หน้าแรก Internet of Things RICOH พัฒนารูปแบบการสอนแนวใหม่ ดึงเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม

RICOH พัฒนารูปแบบการสอนแนวใหม่ ดึงเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม

แบ่งปัน
Interactive Whiteboard

อาชีพครูนั้นไม่ได้อยู่แค่การสอน ไม่ใช่เดินเข้าห้องไปพูดๆๆ แล้วจบ คนที่เป็นครูจริงจะต้องเหนื่อยตั้งแต่การเตรียมการสอน, เอกสาร, สื่อการสอน, หรือแม้แต่ศึกษาอัพเดตข้อมูลที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา ยังไม่รวมถึงการประเมินผล, ชี้แนะแนวทาง, ติดตามความคืบหน้าของนักเรียน หรือแม้แต่เรื่องของการจัดการพฤติกรรมของนักเรียน และการจัดบรรยากาศในห้องเรียนเพื่อดึงศักยภาพของผู้เรียนได้มากที่สุด

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในหน้าที่ของครูคือ การปลุกแรงบันดาลใจ สร้างความต้องการของนักเรียนให้ต้องการเรียนรู้อย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบันนักเรียนต่างคลุกคลีกับเทคโนโลยีใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฮเทคใหม่ล่าสุด ดังนั้นครูจึงต้องเอาใจใส่กับเทคโนโลยีด้านการเรียนการสอน ที่นอกจากจะช่วยในงานสอนหลักแล้ว ยังช่วยแบ่งเบาภาระงานประจำอื่นๆ ที่สำคัญไม่แพ้กันด้วย

โดยเทคโนโลยีที่ได้รับการจับตาในยุคนี้ได้แก่ Large Format Touchscreen (LFT) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Interactive Whiteboard (IWB) หรือไวท์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ ที่เริ่มแพร่หลายในโรงเรียนระดับประถมทั่วออสเตรเลีย จนตอนนี้มีการนำมาใช้ในระดับมัธยมบ้างแล้ว

ซึ่งทาง RICOH ได้สำรวจการใช้เทคโนโลยี LFT ดังกล่าวในโรงเรียนมัธยม 12 แห่งในเขตออสเตรเลียตอนใต้ อันประกอบด้วยอาจารย์ 30 คน และเด็กนักเรียนกว่า 269 คน พบว่าครูทั้งหลายเลือกใช้ LFT เนื่องจากทำให้สอนได้ง่าย สะดวกกว่า และทำให้ดูน่าสนใจได้มากกว่าเดิม

โดย RICOH ได้สรุปข้อดีของ LFT ไว้ดังต่อไปนี้

1. ครูสามารถเตรียมการสอนได้หลากหลายรูปแบบบน LFT เนื่องจากสามารถดัดแปลงการนำเสนอได้ตามต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ

2. ฟีเจอร์ที่สามารถเขียนหรือโยงอ้างอิงจากหน้าจอได้ พร้อมบันทึกหรือพิมพ์เอกสารการสอน รวมไปถึงการเข้าอินเทอร์เน็ตและแหล่งข้อมูลแบบอินเทอร์แอคทีฟไปได้พร้อมกันนั้นช่วยสร้างความน่าสนใจและอำนวยความสะดวกในการสอนเป็นอย่างมาก

3. เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ครูพัฒนาโครงสร้างของแผนการสอน และนำเอาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้ร่วมกันได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ที่สามารถเตรียมคอร์สสอนล่วงหน้าสำหรับให้ครูนำมารีวิวทีหลังได้ด้วย

4. มีฟีเจอร์จำเพาะของ LFT ที่ช่วยกระตุ้นกิจกรรมในห้องเรียนได้ อย่างเช่นการทำบทสนทนาร่วมกับนักเรียนและครู ไปจนถึงการเปิดให้นักเรียนเข้ามามีกิจกรรมกับตัวหน้าจอ LFT ด้วยตัวเอง

5. การใช้ LFT ทำให้ครูยังสามารถสบสายตากับนักเรียนทั้งชั้นได้ เนื่องจากไม่ต้องคอยหันไปเขียนกระดานดำแบบเก่าเป็นเวลานาน รวมไปถึงถ้าใช้ร่วมกับแท็บเล็ตที่เชื่อมต่อกับ LFT ก็สามารถเดินสอนไปทั่วห้องได้โดยที่ควบคุมการแสดงผลที่หน้าจอหลักได้ควบคู่กันไป

6. จากการศึกษาพบว่า LFT ช่วยยกระดับการเข้าถึงนักเรียนได้ จากการช่วยกระตุ้นความสนใจ และการมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอน แถมยังช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักเรียนที่สมรรถภาพในการเรียนรู้น้อยกว่าปกติ หรือทุพพลาภาพให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นได้ด้วย โดยเฉพาะการสอนเกี่ยวกับทฤษฎีที่ปกติทำให้เห็นภาพจริงได้ยาก เป็นต้น

ที่มา : https://medium.com/ricohthailand