม่เข้าด้วยกัน และรองรับการวิเคราะห์ ประมวลผลสำหรับเมืองในอนาคต ได้แก่ นำไปใช้ในการวางผังเมือง การวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของเมืองได้ด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวว่า “ทางมหาวิทยาลัยฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ซิสโก้มาเป็นพันธมิตรช่วยผลักดันและร่วมพัฒนาเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นรากฐานและเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาต่อยอดการสร้างสมาร์ทโซลูชั่นต่างๆ โดยหนึ่งในวาระเร่งด่วนคือการพัฒนาเมืองอัจฉริยะไปทั่วประเทศทั้งกลุ่มเมืองเดิมที่ต้องปรับปรุงให้น่าอยู่ และอัจฉริยะมากขึ้น

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทยของซิสโก้ กล่าวว่า “ซิสโก้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในหลายๆ ประเทศ เรามีความเชื่อมั่นในการนำเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานหรือ Core Network และดาต้าเซ็นเตอร์ที่ออกแบบเพื่อการใช้งาน AI ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาต่อยอดสมาร์ทโซลูชั่นและแอปพลิเคชันต่างๆ พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยแบบเอ็นด์ทูเอ็นด์มาช่วยในการตอบโจทย์การสร้างสมาร์ทซิตี้อย่างสมบูรณ์”

ที่มา : ทีมข่าว Enterprise ITPro เรียบเรียง