หน้าแรก Artificial Intelligence AIS ผนึก ARV โชว์ศักยภาพเครือข่าย 5G พร้อมเทคโนโลยีขั้นสูง รองรับการใช้งาน AI Autonomous Drone System สำหรับภาคอุตสาหกรรม

AIS ผนึก ARV โชว์ศักยภาพเครือข่าย 5G พร้อมเทคโนโลยีขั้นสูง รองรับการใช้งาน AI Autonomous Drone System สำหรับภาคอุตสาหกรรม

แบ่งปัน

โลกของการพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเดินหน้าอย่างเข้มข้น เราได้เห็นการใช้งาน AI ในรูปแบบที่หลากหลายตั้งแต่แชทบอท ไปจนถึงระบบอัตโนมัติขั้นสูงในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่สำคัญแห่งโลกอนาคตอย่างแท้จริง

ยิ่งในปัจจุบันนี้โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ต่างมีความต้องการอย่างยิ่งที่จะพัฒนาไปสู่โลกของ Industry 4.0 โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็คือว่า นอกจากจะดูมีความทันสมัยแล้ว กระบวนการทำงานต่างๆ ตามแผนของการมาตรฐาน 4.0 นี้ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมของตนด้วย จึงเป็นเหตุให้โรงงานต่างๆ พิจารณานำเอาเทคโนโลยี AI ที่กำลังเป็นที่นิยมและมีความสามารถสูง เข้ามาใช้ในโรงงานของตนกันมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การทำงานของ AI ที่ใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ นั้น มีลักษณะงานหลายประเภทที่ต้องทำงานร่วมกับเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างเช่น 5G ไม่ว่าจะเป็น การบริหารงานและสั่งการผ่านระบบควบคุมระยะไกล การใช้เทคโนโลยีในการประมวลผลแบบ Edge Computer หรือการจัดสรรแบนด์วิดท์ ของเครือข่ายให้เหมาะสมในแต่ละแอปพลิเคชัน ฯลฯ ก็เพื่อจะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและไม่ติดขัด ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์การก้าวสู่ยุคของ Industry 4.0 ได้

การผนึกความสามารถของ AI และ 5G Network เพื่อสร้างระบบอัจฉริยะ 

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบัน AIS ถือเป็นผู้นำในการพัฒนาเครือข่ายด้าน 5G ในระดับสากลมาอย่างยาวนานอย่างต่อเนื่อง โดยนอกเหนือจากจะมีเครือข่าย 5G ที่ออกแบบสำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว AIS ยังมีเทคโนโลยี 5G ที่ออกแบบสำหรับการใช้งานสำหรับภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมต่างๆโดยเฉพาะ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ ดังตัวอย่างกรณีของ การใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อควบคุมรถโฟล์กลิฟต์ (Remote Driving Forklift) จากสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร ไปยังโรงงานของกลุ่ม SCG ในจังหวัดสระบุรี ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

และสำหรับครั้งนี้ทาง AIS ก็ได้เปิดหน้าประวัติศาสตร์อีกครั้งด้วยการผนึกกับทาง ARV ในการสร้างระบบ AI Autonomous Drone System ทำงานผ่านเครือข่าย 5G ของ AIS ที่นับเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

ทำความรู้จักกับ ARV และโดรน “Horrus” ของพวกเขา 

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ ARV นั้น เป็นบริษัทในเครือ ปตท.สผ.  มีพันธกิจในการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และเทคโนโลยีเชิงลึกอื่นๆ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวครอบคลุมถึงการนำไปใช้ธุรกิจต่างๆ เช่น อากาศยาน, ภาคพื้นดิน หรือแม้กระทั่งใต้ทะเล

Horrus คืออากาศยานแบบไร้คนขับ หรือที่เรียกว่า Drone (โดรน) ที่มีคุณลักษณะเป็นแบบ AI Autonomous Drone System ทำงานแบบอัตโนมัติ พัฒนาขึ้นโดยทีมงานคนไทย ของทางบริษัท ARV ทำงานทั้งในส่วนของการสนับสนุนภารกิจของบริษัทแม่อย่าง ปตท.สผ รวมถึงพร้อมขยายการใช้งานสู่ภาคธุรกิจอื่นๆ อีกด้วย โดย Horrus นั้นประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักๆ สามประการ เริ่มตั้งแต่

1)  ตัวกล่องที่บรรจุโดรน ทำหน้าที่ในการเก็บรักษาและเป็นจุดในการขึ้นลงของโดรน

2)  ตัวโดรนที่มีขีดความสามารถสูงที่ได้รับการปรับให้ตรงกับความต้องการทั้งในแง่ของการบินที่ไกลขึ้น, การถ่ายภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น ฯลฯ

3) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ประกอบการทำงานไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์สำหรับการบิน และซอฟต์แวร์ด้าน ML ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ จากภาพถ่ายหรือวิดิโอที่ได้จากการบินโดรนขึ้นไป

การร่วมมือระหว่าง AIS และ ARV บนพื้นที่  “วังจันทร์วัลเลย์” 

วังจันทร์วัลเลย์ เป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานของ Smart City พร้อมทั้ง Regulatory & Innovation Sandbox หรือ พื้นที่ผ่อนปรนกฎระเบียบสำหรับการพัฒนานวัตกรรมรวมทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย ด้านอากาศยานไร้คนขับ ด้านยานยนต์อัตโนมัติ ด้านนวัตกรรมพลังงาน และด้านคลื่นความถี่พิเศษ  นั่นจึงทำให้ทาง AIS และ ARV สามารถที่จะดำเนินการร่วมกันในการสร้างนวัตกรรมในการใช้โดรน Horrus ของ ARV ทำงานบนเครือข่าย 5G ของ AIS ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหมดข้อจำกัดในเรื่องกฎหมายนั่นเอง

เชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านกายภาพ Physical จาก ปตท. สู่เทคโนโลยีดิจิทัลจาก AIS ได้อย่างสมบูรณ์ 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทางกลุ่ม ปตท.สผ. เป็นผู้ดูแลพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์เป็นหลัก และได้พยายามสร้างนวัตกรรมต่างๆ มากมายอันจะก่อให้เกิด Smart City อย่างสมบูรณ์ในวังจันทร์วัลเลย์แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความพร้อมให้กับองค์กรหรือผู้คน ได้เข้ามาอาศัยอยู่และดำเนินธุรกิจภายในพื้นที่นี้ได้

อย่างไรก็ตามการพัฒนาต่างๆ เหล่านั้นจำเป็นต้องอาศัยการทำงานและการเชื่อมโยงสู่โลก Digital (ดิจิทัล) เข้ามาประกอบกันด้วย  ซึ่งในส่วนของงานดิจิทัลดังกล่าวนั้น AIS เอง ก็ได้เข้าไปวางโครงสร้างพื้นฐาน 5G และดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อรองรับการพัฒนาขององค์กรต่างๆ (5G Testbed) ที่จะเข้ามาใช้ทดสอบโซลูชันและบริการของตน ในพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์แห่งนี้ได้อย่างครบถ้วนแล้ว

เจาะลึกเทคโนโลยี AIS 5G สำหรับระบบ AI Autonomous Drone System  

เราได้ทราบถึงพัฒนาการของ ARV กับโดรนอัจฉริยะอย่าง Horrus ไปแล้ว ในส่วนนี้เราจะมาอธิบายถึงขั้นของการใช้งานจริงผ่านระบบ 5G  ภายใต้โครงการ AI Autonomous Drone System บนเครือข่าย 5G ของ AIS ที่ถือว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย กันบ้าง

โดรน Horrus จะปฏิบัติงานต่างๆ  ตามพันธกิจที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นการทำ Live streaming, การทำ Automated Operations หรือการปฏิบัติภารกิจตามที่วางแผนไว้อย่างอัตโนมัติ การทำเรื่องของ Data Management เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลภาพและวิดีโอ และส่งกลับมายังศูนย์ควบคุม ทั้งนี้ก็เพียงแค่รับคำสั่งจากต้นทางไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม (Remote Control) ก็สามารถควบคุมโดรนได้

โดยที่การทำงานของโดรนนั่นก็ถือว่าเป็นลักษณะงานแบบ Enterprise Application ประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญสูงมาก (Mission Critical) และต้องการเครือข่ายที่มีเสถียรภาพอย่างที่สุด ดังนั้นทีมงานของ AIS จึงได้ออกแบบและจัดเตรียมโครงสร้างเครือข่าย 5G SA (Standalone) บนคลื่น 2600 MHz เอาไว้ โดยใช้ศักยภาพของเทคโนโลยี Autonomous Network ที่มีความอัจฉริยะในการจัดการระบบได้ด้วยตัวเอง มารองรับ

อีกทั้งยังมีการใช้เทคนิคอย่าง Network Slicing  ซึ่งช่วยปรับความเหมาะสมของการใช้งานเครือข่าย ในการสั่งการควบคุมโดรน พร้อมทั้งรองรับการควบคุมระยะไกลที่ให้ความเสถียรมากกว่าสัญญาณวิทยุและ Wi-Fi ซึ่งนำมาใช้ในโดรนด้วย โดยแบ่งออกเป็น

1) การ Slicing แบนด์วิดท์ เพื่อในการใช้ Live Streaming ของกล้องของที่ติดตั้งไปกับตัวโดรน

2) การ Slicing แบนด์วิดท์ สำหรับใช้ในเรื่องของการควบคุมการบินของโดรน

และเนื่องจากตัวโดรนของ ARV จะดำเนินการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและวิดีโออยู่ตลอดเวลา ซึ่งการจะไปประมวลผลบนคลาวด์อาจจะให้ความเร็วไม่เพียงพอ ดังนั้น AIS จึงได้ใช้เทคโนโลยีอย่างเช่น  MEC (Multi-access EDGE Computing) มาใช้ในการประมวลผลของโดรน Horrus อีกด้วย

ประโยชน์และการใช้งานจริงจาก AI Autonomous Drone System  

การใช้ระบบ AI Autonomous Drone System นั้นได้เริ่มดำเนินการทำงานจริงแล้ว โดยได้ใช้โดรน Horrus เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่ EECi หรือ วังจันทร์วัลเลย์  และยังมีการขยายการทำงานไปในพื้นที่โรงงาน หรือในพื้นที่สำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในธุรกิจของกลุ่ม ปตท.  รวมไปถึงงานอื่นๆ อาทิเช่น การทำงานด้านตรวจสอบความปลอดภัย, การตรวจสอบความคืบหน้าของการก่อสร้างอาคารต่างๆ หรือแม้กระทั่งนำไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจผลการจราจรของกรมทางหลวง เป็นต้น

AIS Business พร้อมเป็นพันธมิตรดิจิทัล ที่มั่นใจได้ เพื่อพัฒนาธุรกิจและสังคมไทย  

เติบโต อุ่นใจ ไปด้วยกัน  

“Your Trusted Smart Digital Partner”  

ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่  

Email: business@ais.co.th  

Website: https://business.ais.co.th