หน้าแรก Advertorial กรณีศึกษา : “โรงไฟฟ้าจะนะ” กับระบบความปลอดภัยขั้นสูงด้วยโซลูชั่นจาก Axis

กรณีศึกษา : “โรงไฟฟ้าจะนะ” กับระบบความปลอดภัยขั้นสูงด้วยโซลูชั่นจาก Axis

แบ่งปัน

โรงไฟฟ้าจะนะ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้รับผิดชอบในส่วนของการผลิตไฟฟ้าเพื่อให้บริการแก่ประชาชน ในภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งปัจจุบันที่มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องและมีการลงทุนค่อนข้างสูง ปัจจุบันโรงไฟฟ้าจะนะประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจำนวน 2 ชุด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 800 ไร่ โดยนำก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย มาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้กว่า 1,571.8 เมกะวัตต์

ความปลอดภัยและเทคโนโลยีถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการก่อสร้างและดำเนินงานของโรงไฟฟ้าจะนะ คุณศักดิ์ชัย วงศ์วิชัย ซึ่งเป็น Head, Information Technology ได้อธิบายให้ฟังว่า ในอดีตพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะนะแห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงภัยทั้งในแง่ของการโจรกรรม, การประท้วง และผู้ไม่ประสงค์ดีที่เข้ามาก่อกวน เป็นต้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ทำให้โรงไฟฟ้าจะนะจำเป็นต้องหาโซลูชั่นในการป้องกันและตรวจตราเหตุการณ์ร้ายต่างๆ โดยพิจารณาการใช้งานระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อเข้ามาช่วยป้องกัน

ความท้าทายและปัญหาที่เกิดขึ้น
กล้องวงจรปิดในยุคแรกที่ทางโรงไฟฟ้าจะนะใช้งาน ประกอบด้วยกล้องที่ติดตั้งอยู่รอบรั้วและภายในบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้า แต่เนื่องจากระบบกล้องวงจรปิดเดิม (แบบอะนาล็อก) มักจะมีปัญหาในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตัวเคสของกล้องที่เปราะบาง ทำให้เกิดการแตกหักได้ง่าย (ไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม) อีกทั้งยังมีปัญหาการรวนของระบบและมักจะหยุดการทำงานอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้เสียเวลาในการทำงานเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นต้องไปแก้ไขปัญหาที่ตัวกล้อง (เจ้าหน้าที่จะต้องไปแก้ไขปัญหาที่หน้างาน ซึ่งบางครั้งอยู่ในโซนที่ไกลออกไป) เมื่อกล้องมีปัญหาและไม่สามารถใช้งานได้ก็จะมีผลอย่างยิ่งต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานที่ไม่มั่นใจถึงความปลอดภัย รวมทั้งไม่สามารถตรวจสอบถึงความความผิดปกติในโรงไฟฟ้าได้อย่างทันท่วงทีและส่งผลเสียต่างๆ ตามมา

คุณศักดิ์ชัย วงศ์วิชัย ซึ่งเป็น Head, Information Technology (กฟผ.)

โรงไฟฟ้าจะนะจึงได้มีการตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบกล้องวงจรปิดเสียใหม่ โดยพิจารณาจากโจทย์ความต้องการที่เกิดขึ้น เริ่มต้นตั้งแต่การพิจารณาความทนทานของอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์ของพื้นที่, จากนั้นก็พิจารณาถึงความคมชัด, พิจารณาถึงการซูมขยายภาพที่จำเป็น โดยต้องซูมภาพได้ไกล, รวมถึงมีระบบเน็ตเวิร์กและซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานได้เป็นอย่างดีไม่มีปัญหาเหมือนรุ่นเดิม

