มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ผนึกพลังความร่วมมือกับ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หนึ่งในผู้นำอิเลคทรอนิคส์และนวัตกรรมไอซีทีของโลก เปิดสมาร์ทแล็บอัจฉริยะ (Smart IA Lab) แห่งแรกของไทย ณ.คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ.ซึ่งก้าวล้ำด้วยเทคโนโลยีอินดัสเทรียล ออโตเมชั่น (Industrial Automation) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิศวกรรมศาสตร์ กระตุ้นนวัตกรรม และหนุนสตาร์ทอัพผู้ประกอบการใหม่ พัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างยั่งยืน
รศ.ดร.สุชาติ เซียงฉิน รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า วิถีชีวิตและธุรกิจอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ด้วยสมาร์ทเทคโนโลยีและอินดัสเทรียลออโตเมชั่น อย่างที่เราได้เห็นในข่าวต่างๆ อาทิเช่น
1. หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานร่วมกับมนุษย์เสมือนเป็นเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง,
2. Jetpack (เจ็ทแพ็ค) เหมือนเป้สะพายหลังติดไอพ่น ช่วยให้มนุษย์บินได้แบบส่วนตัว,
3. รถพลังงานไฟฟ้าซึ่งจะไม่มีเครื่องยนต์ มีเพียง power charger ตัวนิดเดียว สามารถชาร์จไฟได้ที่บ้าน,
4. รถยนต์ไร้คนขับที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีต่างๆ,
5. การขนส่งพัสดุทางอากาศโดยใช้โดรน ประหยัดเวลาลพลังงาน
ฉะนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องพัฒนาการศึกษาให้รองรับธุรกิจอุตสาหกรรม 4.0 และปัจจัยที่จะทำให้เยาวชนไทยประสบความสำเร็จ ก็ต้องมีห้องเรียนที่ดี มีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยที่กระตุ้นให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนำศาสตร์สาขาต่างๆมาใช้สร้างสรรค์งาน ต่อยอดนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองสังคมและเศรษฐกิจได้มากยิ่งขึ้น
มร.เซีย เชน เยน ประธานบริหาร บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำในนวัตกรรมอิเลคทรอนิคส์ ไอซีทีและการจัดการพลังงานของโลก รวมถึงพาวเวอร์ชาร์จสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า สร้างงานสร้างรายได้แก่ประเทศไทยปีละกว่า 40,000 ล้านบาท กล่าวว่า เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 และไทยแลนด์ 4.0 นั้น ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคคลากร 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มวิศวกรที่จะนำระบบ Industrial Automation (IA) ไปออกแบบปรับปรุงและพัฒนาโรงงานและระบบการผลิตสู่อุตสาหกรรม 4.0 2.กลุ่มที่จะบำรุงรักษา Industrial Automation (IA) และ
3.กลุ่มที่มีทักษะในการเป็นผู้ใช้ระบบ Industrial Automation (IA)
โครงการ Smart IA Lab ที่เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ สนับสนุนส่งมอบอุปกรณ์ไฮเทคแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โดยเปิดเป็นแห่งแรกในไทย ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจพ.มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีออโตเมชั่น (Industrial Automation) ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรนักศึกษาไทย ด้านทักษะอุตสาหกรรม 4.0 สู่ไทยแลนด์ 4.0 กระตุ้นการคิดค้นวิจัยนำไปต่อยอดนวัตกรรม