หน้าแรก Data Center 8 เหตุผลที่ควรเลือกระบบ hyperconverged infrastructure มาใช้งาน

8 เหตุผลที่ควรเลือกระบบ hyperconverged infrastructure มาใช้งาน

แบ่งปัน

ความต้องการอุปกรณ์สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์แบบ On-Premises กำลังลดลงอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุที่หลายองค์กรย้ายโหลดงานขึ้นไปบนคลาวด์แทน แต่ทว่าระบบแบบ On-Premises ยังไม่ตายจากไปง่ายๆ โดยเฉพาะจากการดิ้นรนของระบบแบบไฮเบอร์คอนเวอร์เจนต์หรือ HCI

HCI เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ผสานการทำงานกับซอฟต์แวร์ ขยายการรองรับการทำงานแบบ Scale-Out ในรูปของโมดูลย่อยต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ประมวลผล ทำงานด้านเครือข่าย และสตอเรจ โดยแทนที่จะแยกส่วนด้วยฮาร์ดแวร์เฉพาะด้านนั้น

HCI จะใช้ฮาร์ดแวร์ในรูปแบบบล็อกที่กระจายตัวกัน ทำงานผ่านแดชบอร์ดกลางทั้งด้านการรายงานและการจัดการ จึงมีรูปลักษณ์ที่หลากหลายมาก องค์กรต่างๆ สามารถเลือกติดตั้งซอฟต์แวร์ไฮเบอร์คอนเวอร์เจนต์ที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ใดๆ

ซึ่งมีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ HCI ดังกล่าวอย่าง Nutanix และ VMware หรือจะเลือกใช้เป็นแอพพลายแอนซ์ HCI ที่ผสานการทำงานให้เรียบร้อยจากผู้ผลิตอย่างเช่น HP Enterprise, Dell, Cisco, และ Lenovo ก็ได้ เป็นต้น

ตลาด HCI เติบโตรวดเร็วมาก โดยทาง Gartner คาดการณ์ว่าภายในปี 2023 โครงการทั้งหลายกว่า 70% ขององค์กรต่างๆ จะทำงานบนระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮเปอร์คอนเวอร์เจนต์รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2019 ที่เดิมมีสัดส่วนไม่ถึง 30% ผู้ให้บริการคลาวด์เองต่างก็เปิดรับการเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ HCI แบบ On-Premises ด้วย สำหรับเหตุผลที่ HCI ได้รับความนิยมมากขนาดนี้นั้น ได้แก่

1) การออกแบบที่เรียบง่าย เพื่อเข้ากับยุคของคลาวด์ และอำนวยความสะดวกในการจัดสรรโครงสร้างพื้นฐานใหม่เพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ทีมงานนักพัฒนาสร้างแอพใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นด้วย

2) ผสานการทำงานกับคลาวด์ได้ โดยซอฟต์แวร์ HCI อย่างของ Nutanix หรือ VMware นั้นสามารถติดตั้งได้ในรูปแบบเดียวกันทั้งในดาต้าเซ็นเตอร์ของลูกค้าและอินสแตนซ์บนคลาวด์

3) สามารถเริ่มต้นจากเล็กๆ แล้วค่อยๆ โตขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง HCI เปิดให้เราสามารถผสานรวมเอางานด้านการประมวลผล เน็ตเวิร์ก และสตอเรจมาอยู่ในกล่องฮาร์ดแวร์เดียวกันได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

4) ลดขนาดฮาร์ดแวร์ที่ต้องใช้ เนื่องจากสามารถเริ่มต้นใช้ระบบได้จากขนาดเล็กๆ ที่เพียงพอกับความต้องการ แทนที่จะซื้อฮาร์ดแวร์เผื่อไว้สำหรับอนาคตจำนวนมากเกินไป

5) ไม่ต้องใช้ทักษะอะไรเป็นพิเศษ ถ้าเทียบกับระบบการทำงานสมัยก่อนที่บริษัททั้งหลายต้องมีทีมงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งเรื่องการประมวลผล สตอเรจ และเน็ตเวิร์ก

6) กู้คืนระบบหลังเกิดภัยพิบัตรได้เร็วกว่า เนื่องจากผลิตภัณฑ์ไฮเปอร์คอนเวอร์เจนต์นั้นมีคุณสมบัติหลักๆ อย่างความสามารถในการสำรองข้อมูล กู้คืนระบบ ปกป้องข้อมูล และการทำซ้ำข้อมูลอยู่แล้ว

7) ผสานการทำอนาไลติกกับไฮเปอร์คอนเวอร์เจนต์ได้ โดยผลิตภัณฑ์ HCI จะมาพร้อมกับซอฟต์แวร์อนาไลติกจำนวนมากสำหรับเฝ้าตรวจสอบโหลดงาน ค้นหาข้อจำกัดด้านทรัพยากรต่างๆ ซอฟต์แวร์จัดการจะรวมทุกอย่างอยู่ภายใต้แดชบอร์ดเดียวกัน

8) ใช้เวลาจัดการทรัพยากรทั้งด้านเครือข่ายและสตอเรจน้อยกว่าเดิม จากเมื่อก่อนที่ทีมงานด้านไอทีต้องใช้เวลากว่าครึ่งหนึ่งในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสตอเรจและการสำรองข้อมูล เมื่อหันมาใช้ HCI ก็สามารถลดเวลาจัดการเหล่านี้ลงเหลือแค่ 20% ได้

ที่มา : Networkworld