หน้าแรก Networking & Wireless 5G 7 แนวโน้มด้าน Networking ที่เราน่าจะได้เห็นในปี 2020 นี้

7 แนวโน้มด้าน Networking ที่เราน่าจะได้เห็นในปี 2020 นี้

แบ่งปัน

มาดูกันถึง 7 สุดยอดกระแสด้านเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์กที่เราควรจะได้เห็นในปีใหม่นี้ ซึ่งปี 2020 ถือเป็นปีที่ค่อนข้างวุ่นวายมากปีหนึ่งสำหรับทีมงานด้านไอทีและเน็ตเวิร์ก

โดยนอกจากการวางระบบ SD-WAN และการอัพเกรดเป็น Wi-Fi 6 ทั่วทั้งองค์กรแล้ว ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ถือว่าเราค่อนข้างเชื่องช้ากับการติดตั้งและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ แต่ในปี 2020 นี้จะมีทีมงานด้านเน็ตเวิร์กจำนวนมากที่ได้รับมอบหมายให้ติดตั้งแพลตฟอร์ม

Advertisement

เครื่องมือ และระบบชั้นสูงต่างๆ ที่จะผลักดันให้เน็ตเวิร์กยุคเก่าก้าวสู่อนาคต ดังนั้นเราจะมาชี้ให้เห็นถึงโปรเจ็กต์ต่างๆ ที่ฝ่ายไอทีของคุณควรวางแผนดำเนินการเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้บริหารที่มักจะมอบหมาย

ให้ทีมงานด้านเน็ตเวิร์กสร้างเครือข่ายที่รองรับบริการใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาอย่างรวดเร็ว สร้างการประหยัดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ และขยายขอบเขตของเครือข่ายองค์กรให้ทั่วถึง ซึ่งการแปลงกระบวนการทำงานเดิม

ที่เคยทำด้วยตัวเองให้เป็นแบบอัตโนมัตินั้นจะยิ่งผลักดันความต้องการความเร็วของเครือข่าย และบริการใหม่ๆ อย่างรวดเร็วมากขึ้นไปอีก โดยหลายเทคโนโลยีจะถูกติดตั้งลงในเครือข่าย LAN/WAN ขณะที่บางเทคโนโลยี

อาจไปติดตั้งบนคลาวด์หรือใช้บริการจากผู้ให้บริการเป็นหลัก เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถการมองเห็น ความเร็วในการวางระบบ และเร่งประสิทธิภาพการทำงานไปสู่ยุคทศวรรษใหม่ โดยเราจะได้เห็นสุดยอด 7 เทคโนโลยีด้านเน็ตเวิร์กดังนี้

1. Network Automation

ความต้องการติดตั้งบริการผ่านเครือข่ายอย่างรวดเร็วนั้นได้ก้าวนำหน้าความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการทีมงานด้านเครือข่ายไปแล้ว ดังนั้นทูลด้านการจัดการเครือข่ายอัตโนมัติจะเข้ามาช่วยทุกคนในจุดนี้

2. 5G สำหรับเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานสาขา

5G นั้นมักถูกมองจากด้านการเชื่อมต่ออุปรณ์พกพาเป็นหลัก ขณะที่เทคโนโลยีไร้สายใหม่ที่สำคัญนี้จะเข้ามายกระดับการทำงานขององค์กรได้มากจากมุมของสำนักงานสาขา โดยเราจะได้เห็นผู้ให้บริการผสาน 5G เข้ากับเกตเวย์ของสำนักงานสาขามากขึ้น

3. การแบ่งส่วนเครือข่ายและตรวจสอบเครือข่าย IoT

IoT ได้เติบโตมาจนเห็นการใช้งานจริงอย่างชัดเจนในปี 2020 นี้ แต่ด้วยความกังวลด้านความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ทำให้การแบ่งส่วนกลุ่มอุปกรณ์ IoT แบบเวอร์ช่วลแยกออกจากส่วนที่เหลือของเน็ตเวิร์กกลายเป็นงานใหญ่

4. การทำให้ส่วนใช้งานปลายทางของอินเทอร์เน็ตเรียบง่ายขึ้น

ขณะที่องค์กรทั้งหลายต่างย้ายแอพพลิเคชั่น ข้อมูล และบริการของตัวเองขึ้นไปยังพับลิกคลาวด์มากขึ้นนั้น หลายคนต่างพบว่าแทบไม่มีเซิร์ฟเวอร์ในดาต้าเซ็นเตอร์ที่ให้บริการที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเลย ทำให้ Edge ของอินเทอร์เน็ตซับซ้อนมากขึ้น

5. การวิเคราะห์เครือข่าย

ความก้าวหน้าในเรื่องบิ๊กดาต้าและ AI มาถึงจุดที่ทั้งคู่สามารถนำมาใช้แสดงข้อมูลสถานะประสิทธิภาพเครือข่ายได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยบางองค์กรได้นำร่องในการใช้ทูลอย่าง Network Analytic (NA) ในระบบของตัวเองแล้ว

6. การจัดการโพลิซีให้เป็นหนึ่งเดียว ที่ครอบคลุมเครือข่ายทั้งไฮบริดจ์และมัลติคลาวด์

หนึ่งในเรื่องที่น่าปวดหัวมากที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจากมุมมองของชาวเน็ตเวิร์กคือ การที่จำเป็นต้องสร้างและดูแลโพลิซีด้านความปลอดภัยเน็ตเวิร์กให้เป็นหนึ่งเดียวกันอยู่เสมอทั่วทั้งทุกคลาวด์ที่ใช้งาน เนื่องจากดาต้าเซ็นเตอร์ของคลาวด์

ทั้งแบบพับลิกและไพรเวทต่างใช้อุปกรณ์เครือข่ายแตกต่างกัน ขั้นตอนการตั้งค่าเครือข่ายเพื่อสร้างโพลิซีจึงแตกต่างกันมาก ด้วยการย้ายธุรกิจจากสถาปัตยกรรมแบบไฮบริดจ์คลาวด์ไปยังมัลติคลาวด์ การดูแลเครือข่ายให้เป็นหนึ่งเดียวยิ่งลำบากขึ้นหลายเท่า

7. การประมวลผลแบบ Edge ที่เข้ามาสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ

Edge Computing เป็นแนวคิดของการนำเรื่องการประมวลผลและข้อมูลมาอยู่ใกล้กับผู้ใช้ปลายทางมากขึ้นเมื่อเทียบกับคลาวด์คอมพิวติงแบบเดิม ซึ่งจะให้ประโยชน์ในการลดค่าใช้จ่ายด้านแบนด์วิธเป็นอย่างมาก และลด Latency ได้ไปพร้อมกัน

 

ที่มา: Networkcomputing