หน้าแรก Applications 4 ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ Site Reliability Engineering (SRE)

4 ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับ Site Reliability Engineering (SRE)

แบ่งปัน

เมื่อสองปีที่ผ่านมานั้น กูเกิ้ลได้ออกหนังสือชื่อ “Site Reliability Engineering”  ที่อธิบายถึงแนวคิดใหม่ในการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที ซึ่งเป็นครั้งแรกที่คำนี้ หรือย่อกันว่า SRE เป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง และแนวทางการจัดการงานที่ทำให้เหมือนการแก้ปัญหาในซอฟต์แวร์นี้ถูกใจชาว DevOps และ Agile เป็นอย่างมาก

ทั้งนี้เพราะแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้ประสานงานและทำงานได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น อย่างที่ Rob Hirschfelf ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ RackN รวมทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์และโครงสร้างพื้นฐานมากว่า 15 ปี ได้กล่าวเสวนาในหัวข้อ DevOps vs SRE vs Cloud Native ที่งาน Interop ITX 2018 ที่ผ่านมา ซึ่งสามารถสรุปแนวคิดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ SRE ที่แบ่งเป็น 4 หัวข้อย่อยดังต่อไปนี้

1. SRE คือชื่อหน้าที่งานจริงที่ริเริ่มมาจากกูเกิ้ล

เป็นคำที่ใช้แทนหน้าที่ของกลุ่มพนักงานปฏิบัติการเชิงวิศวกรรม ที่เน้นการขยายขอบเขตหน้าที่ไปยังด้านปฏิบัติการด้วยแทนที่จะอยู่แต่กับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยจะต้องออกไปคุยกับผู้พัฒนาแอพ รวมทั้งการวิเคราะห์งานของผู้พัฒนาหรือแม้แต่การจัดการด้านประสิทธิภาพ โดยรวมก็คือการคุมแอพพลิเคชั่นตลอดวงจรการพัฒนานั่นเอง

2. SRE ช่วยเติมเต็มแนวทางการปฏิบัติงานแบบ DevOps และสถาปัตยกรรมแบบ Cloud-Native

เพราะทั้ง DevOps, SRE, และ Cloud-Native ต่างใช้หลักการเดียวกันในการปฏิบัติ แค่มีขอบข่ายงานที่ต่างกันเท่านั้นเอง อย่าง DevOps นั้นเป็นเรื่องของตัวผู้ปฏิบัติ, วัฒนธรรม, และกระบวนการทำงาน ขณะที่ SRE ถือเป็น “หน้าที่” การทำงาน และ Cloud-Native เป็น “รูปแบบเชิงสถาปัตยกรรม” ที่อธิบายวิธีการพัฒนาแอพให้มีความยั่งยืนและทำงานเข้ากับคลาวด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งพอเอาทั้งสามอย่างนั้นมาผสานเข้าด้วยกันก็จะได้เป็นรูปแบบการทำงานเชิงพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับโลกยุคใหม่อย่างแท้จริง

3. SRE ให้เสถียรภาพและประสิทธิภาพที่ดีกว่า

เพราะ SRE ทำให้บริษัทให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานอย่างยั่งยืนเป็นที่ตั้ง โดยรักษาเสถียรภาพและประสิทธิภาพของไซต์งานตัวเองเป็นสำคัญ ทำให้ไม่มานั่งให้ความสำคัญในการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่อาจกระทบกับประสบการณ์ใช้งานของลูกค้า เช่น สูญเสียความเสถียร หรือทำให้ระบบช้าลงในที่สุด นั่นคือ SRE ทำให้บริษัทให้ความสำคัญกับนักพัฒนาได้พอๆ และสมดุลกันกับพนักงานฝ่ายปฏิบัติการ

4. SRE ทำให้บริษัทต้องตั้งเป้าหมายในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

เอาไว้ลดการทำงานแบบแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอยู่ร่ำไปได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อบริษัทเอาความยั่งยืนเป็นที่ตั้ง การแก้ปัญหาจึงต้องมองเป้าหมายในการแก้ไขและป้องกันในระยะยาวเสมอ ซึ่งทำให้ทุกคนมีกำลังใจในการทำงานและแก้ไขปัญหา เพราะรู้ว่ามันจะจบ และจะเจริญขึ้นในระยะยาวนั่นเอง

ที่มา : Networkcomputing