ปัจจุบันทางโรงไฟฟ้าได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กล้องวงจรปิดจากทาง Axis Communications ซึ่งเป็นกล้องแบบเน็ตเวิร์ก คาเมร่า (เป็นระบบดิจิตอล สามารถควบคุมผ่านระบบไอพีและเน็ตเวิร์กได้ดีกว่าระบบเก่า)ในพื้นที่ส่วนงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนด้านรั้วบริเวณด้านนอกเพื่อคอยสอดส่องและตรวจตราผู้บุกรุก, ในบริเวณพื้นที่ของโรงไฟฟ้าก็จะใช้คอยตรวจสอบสภาพแวดล้อมของเปลวไฟหรือการรั่วไหลของก๊าซหรือความผิดปกติต่างๆ, ส่วนในอาคารศูนย์การเรียนรู้และบริเวณสำนักงานก็ไว้คอยสอดส่องความปลอดภัยทั่วๆ ไป ซึ่งรวมทั้งหมดแล้วติดตั้งกล้องประมาณ 87 ตัว ประกอบด้วยรุ่นต่างๆ อาทิ AXIS Q6045 PTZ Dome, AXIS M3007-PV, AXIS Q6115-E PTZ เป็นต้น

สำหรับการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดครั้งนี้ ทางโรงไฟฟ้าจะนะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทางบริษัท แอดวานซ์ คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด ที่จัดเตรียมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในเทคโนโลยีด้านกล้องวงจรปิดอย่างแท้จริงมาช่วยในการติดตั้งและดำเนินการช่วยเหลือทั้งหมด

หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนระบบกล้องวงจรปิดจากรุ่นเดิมมาเป็นของทาง Axis ก็พบว่าเป็นกล้องที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถตอบโจทย์ความต้องการได้เป็นอย่างดี ซึ่งผลตอบรับจากผู้ใช้งานไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่ดูแลและควบคุมหลัก ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก ทำให้เกิดความมั่นใจต่อการใช้งานกล้องได้อย่างต่อเนื่อง และวางแผนจะเสริมกล้องเข้าไปในส่วนงานอื่นๆ ต่อไป

ต่อยอดสู่งานด้านปฏิบัติการ
แม้ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าจะนะได้ใช้กล้องวงจรปิดจากทาง Axis เพื่อเน้นในการสอดส่องความปลอดภัยเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ได้วางแผนการณ์ที่จะขยายขีดความสามารถจากเพียงใช้แค่ตรวจสอบความปลอดภัย มาเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านการปฏิบัติการให้ดีขึ้น

คุณศักดิ์ชัย เล่าให้ฟังว่ามีบริเวณพื้นที่บางส่วนของโรงไฟฟ้าซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่อันตราย อันเกิดจากความร้อนสูงและไวต่อประกายไฟ เป็นพื้นที่เสี่ยงสำหรับบุคลากรของโรงไฟฟ้าหากต้องเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ดังกล่าวนั้น พวกเขาจึงพิจารณาเห็นควรต้องใช้กล้องที่มีประสิทธิภาพสูงและทนทานต่อสภาพความร้อนที่เกิดขึ้นและได้รับการรับรองว่าจะไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือเกิดการระเบิดจากตัวกล้อง (Explosion-proof) มาใช้แทนคนที่จะต้องเข้าไปตรวจสอบอุปกรณ์หรือปฏิบัติการงานในพื้นที่นั้น ซึ่งกล้องของ Axis ก็สามารถพิสูจน์และผ่านการรับรองพร้อมได้รับเกียรติบัตรด้านคุณสมบัติ Explosion-proof ตลอดจนความทนทานในสภาวะแวดล้อมที่กำหนดจึงได้รับการเชื่อมั่นที่จะนำมาใช้งานต่อไป สำหรับแผนงานดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในราวปี 2561 ที่จะมาถึงนี้

กฟผ. ไว้วางใจ บริษัท แอดวานซ์ คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด ในการติดตั้งและดูแลระบบ

ผลตอบรับที่คุ้มค่า
ตั้งแต่เลือกใช้กล้องจากทาง Axis ก็ไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด โรงไฟฟ้าจะนะสามารถที่จะใช้กล้องในการสอดส่องความผิดปกติในโรงไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ช่วยลดความเสี่ยงจากการบุกรุกของบุคคลภายนอก และสามารถนำเอาภาพจากกล้องวงจรปิดที่เกิดขึ้นมาเป็นหลักฐานในการลดข้อโต้แย้งจากผู้ประท้วงได้ ช่วยสร้างความอุ่นใจทั้งชีวิตและจิตใจให้กับพนักงานกว่า 180 ชีวิตในโรงงานไฟฟ้าจะนะขนาด 800 ไร่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด