หน้าแรก Vendors HP Enterprise สัมภาษณ์พิเศษ : Dr. Eng Lim Goh จาก HPE กับประเด็นเทคโนโลยี HPC และ AI...

สัมภาษณ์พิเศษ : Dr. Eng Lim Goh จาก HPE กับประเด็นเทคโนโลยี HPC และ AI กับอนาคตในยุค Next Normal

แบ่งปัน

HPE ได้จัดงานสัมมนาให้กับผู้นำไอทีในองค์กรต่างๆ ภายใต้ชื่องานว่า CxO Roundtable 2022 The Next Normal The Acceleration Digitization เพื่อเป็นการอัปเดตเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในโลกไอทีได้เห็นภาพ ตลอดจนเป็นการนำเสนอถึงภาพรวมของโซลูชั่นต่างๆ ของ HPE ที่จะเกิดขึ้นด้วย

โดยงานนี้ได้รับเกียรติจากทางผู้บริหารระดับสูงจากทาง HPE คุณพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และ Dr. Eng Lim Goh, Senior vice president, CTO of AI ของ HPE มาให้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยในการนี้ทาง Enterprise ITPro ก็ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ Dr.Goh ในครั้งนี้ด้วย

Dr.Goh เล่าให้ฟังว่าโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงด้านไอที (Digital Transformation) ไปอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคแถบยุโรปและอเมริกามีการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วมาก ทั้งนี้ก็สืบเนื่องจากประเด็นแรกก็คือ องค์กรต่างตระหนักรู้ว่าการทำ Digitization จะช่วยทำให้โปรดักส์ทิวิตี้ของพวกเขาขยายไปในทางที่ดีมากกว่าเดิมในแง่ของการประหยัดค่าใช้จ่ายและการเพิ่มประสิทธิผลทางธุรกิจนั่นเอง อีกหนึ่งประเด็น (ก่อนที่จะเข้าสู่ยุค Covid-19) เป็นเพราะแรงขับจากฝั่งคู่แข่ง กล่าวคือ องค์กรทั้งหลายเมื่อเห็นคู่แข่งของตนทำ Digitization แล้วพบกว่ามันทำให้ผลงานของคู่แข่งออกมาดีมีโปรดักส์ทิวิตี้ที่สูง ดังนั้นองค์กรของพวกเขาจึงจำเป็นต้องดำเนินแนวทางคล้ายๆ กับคู่แข่งบ้าง ก็เลยหันมาลงทุนในการทำ Digitization กันมากขึ้น ประเด็นต่อมาก็เป็นเรื่องของโซลูชั่นต่างๆ มีต้นทุนที่ลดลงไม่ว่าจะเป็นระบบคอมพิวติ้งหรือระบบสตอเรจที่ลดลง ก็ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาเริ่มลงทุน Digitization ด้วยเช่นกัน

คุณพลาศิลป์ วิชิวานิเวศน์ (ขวา) และ Dr. Eng Lim Goh

ประเด็นต่อมาเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มีส่วนผลักดันให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างต้องหาวิธีในการเปลี่ยนแปลงการทำงานใหม่ นั่นก็คือ การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ซึ่งถือว่าเป็นข้อสำคัญที่ทำให้องค์กรทั่วโลกต้องหาวิธีในการทำงานและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กร ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงแรกของการระบาดของ Covid-19 องค์กรต่างๆ หยุดชะงักและไม่สามารถทำอะไรได้เลย แต่ก็มีบางองค์กรที่วางแผนระบบไอทีเพื่อรองรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันดังกล่าวยังสามารถใช้งานได้ Covid-19 จึงเป็นปัจจัย “เร่ง” ให้เกิดการใช้งาน Digitization ในที่สุด

