หน้าแรก Security Data Leak 7 เทรนด์ความปลอดภัยไซเบอร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021

7 เทรนด์ความปลอดภัยไซเบอร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2021

แบ่งปัน

ชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีการใช้งานมากที่สุดในโลกใช้ระบบดิจิทัลมาโดยตลอด แต่การใช้งานก็ไม่แพร่หลายเหมือนตอนมี COVID-19 เกิดขึ้น ปัจจุบันนี้มีชาวเน็ตมากถึง 400 ล้านคนซึ่งคิดเป็นเกือบ 70% ของประชากรในภูมิภาค ทั้งผู้ใช้งานรายบุคคลและองค์กรธุรกิจต่างก็ดำเนินการทุกอย่างทางออนไลน์ ที่แม้แต่คนที่เคยรังเกียจดิจิทัลก็ยังต้องกระโดดร่วมในโลกออนไลน์นี้

นี่เองคือจุดที่มีความสำคัญด้านความปลอดภัย นอกเหนือจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเดิมที่ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยในโลกไซเบอร์แล้ว ก็ยังมีผู้ใช้มือใหม่ที่นับเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด

นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ระบุประเด็นสำคัญที่ต้องจับตามองในปี 2021 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้

01 การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digitalization)

ภายใต้วิถีใหม่ เซ็กเตอร์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ในการแข่งขันเพื่อความอยู่รอด โรงเรียนกำลังเปลี่ยนไปใช้การเรียนรู้จากระยะไกล ธุรกิจ SMB ที่ไม่เคยมีตัวตนทางออนไลน์ได้เริ่มสร้างหน้าร้านออนไลน์ ร้านอาหารที่ไม่เคยให้บริการจัดส่งถึงบ้านก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจทั้งหมด

ในปี 2020 มีการใช้บริการและธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงจำนวนผู้ที่อาจตกเป็นเหยื่อทางออนไลน์ที่มากขึ้น เราได้เห็นการโจมตีแบบฟิชชิ่งที่เพิ่มขึ้นแล้วในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 และคาดว่าแนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไปในปี 2021 ในทำนองเดียวกัน

02 การเลือกตั้ง

เมื่อเร็วๆ นี้ ทางมาเลเซียระบุว่าจะจัดการเลือกตั้งใหม่เมื่อเอาชนะการแพร่ระบาดได้แล้ว ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นก็น่าจะประสบความสำเร็จในปี 2021 นอกจากนี้เวียดนามยังวางแผนที่จะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2021 ขณะที่ฟิลิปปินส์มีกำหนดจัดการเลือกตั้งระดับชาติในปี 2022

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเลือกตั้งเหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งบุคคลภายในและภายนอก ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากฐานผู้ใช้โซเชียลมีเดียและโมบายดีไวซ์ที่เพิ่มขึ้น แคมเปญดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อความคิดเห็นมากกว่าที่เคยเป็นมาก่อน

03 การเปิดตัว 5G

ปี 2019 เราได้เห็นการเปิดตัวเครือข่าย 5G และในปี 2020 นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ได้เห็นการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้อย่างแพร่หลายในอุปกรณ์พกพาโดยผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์อย่าง Apple อัปเดตกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งหมดให้เข้ากันได้กับ 5G

ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็พยายามติดตามวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้เช่นกัน ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เร่งเรื่องนี้เป็นพิเศษ ส่วนหนึ่งได้รับแรงหนุนจากความต้องการในการสนับสนุนโซลูชั่น เช่น การแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine เพื่อลดการติดต่อสัมผัสตามข้อจำกัดของโรค COVID-19 ซึ่งจะก้าวกระโดดในปี 2021 โดยมีประเทศอื่นๆ ในภูมิภาครีบดำเนินการตาม

04 ภาคสาธารณสุข

สาขาการดูแลสุขภาพเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วโลก ในการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้คาดการณ์ว่าจะมีการโจมตีอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในด้านการดูแลสุขภาพ ในปี 2020 ความสนใจในการวิจัยทางการแพทย์เพิ่มขึ้นในหมู่อาชญากรไซเบอร์ที่เชี่ยวชาญด้านการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมาย โดยได้รับแรงหนุนจากการพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่มีความสำคัญต่อประชาคมโลก

05 แรนซัมแวร์

ในปี 2020 มีเหตุการณ์การเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแรนซัมแวร์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในเยอรมนี ซึ่งผู้ป่วยต้องถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นเนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ แต่สุดท้ายก็เสียชีวิตก่อนที่จะไปถึงโรงพยาบาล

ในขณะที่จำนวนเงินค่าไถ่ที่เรียกร้องมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เราคาดว่าจะเห็นการโจมตีของแรนซัมแวร์ เพิ่มขึ้น เนื่องจากจำนวนองค์กรที่คาดว่าจะเป็นเป้าหมายที่เพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค และนั่นทำให้แนวโน้มในปี 2021 กลับกัน

 06 ความปลอดภัยของคลาวด์

บริษัทจำนวนมากได้นำระบบคลาวด์มาใช้ในรูปแบบธุรกิจ เนื่องจากความสะดวกสบายและความสามารถในการปรับขนาด อีกทั้งยังเป็นพื้นที่การโจมตีที่ค่อนข้างใหม่ อาจมีการโจมตีละเมิดโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมากขึ้นหากบริษัทต่างๆ ที่เพิ่งเริ่มใช้งานคลาวด์ทำผิดพลาด ไม่ปรับใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยและวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม ซึ่งมักเป็นกรณีของผู้ใช้งานรายใหม่

07 ระบบควบคุมอุตสาหกรรม (Industrial Control Systems – ICS)

ในปี 2020 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบแย่ที่สุดจากการโจมตี ICS แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลประเทศต่างๆ ก็สนใจในการควบคุมเหตุการณ์ดังกล่าวมากขึ้น