หน้าแรก Networking & Wireless Fiber Optic ประวัติของ RJ45 และความเข้าใจผิดของใครหลายคน : บทความโดย Fluke Networks

ประวัติของ RJ45 และความเข้าใจผิดของใครหลายคน : บทความโดย Fluke Networks

แบ่งปัน

ในวงการของเรานั้นมักนิยมใช้คำว่า “RJ45” สำหรับกล่าวถึงอินเทอร์เฟซแบบที่แยกเป็น 8 ขา มีจุดสัมผัส 8 จุดหรือ 8P8C ซึ่งถูกนำมาใช้กับการสื่อสารแบบอีเธอร์เน็ตบนสายเคเบิลแบบทองแดงบิดเกลียวไขว้ แม้จะค่อนข้างเป็นเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับนิยามดังกล่าวก็ตาม

จากประเด็นดังกล่าวของ RJ45 นี้ เราจึงควรหันมาดูรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของนิยามนี้ให้มากขึ้น และเข้าใจว่าทำไมยังถูกนำมาใช้เรียกแทนอินเทอร์เฟซอีเธอร์เน็ตแบบ Twist-Pair กันอยู่ในปัจจุบัน

Jack ที่มาจากคำว่า Jacks of All Trades

คำว่า “RJ” ใน RJ45 นั้นย่อมาจาก Registered Jack ที่เป็นมาตรฐานกำหนดภายใต้รูปแบบของ Universal Service Ordering Code (USOC) ที่มาจากทาง Bell System สำหรับระบุประเภทอินเทอร์เฟซที่ใช้กับระบบโทรศัพท์ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัย 1970 ซึ่งหัว RJ ของสายโทรศัพท์ที่มีมาแต่เดิมที่คุณน่าจะคุ้นเคยคงหนีไม่พ้น RJ11 ที่มีอยู่ 6 ขาแต่จุดสัมผัสมีอยู่ 2 จุด (6P2C) สำหรับใช้ให้บริการโทรศัพท์ต่อหนึ่งคู่สาย ที่เราต่างเติบโตกับการใช้งานระบบโทรศัพท์ดังกล่าวภายในบ้าน และถ้าคุณมาจากวงการโทรศัพท์แล้ว ก็อาจจะคุ้นเพิ่มเติมกับ RJ14 และ RJ25 ที่ใช้เป็นแบบ 6P4C (จุดสัมผัส 4 จุด) และ 6P6C (6 จุดสัมผัส) สำหรับการให้บริการ 2 และ 3 คู่สายตามลำดับด้วย

แม้แนวทางการระบุหัวต่อตระกูล RJ นั้นกล่าวถึงเฉพาะรูปแบบการต่อสายบนหัวต่อ (เช่น จำนวนขาที่มี และจำนวนสายย่อยที่เชื่อมต่อ) แต่มาตรฐานการเรียกรูปแบบหัวสายนี้กลับถูกนิยมนำมาใช้เรียกประเภทหัวต่อโดยไม่ได้สนใจการต่อสายภายใน จนทำให้เกิดความสับสนค่อนข้างมาก

ตัวอย่างเช่น ขณะที่ RJ11 ในทางเทคนิคนั้นหมายถึงการเชื่อมต่อที่ใช้ลวดสื่อสารแค่หนึ่งคู่สาย (จากการที่มีจุดสัมผัสแค่ 2 จุด) และ RJ14 กับ RJ45 ที่มีตำแหน่งขาอยู่ 6 ขาเหมือนกัน จนทำให้รูปลักษณ์ทางกายภาพภายนอกแทบจะแยกกันไม่ออกทั้งที่จริงๆ แล้วมีจุดสัมผัสที่สื่อสารได้จริงจำนวนแตกต่างกัน แน่นอนว่าย่อมทำให้คนทั่วไปต่างเรียกหัวต่อทั้ง 3 แบบเหมารวมว่าเป็น RJ11 ทั้งหมด แม้จริงๆ แล้วหัวต่อเหล่านั้นในเชิงเทคนิคอาจจะเป็น RJ14 และ RJ25 ไม่ใช่ RJ11 อย่างที่เรียกเลยก็ได้

