หน้าแรก Applications เคล็ดลับ 7 ประการในการปรับแต่งประสิทธิภาพของ “จาวา”

เคล็ดลับ 7 ประการในการปรับแต่งประสิทธิภาพของ “จาวา”

แบ่งปัน

ไม่ว่าคุณกำลังมองหาทิปในการปรับแต่งประสิทธิภาพของโปรแกรมจาวาที่ทำได้ง่าย เพื่อตอบสนองความอยากเรียนรู้ หรือมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาโปรแกรมมากขึ้น หรือเพื่อเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการปรับแต่งเดิมที่ปัจจุบันซับซ้อนเกินไปก็ตาม

ทาง Hackread.com ได้รวบรวมแนวทางที่ทำได้ง่ายในการเรียนรู้วิธีสร้างและปรับแต่งแอพพลิเคชั่นให้ดูดี และรันการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไว้ดังต่อไปนี้

1. หลีกเลี่ยงการปรับแต่งที่มากเกินไป
พยายามยึดหลักการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการปรับแต่งประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นอยู่เสมอ มิเช่นนั้นคุณอาจจะพบกับความเสี่ยงจากการปรับแต่งประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นมากเกินไปก็ได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ พยายามอย่าจัดการเกี่ยวกับประสิทธิภาพนอกจากจะจำเป็นจริงๆ

การปรับแต่งแก้ไขด้านประสิทธิภาพไปก่อนล่วงหน้ามักทำให้โค้ดซับซ้อนจนจัดการดูแล หรือแม้แต่ตีความอ่านโค้ดได้ยากขึ้นในระยะยาว จนสุดท้ายกลับเป็นการลดความสามารถการใช้งานของแอพพลิเคชั่นแทน

นักพัฒนาซอฟต์แวร์มักใช้เวลามากเกินไปกับการกังวลด้านประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นมากกว่าเรื่องของความง่ายหรือสะดวกสบายในการใช้ ซึ่งถือเป็นความผิดพลาดที่สำคัญ จนอาจกระทบกับเงินลงทุนปริมาณมหาศาลของบริษัทได้

2. ค้นหาจุดที่จำเป็นต้องพัฒนาในแอพพลิเคชั่น
เราจะไม่สามารถยกระดับประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นได้ถ้ายังไม่แน่ใจว่าปัจจุบันเรากำลังต้องการอะไรกันแน่ รวมไปถึงความไม่แน่ใจเกี่ยวกับจุดที่จะเริ่มต้นพัฒนาด้วย นักพัฒนาบางคนดูจากโค้ด ขณะที่บางคนอาจเลือกวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านประสิทธิภาพแทน

การใช้ทูล Profiler จะช่วยทำให้ได้ความเข้าใจที่แม่นยำเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่จะเปิดช่องให้สามารถจำกัดความสนใจในบริเวณที่สำคัญอย่างแท้จริง

3. ใช้ประโยชน์จากชุดทดสอบประสิทธิภาพ
กุญแจสำคัญคือการลดจำนวนปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่คุณควรสร้างและใช้ชุดทดสอบประสิทธิภาพเพื่อยกระดับการใช้งาน คุณจำเป็นต้องใช้ชุดทดสอบนี้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพแอพพลิเคชั่นในภาพรวมมากกว่าวัดแค่ฟีเจอร์ใดฟีเจอร์หนึ่ง

4. จัดอันดับคอขวด
หลังจากประเมินความต้องการของแอพพลิเคชั่น พร้อมทดสอบผ่านชุดทดสอบตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดแล้ว คุณจำเป็นต้องสร้างรายการปัญหาด้านประสิทธิภาพที่ต้องการพัฒนา แม้หลายคนมักถูกจูงใจให้ทำงานเล็กๆ ก่อน คุณก็ต้องเริ่มจากคอขวดที่สำคัญมากที่สุดก่อนเสมอ

5. จัดความสำคัญของระดับบันทึก Log ขนาดใหญ่
นักพัฒนามักมองข้าม Log Level ในปัจจุบัน แทนที่จะเลือกมองข้ามโค้ดแล้วมาให้ความสำคัญกับงานที่ทำได้ชัดเจนกว่าอย่างการสร้างข้อความดีบั๊ก ซึ่งถ้าไม่ได้จัดการตามขั้นตอนนี้แล้ว อาจทำให้ได้ข้อความ Log ที่ถูกมองข้ามไปในที่สุด

6. ใช้ StringBuilder ในการเชื่อมต่อสตริง
จาวานั้นมีหลากหลายวิธีในการเชื่อมต่อสตริง ซึ่งรวมถึง StringBuilder ที่เปิดให้อ๊อพเจ็กต์ที่เป็นสตริงถูกปรับแต่งได้ ถ้าคุณเชื่อมต่อสตริงของโค้ดอยู่ ก็สามารถใช้ทูลนี้ในการสร้างลูปงานเพื่อยกระดับประสิทธิภาพได้

7. แคชทรัพยากรที่มีมูลค่าสูง
นักพัฒนามักใช้การแคชเป็นวิธีแก้ปัญหาเพื่อหลีกเลี่ยง Code Snippet ที่มีมูลค่าสูง ดังนั้นจึงควรใช้เวลาในการแคชทรัพยากรต่างๆ ที่มีการใช้งานอยู่เป็นประจำ การนำทรัพยากรที่ราคาแพงกลับมาใช้ซ้ำนั้นถือเป็นวิธีที่ดีกว่าการเสียเวลาและเงินลงทุนพัฒนาสร้างทรัพยากรใหม่ทุกครั้งที่ต้องการ

ที่มา : Hackread