หน้าแรก Networking & Wireless Fiber Optic มาดูแนวทางในการเข้าหัวสายยุคใหม่ – ทำอย่างไรให้มันสวยและดี

มาดูแนวทางในการเข้าหัวสายยุคใหม่ – ทำอย่างไรให้มันสวยและดี

แบ่งปัน

ช่างที่ติดตั้งทั้งหลายต่างเคยเข้าหัวสายเคเบิลทองแดงแบบบิดเกลียวคู่มาหลายทศวรรษแล้ว รวมไปถึงการยึดสายเข้ากับรูเสียบสาย, แผงเชื่อมต่อสาย (Patch Panel), หรือบล็อกต่อสายต่างๆ ถึงแม้ขั้นตอนวิธีการจะไม่ได้เปลี่ยนแปลง แต่เครื่องมือที่ใช้เข้าหัวก็ได้รับการพัฒนามาต่อเนื่องยาวนาน จนมีทางเลือกมากมายให้ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งหลักการเลือกใช้ดังต่อไปนี้

วิธีดั้งเดิมที่เชื่อถือได้
หนึ่งในเครื่องมือในการเข้าหัวที่ใช้กันทั่วไป และประยุกต์ใช้ได้หลากหลายก็คือ คีมเข้าหัวสายแบบมาตรฐาน ที่หน้าตาเหมือนใบมีดที่ปลายด้านหนึ่ง ไว้ใช้กดบนหัวต่อแต่ละหัวให้เข้ากับสล็อต IDC ที่ตรงกันเพื่อให้เชื่อมต่อกันได้

เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับใส่แรงอย่างเหมาะสมเพื่อกดลวดตัวนำเข้าหัวเชื่อมต่อ ซึ่งโดยมากแล้วมักมีส่วนใบมีด 66 และ 110 ใบ เพื่อใช้งานกับหัวต่อหลากหลายประเภท อย่างชนิด 66 ใบนั้นจะใช้กดเข้าสายสำหรับลวดขนาด 22 – 26 AWG ที่ใช้ในระบบสายโทรศัพท์ดั้งเดิม ส่วนชนิด 110 ใบ จะใช้กับสาย Category 5e และ 6 ทั้งขั้วตัวผู้และตัวเมีย

ถือเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นถ้าต้องการเข้าหัวต่อแต่ละหัวด้วยตัวเอง ซึ่งมักทำให้ปวดมือค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเวลาจัดการกับหัวเชื่อมต่อจำนวนหลายร้อย (หรือหลายพัน) จุด ดังนั้นควรเลือกอุปกรณ์ที่มีที่จับสปริงแบบอัตโนมัติ หรือออกแบบการจับที่เอื้อต่อหลักทางกายวิภาค (Ergonomic) จะช่วยได้มากกว่า

แม้อุปกรณ์พวกนี้จะมีโครงสร้างง่ายๆ อยู่แล้ว แต่ก็มีบางตัวที่ออกแบบมาพร้อมฟังก์ชั่นเสริมที่ช่วยทำให้การทำงานง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์เข้าหัวของ Fluke Networks ที่รู้จักกันทั่วโลกอย่าง D914 Impact Tool ที่มาพร้อมกับตะขอและมีดแงะที่ช่วยเขี่ยลวดออกจากบล็อกเชื่อมต่อได้ทุกรูปแบบ หรือแม้แต่แงะเอากล่องเชื่อมต่อออกจากผนังที่ยึดไว้ได้ รวมทั้งมีชุดใบมีดเสริมติดมาในตัวจับเพิ่มให้ ทำให้เปลี่ยนแบบใบมีดระหว่าง 66 และ 110 ใบได้ที่หน้างานอย่างสะดวกสบาย

