หน้าแรก Data Center 5 แนวโน้มปี 2018 ที่ Data Center จะเข้าสู่ยุค Gen4

5 แนวโน้มปี 2018 ที่ Data Center จะเข้าสู่ยุค Gen4

แบ่งปัน
Gen4

ยุคหน้าของดาต้า เซ็นเตอร์ (Data Center) จะทลายกำแพงเดิมๆ โดยจะอยู่เหนือข้อจำกัด และมันจะเชื่อมโยงกับอุปกรณ์หลักเข้ากับโครงข่ายรอบข้างได้อย่างชาญฉลาดและตอบโจทย์สำคัญของธุรกิจ ซึ่งมันคือยุคที่เราเรียกว่า Gen4 ซึ่งมันจะกลายเป็นต้นแบบของเครือข่ายไอทีสำหรับอนาคต นับเป็น 1 ใน 5 เทรนด์ของดาต้า เซ็นเตอร์ ปี 2561

มร.อนันท์ ชังกี ประธาน เวอร์ทีฟ ภูมิภาคเอเชีย เปิดเผยว่า “ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ได้ผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างมหาศาลของเครือข่ายโคโลเคชั่น เพราะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา บริษัทต่างๆ ในเอเชียได้เคลื่อนย้ายข้อมูลและแอพพลิเคชั่นที่สำคัญไปอยู่ในระบบคลาวด์ อีกทั้ง ยังมีความตื่นตัวอย่างสูงในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ตอบรับกับการเรียกร้องของผู้บริโภคที่ต้องการประสบการณ์การบริการที่ราบรื่น ไม่ติดขัดและรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของดาต้า เซ็นเตอร์ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลที่อยู่ตรงกลางและโครงข่ายรอบข้าง”

5 เทรนด์สำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของดาต้า เซ็นเตอร์ ในปี 2561 ประกอบด้วย

1. การเกิดขึ้นของดาต้า เซ็นเตอร์ เจนเนอเรชั่น 4 (Gen4 Data Center) :
องค์กรและผู้ประกอบการต่างๆ จะพึ่งพาเทคโนโลยีโครงข่ายรอบข้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่ใช้ตู้ไอทีแบบดั้งเดิมหรือมีศูนย์ข้อมูลขนาดเล็กขนาด 1,500 ตารางฟุต ดาต้าเซ็นเตอร์ เจนฯ 4 จึงเกิดขึ้นเพื่อผสมผสานเชื่อมต่อเทคโนโลยีโครงข่ายรอบข้างให้เข้ากับส่วนกลางหลักได้อย่างลงตัว เป็นการยกระดับและสร้างสรรค์ระบบโครงสร้างใหม่ๆ ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครือข่ายที่กระจายข้อมูลอย่างเดียว

สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือสถาปัตยกรรมของระบบที่ก้าวล้ำ เป็นโมดุลที่มีสมรรถภาพในการทำงานแบบเรียลไทม์ หลากหลายรูปแบบ และประหยัดคุ้มทุนที่เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงานความร้อนให้ดีที่สุด รวมทั้ง อุปกรณ์ไฟฟ้าความหนาแน่นสูง แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และยูนิตกระจายกำลังไฟฟ้าขั้นสูง นอกจากนี้ ยังมีระบบเทคโนโลยีการตรวจสอบและการบริหารระบบขั้นสูง ที่จะช่วยจัดสรรโหนดไอทีแบบกระจายที่มีอยู่นับร้อยหรือหลายพันชุดให้ทำงานอย่างผสมผสานกัน ลดอัตราการสะดุดของการทำงาน ลดต้นทุน เพิ่มอัตราการใช้งาน ลดความซับซ้อน และช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ทุกที่ทุกเวลาตามต้องการ

2. ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ สู่ โคโล (collocation) :
การยอมรับระบบคลาวด์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในหลายๆ กรณีผู้ให้บริการระบบคลาวด์ไม่สามารถตอบสนองได้ทันกับความต้องการของอุตสาหกรรม ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการควรมุ่งให้ความสำคัญกับการให้บริการและความสำคัญอื่นๆ มากกว่าที่จะมาสร้างศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ใหม่ น่าจะหันไปหาผู้ให้บริการโคโลเคชั่น (collocation) เพื่อรองรับความต้องการด้านสมรรถนะทางเทคโนโลยีขององค์กร

จากการที่โคโลเคชั่น เน้นด้านประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ด้วยค่าใช้จ่ายที่ลดลง อีกทั้งมีโครงข่ายโคโลเคชั่นกระจายอยู่กว้างขวาง จึงช่วยให้ผู้ให้บริการระบบคลาวด์สามารถเฟ้นหาพันธมิตรโคโลเคชั่นเข้ามาเป็นโครงข่ายรอบข้างได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคปลายทาง นอกจากนี้ โคโลเคชั่น ยังทำหน้าที่รองรับงานในส่วนดาต้า เซ็นเตอร์ได้ตามที่ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ต้องการ หรือสามารถทำหน้าที่เป็นโครงสร้างหนึ่งของระบบปฏิบัติงาน

