หน้าแรก Cloud 7 การคาดการณ์ ด้านระบบเน็ตเวิร์กและโครงสร้างพื้นฐานระดับองค์กรปี 2019

7 การคาดการณ์ ด้านระบบเน็ตเวิร์กและโครงสร้างพื้นฐานระดับองค์กรปี 2019

แบ่งปัน

ไม่แปลกใจถ้าจะกล่าวว่าเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานสำหรับองค์กรกำลังเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อมองจากการเติบโตของการใช้พับลิกคลาวด์, SaaS, และ SD-WAN ทำให้ปี 2019 นี้ย่อมเป็นปีสำคัญที่โครงสร้างพื้นฐานจะมีวิวัฒนาการที่จะมีผลกระทบใหญ่หลวง ที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนี้

1. ผลกระทบจาก SD-WAN

ต้องลุ้นผลกระทบที่จะเกิดกับโลกอินเทอร์เน็ต อันเนื่องมาจากการนำระบบ SD-WAN มาใช้อย่างแพร่หลายครอบคลุมทุกพื้นที่ทำให้องค์กรเริ่มพึ่งพาอินเทอร์เน็ตมากกว่าแต่ก่อนที่ยังเช่าลิงค์แยกต่างหากในการสื่อสารภายในองค์ก แต่การจะย้ายมาใช้ SD-WAN นั้น องค์กรทั้งหลายต่างกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะการให้บริการที่สำคัญจากดาต้าเซ็นเตอร์ดังนั้น เมื่อองค์กรกันมาแย่งกันใช้ SD-WAN หรืออินเทอร์เน็ตในการสื่อสารมากขึ้น ย่อมกระทบกับประสิทธิภาพของอินเทอร์เน็ตโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทีมงานด้านไอทีขององค์กรก็จำเป็นต้องวางแผนหาวิธีการจัดการรูปแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากอินเทอร์เน็ตเอง

2. ดิจิตอลจะเติบโตอย่างมาก

การใช้งานด้านดิจิตอลที่เติบโตอย่างรวดเร็วจะกดดันความสามารถในการรองรับของระบบเบื้องหลังเมื่อองค์กรและผู้ให้บริการ SaaS ต่างนำ API และบริการคลาวด์จากเธิร์ดปาร์ตี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมทั้งเว็บและแอพลิเคชั่นของตนเอง ตัวอย่างเช่น การกดซื้อของผ่านเว็บไซต์ก็มีการพ่วงไปยังบริการเพย์เมนต์เกตเวย์ของธนาคาร, ระบบ CRM, ระบบสต็อค, ระบบโลจิสติกและควบคุมการจัดส่ง เป็นต้น นั่นคือเว็บไซต์จำนวนมากจะมีการใช้แบนด์วิธและโหลดการประมวลผลที่พึ่งพาอาศัยระบบจากภายนอกเพิ่มขึ้น ทำให้ทำงานได้ช้าลงเรื่อยๆ รวมไปถึงการเปิดรับความเสี่ยงจากภายนอกมากขึ้น นำมาสู่ปัญหาที่ต้องจัดการที่ตัวแอพและทั้งตัวเน็ตเวิร์กที่ค่อนข้างยากต่อการระบุตัวการต้นเหตุ นอกจากนี้ องค์กรทั้งหลายต้องพิจารณาการแลกเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยบางอย่างกับประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้เพื่อให้แข่งขันในตลาดได้ด้วย

3. อินเทอร์เน็ตจะมีการแบ่งพรมแดนกัน

จะเกิดพรมแดนบนอินเทอร์เน็ต เมื่อหลายประเทศยอมรับการเซ็นเซอร์ทราฟิกของจีนและทำตามอดีตซีอีโอกูเกิ้ล Eric Schmidt ได้ประกาศคำทำนายที่สร้างความฮือฮาไว้ว่า โลกอินเทอร์เน็ตในที่สุดจะถูกแบบออกไปสองฝั่งได้แก่ ฝั่งที่นำโดยสหรัฐฯ และฝั่งที่ควบคุมโดยจีนภายในปี 2028 ซึ่งปัจจุบันมีหลายชาติที่หันมาเป็นพันธมิตรหรือเลียนแบบจีน ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน, ตุรกี, ซาอุดิอาระเบีย, และรัสเซีย ด้วยการสร้างกำแพงไฟร์วอลล์คอยเซ็นเซอร์ทราฟิกในประเทศ รวมไปถึงการใช้กลยุทธ์ทั้งทางเทคนิค, สังคม, และการเมืองมาควบคุมสื่อออนไลน์ โดยใช้เหตุผลเรื่องการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศมากกว่าเรื่องการเปิดกว้างด้านสิทธิมนุษยชน และถอนตัวออกมาแบ่งแยกพรมแดนทางอินเทอร์เน็ท