ประหยัดแรงด้วยการเข้าหัวหลายคู่สายพร้อมกัน

เวลาจะเข้าหัวสายนั้น การมานั่งเข้าหัวสายกับหัวต่อทีละหัวเองนั้นดูไม่ใช่ความคิดที่เหมาะเท่าไร โดยเฉพาะถ้าต้องมากดทั้ง 4 คู่สายของสายเคเบิลทองแดงบิดเกลียวคู่เข้ากับกล่องเต้ารับตัวเมียหรือหัวต่อตัวผู้ แทนที่จะทำร้ายกล้ามเนื้อมือในระยะยาว ก็หันมาใช้อุปกรณ์ที่สามารถเข้าหัวได้หลายหัวพร้อมกันแทนดีกว่า

อุปกรณ์แบบนี้เหมาะมากกับการเข้าหัวสาย Category 5e พร้อมกันหลายสายสำหรับระบบวอยซ์ ด้วยมีดกดสายแบบ 110 ใบที่ทั้งกดสายเข้าหัวพร้อมๆ กับตัดสายส่วนเกินให้ด้วย ทำได้พร้อมกันมากสุดถึง 5 คู่สาย ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน หรือแม้แต่การเข้าสายกับผนังด้วยใบมีดแบบ 110 ใบก็ทำได้ด้วยเช่นกัน สำหรับการเข้าหัวคู่สายย่อยถึง 25 คู่นั้น จะใช้การกดเข้าเพียงแค่ 5 ครั้งเท่านั้นเมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมือกดย้ำเข้าหัวสายธรรมดาที่ต้องกดถึง 50 ครั้ง!

อย่างการเข้าสายกับหัวต่อ RJ-45 ไม่ว่าที่แผงสายหรือบริเวณพื้นที่ทำงานทั่วไปก็ตาม ก็ต้องคอยกดย้ำสายทั้ง 8 สายตลอด อุปกรณ์ที่เข้าหัวได้หลายสายพร้อมกันจึงอำนวยความสะดวกได้มาก นอกจากนี้ เวลาเข้าหัวสายในระบบอย่างกิกะบิตอีเธอร์เน็ตหรือสูงกว่า ที่ต้องใช้การเชื่อมต่อทั้งหมดครบทั้ง 4 คู่สาย ซึ่งการย้ำสายเชื่อมต่อบนทุกคู่สายต่างจำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานทั้งสิ้น ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ที่สามารถกดย้ำคู่สายทั้งหมดพร้อมกันได้ในครั้งเดียวทำให้มั่นใจถึงเสถียรภาพที่ต่อเนื่องของการเข้าหัวสายได้

มีปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวกับการเข้าหัวสายบิดเกลียวคู่เข้ากับหัวต่อคือ การที่ผู้ผลิตแต่ละรายมีการออกแบบหัวต่อแตกต่างกันเป็นของตัวเอง ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ให้อุปกรณ์กดย้ำเข้าหัวสายของตัวเองมาให้ใช้ด้วย

ซึ่งด้วยเหตุผลนี้เอง ทาง Fluke Networks จึงต้องการรองรับประเภทหัวสายที่มีหลากหลายมากในตลาด โดยการพัฒนาอุปกรณ์เข้าหัวสายแบบหลายคู่สายพร้อมกัน ที่มีมือจับบีบที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์อย่าง JackRapid™ Jack Termination Tool สามารถเข้าหัวและกดย้ำเชื่อมต่อลวดทุกเส้นได้พร้อมกันโดยใช้หัวใบมีดที่หลากหลาย เข้ากับหัวต่อได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหัวต่อของ Leviton, Panduit, หรือ CommScope และแบรนด์อื่นอีกมากมาย นอกจากนี้ JackRapid ยังมาพร้อมกับตัวปอกสายแบบบิวท์อินบนส่วนมือจับที่ใช้งานได้สะดวก เหมือนมีสองอุปกรณ์ในหนึ่งเดียว

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเข้าหัวสายรูปแบบไหนหรือประเภทใดก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือ เราจะต้องทราบก่อนว่ากำลังจะติดตั้งระบบอะไร และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้เตรียมอุปกรณ์กดย้ำเข้าหัวสายที่เหมาะสมกับหน้างานนั้นๆ ก่อนเดินทางทุกครั้ง