หน้าแรก Networking & Wireless 5G AIS Business มุ่งมั่นสู่การเป็นพันธมิตรดิจิทัล เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน

AIS Business มุ่งมั่นสู่การเป็นพันธมิตรดิจิทัล เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน

แบ่งปัน

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า การเติบโตของธุรกิจในยุคปัจจุบัน ที่จำเป็นจะต้องมีการบูรณาการด้านระบบดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ตลอดจนการร่วมมือและพัฒนาการต่างๆ ให้เกิดเป็นเศรษฐกิจแบบร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Ecosystem ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

ทาง AIS  Business  ต่อยอดเป้าประสงค์หลักของ AIS ที่ได้ตระหนักถึงประเด็นของการดำเนินธุรกิจดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง จึงมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์และพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อส่งมอบให้แก่องค์กรธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อสอดรับและเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดัน Ecosystem ในเมืองไทยอย่างเต็มขั้นด้วยเช่นกัน

ล่าสุด AIS Business จึงได้จัดงานสัมมนาสุดยิ่งใหญ่  “AIS Business Digital Future 2024: DIGITAL INDUSTRY EVOLUTION” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้องค์กรธุรกิจต่างๆ ได้เห็นภาพนวัตกรรมอันล้ำสมัยและสามารถนำไปบูรณาการการใช้งานในองค์กรของตน ตลอดจนปฏิวัติการทำงานไปสู่โลกยุคดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด

AIS Business เคยฉายภาพให้เห็นว่า มีธุรกิจที่น่าสนใจอยู่จำนวนหนึ่งในหลายๆ กลุ่มของเมืองไทย เป็นกลุ่มที่ต้องบอกว่า มีส่วนผลักดันในการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้าง GDP ให้แก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง  กลุ่มที่ว่านั้นก็คือ 1) กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต, 2) กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, 3) กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการค้า ซึ่งกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ AIS Business มองว่าพวกเขายังมีโอกาสที่จะนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปปรับปรุงและพัฒนาองค์กรของตนเอง ให้สามารถสร้างโพรดักส์ทิวิตี้เพิ่มมากขึ้นได้อีกมากมาย

จากโครงข่าย 5G สู่โลกของการพัฒนาโครงสร้างไอทีเพื่อตอบสนองธุรกิจองค์กร

ที่ผ่านมา AIS Business ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมโดยนำเอา 5G มาเป็นตัวขับเคลื่อนในการทำงาน เพื่อนำเสนอโซลูชันล้ำสมัยที่มีต่อกลุ่มธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องในหลายระดับ ตัวอย่างเช่น

– การนำเอา 5G ไปใช้กับการสื่อสารผ่านอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ (5G Mobile)

– การนำเอา 5G ไปเป็นโครงสร้างพื้นฐานอินฟราสตรัคเจอร์ เช่น 5G Network Slicing, Enterprise 5G Private Network, Multi-access Edge Computing ฯลฯ (5G Infrastructure)

– การนำเอา 5G ไปใช้ในการสร้างแอปพลิเคชันในการใช้งาน เช่น AR/VR, Video Analytics, Robotics (5G Horizontal)

– การนำเอา 5G ไปยกระดับการสร้างเศรษฐกิจแบบร่วมกันหรือ Ecosystem (5G Vertical)

และหลายปีที่ผ่านมานั้น AIS ได้พัฒนาในส่วนของ 5G ต่างๆ ข้างต้น มาอย่างสมบูรณ์แล้ว ไม่ว่าจะเป็น การขยายโครงข่าย 5G ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่, การนำเอา 5G เข้าไปทำเป็นโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจต่างๆ ตลอดจนการสร้างแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันที่น่าสนใจมากมายบนพื้นฐานของเทคโนโลยี 5G  เป็นต้น แต่สำหรับงานในครั้งนี้ AIS Business กำลังจะเติมเต็มองค์ประกอบให้ครบถ้วน ด้วยการมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถขั้นสูง เพื่อส่งมอบให้แก่กลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

มุ่งมั่นนำเสนอเทคโนโลยีสุดล้ำ

AIS Business ได้แบ่งส่วนงานครั้งนี้ ออกเป็นสองส่วนหลัก ก็คือ 1) การสัมมนาให้ความรู้หลัก และ 2) ส่วนของการแสดงนวัตกรรมเทคโนโลยีจริง

สำหรับการจัดงานสัมมนาให้ความรู้นั้น เริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับและบรรยายพิเศษจากทาง คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS  โดยได้มาชี้ให้เห็นถึงการยกระดับของโครงสร้างอินฟราสตรัคเจอร์ ที่นำมาใช้งานและช่วยผลักดันการทำงานของธุรกิจทั้งสามให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังตัวอย่างการดำเนินงานในลักษณะที่เรียกว่า Cross Industry Collaboration เป็นการเชื่อมต่อธุรกิจข้ามอุตสาหกรรม อันจะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Ecosystem ได้ในแบบยั่งยืน และที่สำคัญทำให้ธุรกิจทั้งหลายเติบโตและเป็นส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย โดยเขาได้ยกตัวอย่างโซลูชันระดับสากลที่ AIS Business พร้อมจะให้บริการแก่เป้าหมาย ดังเช่น

– สร้างประสบการณ์ใหม่ด้วย Microsoft 365 Copilot for Enterprise 

AIS Business และ ไมโครซอฟท์ ได้ทำงานร่วมกันมาอย่างต่อเนื่องในการผลักดันโซลูชั่นอันยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้ใช้งาน และล่าสุดไมโครซอฟท์เองก็เปิดตัวระบบ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์รุ่นใหม่ภายใต้ชื่อว่า “Copilot” สำหรับ Microsoft 365 ที่มีความสามารถพิเศษ ที่จะเปลี่ยนแปลงแนวทางการทำงานและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในแทบทุกด้าน ด้วยระบบแชตและโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models) ตอบสนองคำสั่งในรูปของภาษาเขียนและภาษาพูดได้อย่างชาญฉลาด นำไปสร้างสรรค์ชิ้นงานต่อยอดหรือลงมือทำตามคำสั่งได้อย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเอกสาร, การนำเสนอข้อมูล, และการจัดการข้อมูลผ่านสเปรดชีต เป็นต้น และแน่นอนว่า AIS Business ก็จะนำเทคโนโลยี Copilot นี้ลงไปช่วยเพิ่มผลิตผลให้แก่องค์กรต่างๆ เพื่อการทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าเดิม

ตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ Copilot ในการสร้างระบบดาต้าผ่านการทำงานบน Microsoft Office Excel 365 โดยให้ AI ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ และสร้างรายงานที่มีความละเอียดมากกว่าเดิม รวมถึงยังช่วยวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ของข้อมูล จากเดิมที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีทักษะเป็นจำนวนมาก แต่เราสามารถย่นระยะเวลาดังกล่าวเหลือแค่ไม่กี่นาทีในการสร้างดาต้าชีตที่มีความเหนือชั้นออกมาได้อย่างรวดเร็ว หรือแม้กระทั่งอย่าง PowerPoint 365 ก็เช่นกัน สามารถสร้างการนำเสนอที่มีความสวยงาม และตรงตามข้อมูลที่กำหนดได้อย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอนการออกแบบในการจัดทำลงไปได้อย่างมากมาย เป็นต้น

– เชื่อมโยงและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย Operator Connect for Microsoft Teams

สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจขององค์กรต่างๆ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประเด็นใดๆ เลยนั่นก็คือ “การติดต่อสื่อสาร” นั่นจึงทำให้ AIS Business จึงได้ร่วมกับทางไมโครซอฟท์ในการผลักดันเทคโนโลยีการสื่อสารแบบอัจฉริยะ เพื่อให้บริการแก่องค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก่อนหน้านั้นก็ได้มีบริการอย่าง Microsoft Teams ที่ให้ใช้งานอยู่แล้ว

แต่ล่าสุดเองทั้งสองได้ยกระดับการสื่อสารขององค์กร ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโทรออกไปยังเบอร์ภายนอกและรับสายได้ผ่าน Microsoft Teams รองรับการใช้งานได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือมือถือ เสมือนมีเบอร์ประจำตัว สามารถใช้งานได้เหมือนระบบโทรศัพท์ทั่วไปผ่านเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “Operator Connect for Microsoft Teams” ที่มีความสะดวกรวดเร็ว และง่ายในการใช้งานและการติดตั้ง และประหยัดค่าใช้จ่ายรวมถึงต้นทุนอุปกรณ์ต่างๆ เมื่อเทียบกับระบบโทรศัพท์แบบเดิม