Dr.Goh กล่าวว่า HPE มีส่วนอย่างยิ่งในการช่วยผลักดันองค์กรต่างๆ ทั่วโลกให้ก้าวสู่โลกของ Digitization เขาบอกว่า HP นั้นจริงแล้วแบ่งออกเป็นสองบริษัทด้วยกันถ้าเป็นบริษัท HP นั้นจะเป็นเหมือนบริษัทที่ทำหน้าที่คอยซัพพลายผลิตภัณฑ์ด้านไอที ส่วนอีกบริษัทหนึ่งชื่อว่า HPE โดยที่ตัว E นั้นหมายถึง Enterprise เท่ากับว่าทาง HPE ของเราซึ่งผมมีส่วนเกี่ยวข้องและรับผิดชอบอยู่นั้น จะมุ่งเน้นไปที่องค์กรเอ็นเทอร์ไพรส์เป็นสำคัญเรามุ่งเน้นในสิ่งที่เรียกว่า Enterprise-Class ในทุกๆ มิติ

ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการผลิต เทคโนโลยีที่เกิดขึ้น โซลูชั่นระดับองค์กรต่างๆ เราโฟกัสผู้ใช้งานที่โซลูชั่นของเราสามารถขยายการให้บริการได้ในระดับตั้งแต่หลักสิบไปจนถึง 10,000 หรือ 100,000 ยูสเซอร์ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เราเป็น และทำให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี จึงได้เข้ามาหาเราและมั่นใจในเรา

เรายังได้พูดคุยกันถึงเรื่องขององค์กรในประเทศไทยว่า ณ ตอนนี้องค์กรในไทยถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเริ่มหันมาสนใจเรื่องเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างเช่น HPC (High performance computing) และ AI โดย Dr.Goh ได้ทยอยเล่าให้ฟังถึงเรื่องเทคโนโลยีทั้งสองอย่างน่าสนใจ อย่างเช่นในกรณี HPC เขาได้ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบการประมวลผลขั้นสูงอย่างเช่น HPC ว่า มันมีความสามารถที่สูงมาก องค์กรเหล่านั้นน่าจะเริ่มตระหนักรู้ถึงความสามารถของมันแล้ว อย่างเช่น กรณีหนึ่งที่น่าสนใจในโลกทางวิศวกรรมในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างเช่น ปัญหาในการคำนวณการไหลเวียนของอากาศ ซึ่งเรามสามารถใช้ความารถในการคำนวนหาคำตอบได้อย่างรวดเร็วจากระบบซุปเปอร์คอมพิวติ้งที่หลากหลาย รวบรวมการประมวลผลทั้งหมดมาตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วกว่าที่เคย ลดระยะจากการคำนวณที่ต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ เป็นวัน ให้มาเหลือเพียงแค่ไม่กี่นาที เป็นต้น นี่คือสิ่งใหม่ที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจมัน

เขายังได้ยกตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีองค์กรต่างๆ ทั่วโลกได้นำเอาระบบซุปเปอร์คอมพิวติ้งมาใช้ เนื่องจากกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการเงินจะต้องวางแผนในการลงทุน ซึ่งแน่นอนว่ามีดาต้าเข้ามาเยอะมากเป็นระดับบิ๊กดาต้า ยิ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ Subprime Crisis ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่มีเข้ามามากมาย และทำอย่างไรที่จะหาคำตอบที่ไม่เกิดข้อผิดพลาดอันจะเป็นผลเสียต่อองค์กร ดังนั้นจำเป็นต้องมีระบบที่มีความสามารถสูงในการตรวจสอบบิ๊กดาต้าเหล่านี้ ซึ่งก็คือการใช้งานซุปเปอร์คอมพิวติ้งหรือไม่ก็ HPC นั่นเอง

ในส่วนของเทคโนโลยี AI นั้น Dr.Goh กล่าวว่า AI หรือปัญญาประดิษฐ์นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยในการสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรเป็นอย่างมาก ซึ่งเขาชี้ให้เห็นว่าการจะมาเป็น AI นั้นมันเกิดจากองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูล (Data) ตามด้วยการเรียนรู้ของแมชชีนหรือ Machine Leaning มันจึงกลายมาเป็น AI โดย Dr.Goh บอกว่า “หลายๆ คนอาจจะพูดว่าข้อมูลนั่นแหล่ะคือตัวสร้าง AI ที่แท้จริง แม้ไม่ใช่ทั้งหมดก็ตาม แต่ที่ผมเห็นมาก็หลายกรณีแล้วที่เป็นเช่นนั้น” เขากล่าว

 

