หน้าแรก Vendors Fortinet (สัมภาษณ์) “อย่าลืมความปลอดภัยหากจะไปดิจิทัล” ในทัศนะของฟอร์ติเน็ต

(สัมภาษณ์) “อย่าลืมความปลอดภัยหากจะไปดิจิทัล” ในทัศนะของฟอร์ติเน็ต

แบ่งปัน

ฟอร์ติเน็ต ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสปอนเซอร์หลักงาน CDIC 2017 ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยระดับประเทศ จัดโดยทาง ACIS ที่มีประธานเป็นกูรูด้านซีเคียวริตี้เมืองไทย ในการนี้ฟอร์ติเน็ตยังได้เปิดให้สื่อมวลชนได้เข้ารับฟังข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับระบบความปลอดภัย โดย มร. อัลวิน ร้อดดิเก้ หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค แห่ง ฟอร์ติเน็ต ได้เป็นผู้อธิบายเรื่องรวทั้งหมด เขาย้ำว่าการจะเปลี่ยนผ่านสู่โลกแห่งดิจิทัลนั้น องค์กรต้องไม่ลืมเรื่องของความปลอดภัยด้วย

มร. อัลวินเห็นว่า ในการปฏิรูปองค์กรเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่องค์กรดำเนินธุรกิจและวิธีการที่ปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายคือองค์กรจะตอบสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการได้อย่างไร? และจะให้มากกว่าที่ลูกค้าคาดหวังได้อย่างไร?

องค์กรจึงให้ความสำคัญต่อข้อมูลที่เกี่ยวกับความเห็นจากลูกค้าและจะรวบรวมข้อมูลจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในเครือข่ายจัดข้อมูลอันมหาศาลดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ถูกจัดเป็นกลุ่มๆ เพื่อให้นำไปรวมและดำเนินการแบบออโตเมทภายหลัง ข้อมูลจะถูกวิเคราะห์ เพื่อจะนำไปใช้งานได้อย่างชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ๆ ที่จะตอบสนองตรงต่อความต้องการของลูกค้า และอาจจะมากกว่าความคาดหวังของลูกค้าเสียอีก คาดกันว่าองค์กรจะหันมมาใช้เทคโนโลยีของระบบวิเคราะห์, IoT, AI และระบบที่จัดการกับความฉลาดมาใช้กับข้อมูลดังกล่าวมากขึ้น

การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล หรือ Digital Transformation เป็นการรวบรวมข้อมูลขยายวงกว้างขึ้น และกระนั้นย่อมมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามมากขึ้น เริ่มต้นจากวิธีการที่เรารู้จัก อาทิ การยืนยันตัวตนเข้าใช้งาน (Authentication) ภัยคุกคามที่อุปกรณ์เกตุ เวย์ที่บรรจุข้อมูลสำคัญ (Information Gateway) คลาวด์ (Cloud) สิ่งแวดล้อมเสมือน (Virtualized environment) และอื่นๆ อีกมาก

จากผลการสำรวจ “2017 Global Enterprise Security Survey” ของฟอร์ติเน็ต พบว่าองค์กรส่วนใหญ่ประสบภัยคุกคามใหญ่ๆ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และที่น่าสนใจ คือ ภัยที่มุ่งคุกคามที่ข้อมูลและพบการเกิดภัยแรนซัมแวร์เรียกค่าไถ่เป็นจำนวนสูงมากติดอันดับสองเลยทีเดียว นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาด้านไอทีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

– การขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านไอที
– โซลูชั่นต่างๆ ยังใช้งานแยกเป็นส่วน
– ผู้บริหารเครือข่ายขาดศักยภาพการมองเห็นข้อมูลเชิงลึกในอุปกรณ์ที่ใช้งาน
– การที่ความเสี่ยงขยายพื้นที่ไปกว้างมากขึ้น
– การขาดข้อมูลสำคัญที่ต้องนำมาวิเคราะห์
– การขาดความต่อเนื่องในการป้องกันภัยคุกคามขององค์กร

มร. อัลวิน ร้อดดิเก้ (คนกลาง)

ดังนั้นระบบความปลอดภัยยุคใหม่ต้องรองรับเครือข่ายแบบออโตเมท (ใช้คนทำงานน้อยลง), อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยจำเป็นต้องเห็นอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย และต้องสามารถตั้งค่านโยบายบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาได้ สามารถตรวจสอบและป้องกันข้อมูลและทรัพยากรที่เคลื่อนไหวอยู่ในเครือข่ายแบบกระจายได้ดี

ในท้ายสุดเขาได้แนะนำแนวคิด ในการสร้างความปลอดภัยให้กับดิจิตัท ทรานสฟอร์เมชั่น โดยองค์กรควรตระหนักถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น และวางแผนป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ควรจะเริ่มต้นใช้อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นบนมาตรฐานเปิดแทนที่จะใช้อุปกรณ์แบบเดิมๆ และแทนแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยที่แยกกันอยู่ซึ่งจะช่วยท่านใช้ระบบความปลอดภัยและกรอบด้านความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานได้ และสิ่งที่สำคัญทีสุด คือการประสานระบบความปลอดภัยเข้ากับหัวใจทางธุรกิจของท่าน