3. การปรับระบบดาต้าเซ็นเตอร์ระดับกลาง:
เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าตลาดดาต้าเซ็นเตอร์มีอัตราเติบโตสูงสุดในพื้นที่ที่มีความต้องการผู้ให้บริการระบบคลาวด์หรือผู้ให้บริการโคโลเคชั่น และโครงข่ายรอบข้าง ในขณะนี้ จากการเติบโตของเครือข่ายโคโลเคชั่นและระบบคลาวด์ จึงเป็นโอกาสให้ผู้ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมๆ ทบทวนและปรับระบบ ทั้งในส่วนอุปกรณ์และทรัพยากรที่สามารถคงความสำคัญต่อการดำเนินงานขององค์กรไว้

hyperconverged

สำหรับองค์กรที่มีดาต้า เซ็นเตอร์หลายๆ แห่ง ยังคงเดินหน้าเพื่อจัดระบบและรวบรวมทรัพยากรด้านไอทีภายในของตนเข้าด้วยกัน หรืออาจปรับเปลี่ยนไปเก็บไว้กับในระบบคลาวด์หรือโคโลเคชั่น ในขณะเดียวกันก็ลดขนาดและเพิ่มประโยชน์ของโครงสร้างเพื่อการใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ทั้งระบบและอุปกรณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเล็กลง แต่เปี่ยมประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยมากขึ้น มีความพร้อมใช้งานสูงรองรับกับลักษณะภารกิจที่สำคัญของข้อมูลที่องค์กรต้องการปกป้อง

4. การมาถึงของยุคข้อมูลที่จะมีสูงมากขึ้น:
ในรอบทศวรรษ ชุมชนดาต้าเซ็นเตอร์ ได้คาดการณ์ว่าความหนาแน่นของแร็คจะเพิ่มขึ้นจนเต็มอิ่ม ถึงแม้ว่า ความหนาแน่นต่ำกว่า 10 กิโลวัตต์ต่อแร็คยังคงเป็นบรรทัดฐาน แต่การใช้งานของแร็คขนาด 15 กิโลวัตต์จะกลายเป็นขนาดที่ไม่เหมาะในระบบที่ต้องการอุปกรณ์ที่มีการใช้งานสูง และบางส่วนต้องการแร็คที่มีขนาดถึง 25 กิโลวัตต์

ทำไมต้องตอนนี้? การเข้ามาและการยอมรับอย่างกว้างขวางของระบบคอมพิวติ้ง hyper-converged จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก แน่นอน โคโลเคชั่น จึงเป็นตัวเลือกชั้นยอดของระบบ ประกอบกับการใช้แร็คที่มีความหนาแน่นสูงอาจหมายถึงรายได้ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีประหยัดพลังงานขั้นสูงในเซิร์ฟเวอร์และชิป สามารถจะจัดการปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอัดแน่นของข้อมูลสูงที่เพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของข้อมูลสูงๆ ที่มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสามารถเปลี่ยนปัจจัยพื้นฐานของบทบาทดาต้า เซ็นเตอร์ จากการเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไปเป็นสิ่งที่องค์กรใช้ช่วยในการจัดการการทำงานภายใต้ความหนาแน่นข้อมูลสูงที่เกิดขึ้น ยุคข้อมูลหนาแน่นสูงกำลังจะเกิดขึ้น แต่จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงหลังของในปี 2561

5. โลกตอบสนองต่อ Edge Network รอบข้าง:
ในยุคที่องค์กรจำนวนมากขึ้น ได้อาศัยโครงข่ายรอบข้างมาใช้เป็นส่วนหนึ่งการดำเนินธุรกิจ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินปัจจัยสำคัญรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยและความเป็นเจ้าของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ โดยรวมทั้งประเด็นของการออกแบบทางกายภาพและเครื่องจักรกล การก่อสร้าง และความปลอดภัยของอุปกรณ์ รวมถึงคำถามที่ซับซ้อนเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และการเป็นเจ้าของข้อมูล หัวข้อเหล่านี้ กำลังเป็นจุดท้าทายของรัฐบาลและหน่วยงานด้านการกำกับดูแลทั่วโลก ที่จะพิจารณาและดำเนินการ

การส่งข้อมูลจากทั่วโลกไปยังระบบคลาวด์หรือระบบอุปกรณ์หลัก เพื่อการวิเคราะห์แล้วส่งกลับมายังจุดกำเนิดช้าเกินไปและยุ่งยากก่อให้เกิดโครงข่ายรอบข้างมากขึ้น โดยทำหน้าที่เป็นดาต้าครัสเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ทันที โครงข่ายรอบข้างจะตั้งอยู่ตามเมือง รัฐ หรือประเทศต่างๆ ที่อยู่นอกเขตที่ธุรกิจตั้งอยู่ แต่ใครเป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้น และพวกเขาได้รับอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง การถกเถียงในประเด็นเหล่านี้ยังดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง แต่ในปี 2561 จะเห็นการอภิปรายก้าวไปสู่ทางออกเชิงปฏิบัติและคำตอบได้