องค์กรสามารถที่จะเชื่อมโยงเบอร์ที่เป็น Fixed line (เบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย 02) เข้ากับ Microsoft Teams จากนั้นก็นำมากำหนดเป็นเบอร์ภายในเพิ่มเติมให้กับพนักงานขององค์กรในแต่ละท่านได้ทันที เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการมีเบอร์โทรศัพท์ใหม่และไม่อยากลงทุนระบบโทรศัพท์หรือการตั้งค่าที่มีความซับซ้อน ซึ่งโซลูชันนี้ AIS Business เปิดตัวเป็นรายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย!

– เทคโนโลยีเพื่อการดูแลและบริการลูกค้า AI Voice Bot

AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่ได้รับการตอบรับเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Generative AI ที่ถูกใช้ในแพลตฟอร์มการทำงานต่างๆ

สำหรับ AIS Business นั้นก็ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างมาก องค์กรเองนำ AI เข้ามาช่วยบริการและดูแลลูกค้าภายใต้ชื่อว่า AI Voice Bot โดยสามารถทำให้ Bot สามารถเข้ามาพูดคุยกับลูกค้าของ AIS เอง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือลูกค้า, การนำเสนอแพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับลูกค้า ตลอดจนทำการปิดการขายและจัดทำออเดอร์เข้าระบบได้ทันที

โดยมองว่า AI Voice Bot จะเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพให้กับบริการของลูกค้า โดยได้มีการทดสอบการทำงานจริงไปแล้ว และเมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานกับระบบเดิม ปรากฏว่าสามารถทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมถึง 15% ในขณะที่ต้นทุนการทำงานนั้นต่ำกว่า

AI Voice Bot สามารถวิเคราะห์และพัฒนาบริการได้ดีกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตือนลูกค้าว่าโปรโมชันจะหมดอายุ การเตือนลูกค้าว่าครบชำระรอบบิล ฯลฯ สิ่งนี้ก็คือการทำ Order Taking นั่นเอง

AIS Business มุ่งมั่นสู่การบูรณาการระบบแบบ “Cross Industry Collaboration”

ในแง่มุมของเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่ AIS Business นำเสนอไปในข้างต้นแล้ว ภายในงานนี้ AIS ได้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือครั้งสำคัญกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วเป็นองค์กรและหน่วยงานที่ผลักดันและเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจในเมืองไทย โดย AIS Business ได้เข้าไปทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันและส่งเสริมการใช้งานดิจิทัลในส่วนของ องค์กรด้านเครือข่ายภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม ต่างๆ อาทิเช่น

– สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)

– สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI)

– การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

– การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)

– ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

– สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย (THAiLOG)

การร่วมมือครั้ง ถือเป็นการร่วมผนึกกำลังผลักดันให้กลุ่มภาคอุตสาหกรรมทั้งอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการค้านี้ ให้สามารถสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล  ส่งเสริมเศรษกิจของประเทศและการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืนไปด้วยกันนั่นเอง

ประสบการณ์จากพาร์ทเนอร์ผู้ใช้งานจริง

สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องของ AIS Business ก็คือ “ผู้ใช้งาน” นั่นเอง ซึ่งที่ผ่านมา AIS Business มีพาร์ทเนอร์ซึ่งเป็นผู้ใช้ในกลุ่มธุรกิจอันหลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, กลุ่มธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการค้า โดยในงานครั้งนี้ได้ยกตัวอย่างเสียงของผู้ใช้งานจริง มาดังนี้

คำกล่าวจากทางบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด

“การนำเทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานขององค์กรมีความจำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญ อย่างการนำแพลตฟอร์มบริหารจัดการพลังงาน (Energy Platform) มาใช้ในการกระบวนการผลิต สามารถทำให้เราติดตามข้อมูลการใช้พลังงานได้แบบเรียลไทม์ หรือแม้แต่การตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลการผลิตได้ตามความต้องการ เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการผลิต พร้อมสนับสนุนวิสัยทัศน์ระดับโลกของโตโยต้าและเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ของภูมิภาค” – นายณรงค์ชัย บัณฑิตวรางกูล บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด

คำกล่าวโดย บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย (HPT)

“บริษัทได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นความปลอดภัย สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน สำหรับการทำงานของท่าเรือ นอกจากนี้ยังพัฒนาระบบ Smart Seaport ที่สามารถควบคุมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือแม้แต่การนำรถบรรทุกอัตโนมัติไร้คนขับมาใช้งานในท่าเรือเป็นแห่งแรกของโลก และการให้บริการ Automated Gate ทำให้ลูกค้า รถบรรทุกตู้สินค้าสามารถผ่านเข้าออกท่าด้วยระบบ อัตโนมัติและดำเนินการได้ด้วยตนเอง โดยทั้งหมดนี้ ทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และ 5G ที่สามารถรองรับความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต” –  นายอาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป

คำกล่าวโดย บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา

“ภายใต้วิสัยทัศน์ Imagining Better Futures for All ของเรา เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์อนาคตที่ดีและยั่งยืนให้กับทุกคน ซึ่ง AIS คือหนึ่งในพันธมิตรหลักที่สำคัญของเซ็นทรัลพัฒนาโดยร่วมพัฒนาให้บริการโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล ต่อยอดให้เป็นศูนย์การค้าที่สร้างประสบการณ์แบบล้ำสมัย อาทิ การเปิดตัว Flagship Store แห่งแรก กับหุ่นยนต์อัจฉริยะ AIS 5G ที่เซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงบริการ Smart Mirror ที่มอบประสบการณ์การลองเสื้อผ้าในรูปแบบเสมือนจริงแบบ Virtual Fitting นับเป็นการทำงานร่วมกันที่ตอกย้ำศูนย์การค้าเซ็นทรัล สู่การเป็น Future of Retail ที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง” – นางสาววัลยา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

คำกล่าวโดย บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด

“ที่ผ่านมาเราและ AIS ได้ร่วมนำพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและ 5G มาพัฒนาและต่อยอดการให้บริการลูกค้าในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการอินเทอร์เน็ตตามที่ต้องการที่ยืดหยุ่นกับร้านค้า (Fibre to Shop), การให้บริการ 5G, Wifi และบริการให้ข้อมูลการตลาดเพื่อลูกค้า (Marketing Behavior Platform) นอกจากนี้เรายังตั้งเป้านำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจ ให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งการจะทำให้ศูนย์การค้ามีความทันสมัยได้ตลอดเวลา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี Digital Partner ที่มี Infrastructure ที่แข็งแรงอย่าง AIS เข้ามาเสริมศักยภาพเพื่อต่อยอดการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น” – นายจิรยุทธ์ กาญจนมยูร ผู้บริหารสูงสุดฝ่ายไอที

มุ่งมั่นสู่ Intelligence Infrastructure เพื่อองค์กรธุรกิจอย่างยั่งยืน

หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร AIS ย้ำในตอนท้ายว่า ทาง AIS Business มุ่งมั่นกับการยกระดับโครงสร้างให้มีความเป็นอัจฉริยะอย่างที่สุด หรือที่เรียกว่า  Intelligence Infrastructure เพื่อให้รองรับการทำงานสำหรับกลุ่มธุรกิจบริการลูกค้าองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

AIS Business ได้พิสูจน์แล้วว่า เป็นผู้นำที่มีความพร้อมในการวิวัฒน์ภาคอุตสาหกรรมให้สามารถนำดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของการทำงาน ในการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมหลักของประเทศที่ AIS Business พร้อมอย่างยิ่งในการส่งมอบบริการดิจิทัลและโซลูชันให้กับอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่มธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ รวมถึงธุรกิจผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการค้า ซึ่งเป็น Sector สำคัญที่มีส่วนผลักดันการเติบโตของ GDP ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจในภาพรวมได้เป็นอย่างดี

 

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย
เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน

“Your Trusted Smart Digital Partner”

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://www.ais.th/business

////////////////////////////////