4. Hybrid Cloud มาแรง

ไฮบริดจ์คลาวด์เริ่มเข้ามาแทนที่การใช้งานบนคลาวด์ในตลาดส่วนใหญ่แม้เทรนด์คลาวด์กำลังมาแรง แต่องค์กรต่างก็มีจำกัดทั้งเรื่องของการขยับขยายหรือย้ายระบบทั้งหมดในทีเดียว หรือแม้แต่การรักษามาตรฐานหรือกฎหมาย ทำให้จุดสมดุลกลายมาเป็นการใช้ระบบแบบไฮบริดจ์ ซึ่งกระทบกับธุรกิจของผู้ให้บริการพับลิกคลาวด์ โดยเฉพาะ AWS ที่ลูกค้าอาจจะรอดูบริการจากผู้ให้บริการเครือข่ายที่ตัวเองใช้อยู่ ที่กำลังทะยอยเปิดบริการออกมาแข่งมากขึ้น

5. การประมวลผล Edge จะใช้มากขึ้น

การประมวลผลที่ Edge จะถูกนำมาใช้จนสามารถยกระดับความเร็วและประสิทธิภาพได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อนแม้การแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้แก่อุปกรณ์ที่ขอบของเครือข่ายอย่างอุปกรณ์ IoT จำนวนหลายพันล้านตัวนั้นอาจสร้างปัญหาเรื่องความปลอดภัย แต่เมื่อเทียบกับผลกระทบทั้งเรื่องความเร็ว ประสิทธิภาพการทำงาน และค่าใช้จ่ายแล้ว ทำให้องค์กรต่างตัดสินใจเลือกมาใช้ Edge Processing แทนการรวมศูนย์การประมวลผลที่เซิร์ฟเวอร์กลางแบบเดิม นอกจากนี้ยังมีการใช้โหนดที่ออกแบบมาสำหรับแบ่งเบาภาระการประมวลผลที่เป็นตัวกลางระหว่างคลาวด์และ Edge ที่ช่วยประสานการทำงานระหว่างโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์และอุปกรณ์ IoT ให้เร็วขึ้นถึงระดับมิลลิวินาที

6. การโจมตีจะมุ่งเน้นอินเทอร์เน็ตพื้นฐาน

การโจมตีทางไซเบอร์จะเน้นระบบอินเทอร์เน็ตพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเสียหายมากที่สุด เนื่องจากกระแสการโจมตีทางไซเบอร์อย่างหนักทำให้องค์กรภาคเอกชนดิ้นรนติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์หันมาทุ่มกับการโจมตีระบบพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น DNS และระบบเราท์ติ้ง BGP ของผู้ให้บริการแทน ซึ่งเป็นการโจมตีแบบทางอ้อมที่ส่งผลกระทบจากภายนอกองค์กร และสร้างความเสียหายได้มากกว่า รวมไปถึงการเน้นเลือกเฟ้าเหยื่อที่มีมูลค่าสูง ที่สมควรทุ่มเทการแฮ็กเพื่อถลุงเงินให้คุ้มมากที่สุดมากกว่าการยิงกราดแบบสุ่มสี่สุ่มห้าด้วย

7. คลาวด์จะเป็นแกนหลักของระบบ

การหันมาใช้คลาวด์ ทำให้องค์กรหนีไม่พ้นการปรับโครงสร้างของทีมบริหารด้านไอทีใหม่ด้วยเทรนด์ที่หันมาใช้ SaaS เต็มรูปแบบ ทำให้องค์กรเปลี่ยนโมเดลการใช้งานจากระบบภายในมาสู่คลาวด์ ซึ่งทำให้ต้องปรับรูปแบบการทำงานของฝ่ายไอทีให้เข้ากับการใช้งานแอพที่โฮสต์ภายนอกองค์กรด้วย เช่น การลดการใช้งานทูลเครือข่ายสำหรับระบบภายใน แล้วหันไปลงทุนกับเทคโนโลยีสำหรับคลาวด์ที่ให้ความสามารถการมองเห็นเครือข่ายและบริการของแอพ ISP และบน SaaS แทนเป็นต้น

ที่มา : Networkcomputing