หน้าแรก Networking & Wireless Access Point RUCKUS เปิดตัว Access Point WI-FI 7 สุดล้ำ ระดับ Enterprise Grade รายแรกของโลก เหนือคู่แข่ง

RUCKUS เปิดตัว Access Point WI-FI 7 สุดล้ำ ระดับ Enterprise Grade รายแรกของโลก เหนือคู่แข่ง

แบ่งปัน

เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา RUCKUS ประกาศเปิดตัวแอคเซสพอยต์ระดับองค์กรที่ระบุว่าใช้มาตรฐานใหม่ที่ยังไม่เปิดตัวทางการอย่าง “Wi-Fi 7” ทำให้กลายเป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ระบบไร้สายระดับองค์กรรายใหญ่ที่สุดที่ขาย AP เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้

โดยถ้ารุ่น R770 วางขายธันวาคมนี้จริงก็จะได้วางคู่กันบน WI-Fi 7 ร่วมกับ AP จาก H3C ที่จำหน่ายไปแล้วตอนนี้ ร่วมกับของ Huawei ที่มีส่งให้ลูกค้ากว่า 50 ราย รวมถึงของ EnGenius ที่คาดว่าจะวางขายในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ด้วย

ยังไม่พอ ค่าย HFCL ยังออกมายืนยันที่จะเปิดตัว AP ในตระกูล OpenWiFi Wi-Fi 7 อีกหลายตัว แม้ทั้งหมดนี้ยังไม่เห็นเครื่องไหนประกาศรองรับย่านความถี่ 6 GHz อย่างเต็มปากเต็มคำเลย จนบางคนมองว่าพวกนี้รีบแย่งชิงพื้นที่ในตลาดก่อนเลยประกาศส่งๆ ออกมา

สำหรับมาตรฐาน Wi-Fi 7 รหัส 802.11be ตามแผนของ IEEE จะยังไม่ได้รับการประกาศออกมาให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการจนกว่าจะถึงปีหน้าปี 2024 ทางฝั่ง Wi-Fi Alliance ก็ยังไม่ได้ประกาศไทม์ไลน์ที่จะออกการรับรอง AP กลุ่มนี้

แต่เช่นเคยสำหรับโลกอุตสาหกรรมทางเทคโนโลยีที่ผู้ผลิตไม่เคยรอความเชื่องช้าขององค์กรกลาง อย่างล่าสุดที่  RUCKUS เผยรายละเอียด AP ตัวใหม่นี้ที่ใช้ชิปเซ็ตของ Qualcomm ซึ่งตัวแทนของ  RUCKUS ออกมายืนยันการขายแล้ว

โดยมีแพลนจำหน่าย R770 ก่อนมาตรฐานจะประกาศทางการแน่นอน และจะเริ่มเข้ายื่นขอรับรองมาตรฐานทันทีที่กระบวนการเปิดให้ดำเนินการได้ สำหรับพวกเราแล้วก็ถึงเวลาตอบคำถามว่า คุ้มหรือไม่กับการอัพเกรดเช่นกัน

ที่ผ่านมา IEEE สามารถสร้างความมหัศจรรย์ในการเพิ่มความเร็วของเทคโนโลยีแลนไร้สายมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุด 802.11be ที่มองว่า “ได้ทรูพุตสูงขึ้นอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน” ในทางทฤษฎีทำได้เร็วกว่า 802.11ax ถึง 5 เท่า ไม่ว่าจะอยู่ในคราบของ Wi-Fi 6 หรือ 6E

แน่นอนว่าในความเป็นจริงก็ไม่ได้ทรูพุตตามที่อ้างไว้ มักขึ้นกับหลายปัจจัย และสำหรับความเร็วสูงสุดของเหล่า AP Wi-Fi 7 ที่ขยันเปิดตัวรัวๆ ตอนนี้ก็คิดเป็นประมาณ 2 – 4 เท่าของอัตราเร็วของผลิตภัณฑ์ Wi-Fi 6 ระดับใกล้เคียงกัน

ตัวเลขนี้เป็นข้อพิจารณาหลักที่องค์กรเห็นชัดว่าควรจะอัพเกรดขึ้นไปใช้ไหม โดยเฉพาะที่ที่เจอปัญหาการใช้งานแออัดหลังต้อนรับพนักงานกลับมาทำงานในออฟฟิศ และพึ่งพากับประชุมผ่านวิดีโออย่างหนัก แต่อย่าลืมว่า Wi-Fi 7 ไม่ได้มาแค่ความเร็วที่สูงขึ้น

แต่ยังมาพร้อมความปลอดภัยที่พัฒนาขึ้น เวลาหน่วงดีเลย์ต่ำลง และประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น ที่ควรนำมาใช้พิจารณาตัดสินใจอัพเกรดด้วย อย่างฟีเจอร์ที่เด่นที่สุดตัวหนึ่งของ 802.11be เรียกว่า Multi-Link Operation (MLO)

ฟีเจอร์นี้สร้างความฮือฮาในหน้าเปเปอร์รีเสิร์ชมาหลายฉบับ จากการทดสอบพบว่าสามารถสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุหลายคลื่นพร้อมกันได้ สวิ่ชชิ่งไปมาอย่างรวดเร็ว โดยมี Latency ต่ำ และความเสถียรสูงกว่าเดิม ซึ่ง เองก็เอาเรื่องนี้ชูเป็นจุดขาย

R770 รองรับ MLO ข้ามทั้ง 3 ย่านความถี่ ตั้งแต่ย่านเก่าเก็บ 2.4 GHz รวมกับย่าน 5 GHz ปัจจุบัน ไปจนถึงย่านใหม่ที่เพิ่งขุดมาใช้อย่าง 6 GHz แต่อย่าลืมว่าฟีเจอร์นี้ต้องเปิดใช้ รองรับการทำงานทั้งสองฝั่งทั้งฝั่ง AP และอุปกรณ์ปลายทางด้วย

ทางด้านอุปกรณ์ปลายทาง ก็มีสมาร์ทโฟนหลายรุ่นที่ประกาศรองรับ Wi-Fi 7 เรียงหน้ากันมา บางตัวกล้าขนาดอ้างว่ารองรับ MLO เรียบร้อย อย่างเจ้าแรก XiaoMi ที่เปิดตัวมากับรุ่น M13 Pro และล่าสุดที่กูเกิ้ลเปิดตัว Pixel 8 และ 8 Pro

สำหรับองค์กรในการอัพเกรดเครือข่าย Wi-Fi ก็ต้องคิดมากกว่าแค่ซื้อ AP ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่จะรองรับพอหรือไม่ อย่างจำนวนพอร์ตสวิตช์ที่ต้องการ ระบบสายเคเบิลที่ต้องรองรับอย่างเหมาะสม

โดยเฉพาะการที่ AP ระดับ Wi-Fi 7 ออกมาพร้อมพอร์ตแลนระดับ 10 Gbps เพื่อเชื่อมต่อกับสวิตช์ ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ที่หลายองค์กรที่ยังใช้ AP ที่อัพลิงค์ยังอยู่แค่ในช่วง 1 – 5 Gbps ต้องปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ตามไปด้วย

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ – https://www.delloro.com/wi-fi-7-%CC%B6-a-new-reality-for-enterprises/?