ด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ปัจจุบันมีการเรียกหัวต่อสายอีเธอร์เน็ตแบบบิดเกลียวคู่แบบ 8P8C ว่าเป็นหัวต่อแบบ RJ45 ไปด้วย ทั้งๆ ที่การเดินลวดสายภายในแบบ 8P8C ในช่วงแรกนั้นเรียกว่า Keyed RJ45 ที่ใช้เชื่อมต่อสายดูอัลทรังก์ในระบบเครือข่ายโทรศัพท์ แต่พบโลกของโทรศัพท์เริ่มหันมาวิ่งสัญญาณข้อมูลผ่านหัวต่อเหล่านี้ด้วย ทำให้มีการนำคำว่า RJ45 มาใช้เรียกแบบเหมารวม

อย่างไรก็ตาม หัวต่อแบบ Keyed RJ45 ที่แท้จริงนั้นไม่ได้ใช้แทนกันกับหัวต่ออีเธอร์เน็ต Twist-Pair 8P8C ในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ โดยหัวต่อ 8P8C ของอีเธอร์เน็ตอาจเอามาเสียบกับรู RJ45 ที่แท้จริงได้ แต่หัวต่อ RJ45 ของจริงจะไม่สามารถเสียบเข้ากับรูสำหรับหัวต่อ 8P8C Ethernet ได้ (ยกเว้นคุณจะตัดเอาแง่งขาพลาสติกที่งอกส่วนเกินมาออกไปจนทำให้เสียบเข้ารูได้พอดี)

เรียกแทนกันได้อย่าง “เนียน”

เนื่องจากหัวต่อ Keyed RJ45 ดั้งเดิมนั้นแทบไม่มีการใช้งานแล้ว และพวกเราส่วนใหญ่ก็ไม่เคยเจอกับหัวต่อในระบบโทรศัพท์เหล่านี้ จึงไม่มีปัญหาเท่าไหร่ถ้าพวกเราจะนิยาม RJ45 แทนการเรียกหัวต่ออีเธอร์เน็ตแบบสายบิดเกลียวคู่ อย่างไรก็ตาม RJ45 ก็เป็นชื่อที่พวกเรียกกันจนติดหูหมดทุกคนแล้ว (บางคนก็รักที่จะเรียก RJ45 กันด้วย)

และสิ่งที่นอกเหนือจากชื่อเรียกนั้น อินเทอร์เฟซ RJ45 (หรือถ้าเรียกให้ถูกต้องจริงๆ ทางเทคนิคจะต้องเรียกว่าอินเทอร์เฟซม็อดดูล่าร์แบบ 8P8C) ก็กลายเป็นมาตรฐานในโลกความเป็นจริงสำหรับการเดินสายเคเบิลอีเธอร์เน็ตแบบบิดเกลียวคู่ไปแล้วด้วย จากการที่อินเทอร์เฟซดังกล่าวเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่านำมาใช้งานเข้ากับมาตรฐานเก่า และใช้แทนกันไปมาได้

เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหัวต่อแบบ RJ45 จึงยังนำมาใช้กับระบบสายเคเบิลอย่างต่อเนื่อง แม้มาตรฐานจะก้าวหน้าขึ้นมาจากสมัย Category 3, Category 5e, Category 6, จนมาถึง Category 6A ตามลำดับ และเป็นเหตุผลที่ทำไมทาง TIA ถึงนำชื่ออินเทอร์เฟซที่สร้างความเข้าใจผิดอย่าง RJ45 มาใช้กับมาตรฐานการเดินสายล่าสุดอย่าง Category 8 ด้วย จุดนี้เองที่ทำให้คุณสามารถใช้อุปกรณ์ทดสอบ DSX CableAnalyzer Series ของเรากับทุกระบบสายเคเบิลได้ไม่ว่าจะเป็น Category 5e, 6, 6A หรือ 8

สามารติดตามข้อมูลต่างๆ ได้ที่เพจ Fluke Network

สำหรับรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จากเว็บไซต์
https://www.flukenetworks.com/blog/cabling-chronicles/history-rj45-case-mistaken-identity