และนั่นจึงพบว่าทำไมหลายๆ ประเทศจึงมีกฏหมายในการควบคุมข้อมูล ซึ่งเมื่อเขาควบคุมข้อมูลได้ก็เท่ากับว่าสามารถควบคุม AI ได้เช่นกัน (แต่ก็ไม่ได้ความว่าจะเป็นทุกประเทศ) ดังนั้นเรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีกฏหมายเช่น GDPR ที่ใช้กันในยุโรปและอเมริกาจึงค่อนข้างเข้มงวด ในกรณีนี้หากเราป้อนข้อมูลที่มีอคติเข้าไปในระบบเมื่อผ่านการประมวลจาก Machine Leaning สุดท้ายแล้ว AI นั้นก็จะมีอคติตามไปด้วย เช่น กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ เมื่อคุณป้อนข้อมูลประชากรอันหนึ่งเข้าไป แต่ดันไม่ได้ใส่ข้อมูลอีกอันหนึ่งเข้าไป เมื่อเกิดการประมวลผลขึ้น AI จะอิงจากข้อมูลอันแรกที่คุณป้อนเข้าไปเป็นหลัก และอาจจะไม่ได้หยิบเอาข้อมูลอีกอันไปใช้ นั่นจึงทำให้องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมข้อมูลจึงต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง คอยตรวจสอบข้อมูล ดูวิธีการทำงานของกระบวนการทั้งหมด เป็นต้น

Dr.Goh ยังชี้ให้เห็นว่า AI จะเข้ามาช่วยในการทำงานมากยิ่งขึ้น และตอบโจทย์และแก้ไขงานต่างๆ ได้ดีกว่าเดิม ดังนั้นมันเองก็จำเป็นต้องมีการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นตามไป โดยเขาบอกว่า ต่อไปเมื่อคุณทำงานร่วมกับ AI มากขึ้นเรื่อยๆ แล้วมันฉลาดมากขึ้น เป็นไปได้ว่า คุณอาจจะมาถึงทางเลือกที่ หนึ่งให้ AI “ตัดสินใจแทน” คุณ หรือสองคุณ “แค่ขอความคิดเห็น” จาก AI และเป็นคุณตัดสินใจเอง

ซึ่งประเด็นนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจและต้องใส่ใจ อย่างเช่นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ อุตสาหกรรมเฮลท์แคร์อีกเช่นเคย AI ควรจะทำหน้าที่แค่ให้ความคิดเห็น แต่ไม่ใช่ผู้ที่จะมาตัดสินใจแทนทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามเขาก็บอกว่าก็มีบ้างที่ช่วยในการตัดสินใจแทน (แต่ไม่เยอะมาก) แต่ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจหรือให้คำแนะนำ AI นั้นจำเป็นต้องเรียนรู้จากประสบการณ์และตัวอย่างที่เกิดขึ้นในปริมาณที่มากจนสามารถที่จะให้คำแนะนำได้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องคำนึง

เขายังได้เปรียบเทียบองค์กรกับการใช้งาน AI เสมือนหนึ่งการใช้งานรถอัตโนมัติ โดยระบุว่าองค์กรแต่ละแห่งก็จะมีขั้นตอนการเข้าใจและใช้งาน AI ที่แตกต่างกันบางองค์กรเพิ่มจะเริมใช้งานก็เปรียบเสมือนหนึ่งในระดับเริ่มต้นที่จำเป็นต้องทำงานควบคู่กันไปก่อน แต่บางองค์กรก็ก้าวสู่ระดับที่สูงขึ้นจนสามารถให้ AI ช่วยทำงานแทนให้ได้แล้วเป็นต้น

Dr.Goh กล่าวว่า ทั้ง HPC และ AI ต่างเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรมีพัฒนาการไปในทางที่ดีและสร้างโปรดักส์ทิวิตี้ที่เหนือกว่าคู่แข่งได้มาก ส่วน HPE นั้นก็ให้ความใส่ใจและคอยช่วยให้องค์กรที่ต้องการเดินหน้าสู่โลกของ Digital World ในยุคใหม่ได้อย่างไม่ติดขัดมีเทคโนโลยีที่มากพอจะผลักดันคุณให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสอดรับการหมุนเวียนของโลกยุคใหม่ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเต็มขั้นได้