หน้าแรก Cloud ตามไปดูการอัปเดตครั้งใหญ่ 8 ประการของไมโครซอฟท์ ในงาน Microsoft Ignite 2020

ตามไปดูการอัปเดตครั้งใหญ่ 8 ประการของไมโครซอฟท์ ในงาน Microsoft Ignite 2020

แบ่งปัน

หลังจากที่ผ่านมาไมโครซอฟท์สามารถส่งแอพประชุมออนไลน์อย่าง Teams เข้ามาครองตลาดในฐานะทูลจำเป็นสำหรับหลายธุรกิจอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้ไมโครซอฟท์หันมาทุ่มพัฒนาฟีเจอร์และความสามารถใหม่สำหรับแพลตฟอร์มนี้อย่างรวดเร็ว

ซึ่งในงานประชุมแบบเวอร์ช่วล Ignite 2020 ที่เพิ่งเริ่มไปเมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมานั้น ไมโครซอฟท์ก็ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาปรับปรุง Teams เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ฟีเจอร์ที่ผู้ใช้สัมผัสโดยตรงอย่างการทำพื้นหลังแบบ Together Mode

ไปจนถึงความสามารถในการจัดการ Teams ที่สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที และในงาน Ignite ที่ไมโครซอฟท์จัดขึ้นเพื่อรวมตัวผู้ที่ทำงานด้านไอทีและนักพัฒนาทั้งหลายนี้ก็มีการกล่าวถึงระบบความปลอดภัยอย่าง Microsoft 365 ด้วย

โดยยักษ์ใหญ่ด้านไอทีรายนี้ก็ปล่อยความสามารถใหม่ๆ ออกมาใน Microsoft Defender และ Compliance Manager ด้วยเช่นกัน จึงสรุปการอัปเดตครั้งใหญ่ที่น่าสนใจทั้งใน Teams และด้านระบบความปลอดภัยจากงาน Microsoft Ignite 2020 ได้ดังนี้

1. โหมดเอาภาพทุกคนมาอยู่บนพื้นหลังร่วมกัน
ฟีเจอร์ใหม่สำหรับ Teams ที่จะปล่อยออกมานี้มีฉากแบบใหม่สำหรับ Together Mode ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคมมาด้วย ให้ผู้ร่วมประชุมผ่านวิดีโอมาอยู่ในพื้นหลังแบบเวอร์ช่วลร่วมกัน

2. เลย์เอาต์ที่ปรับแต่งเองได้
ไมโครซอฟท์พยายามเปิดให้ผู้ใช้ควบคุมการแสดงผลของผู้ร่วมประชุมคนอื่น และคอนเท็นต์ที่เอามาแชร์ระหว่างกันได้มากขึ้น เป็นที่มาของฟีเจอร์ใหม่อย่าง Dynamic View ที่เปิดตัวเมื่อฤดูร้อนที่ผ่านมา และล่าสุด Custom Layouts ที่ให้ผู้นำเสนอเลือกรูปแบบการจัดวางคอนเท็นต์ได้ตามต้องการด้วย

3. ด้านความปลอดภัยและการสอดคล้องกับมาตรฐานสำหรับ Teams
ไมโครซอฟท์ได้เพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัย และการสอดคล้องตามข้อกำหนดบนแอพประชุมนี้ด้วย โดยเฉพาะ Customer Key ที่เปิดให้ลูกค้าใช้คีย์ของตัวเองมาเข้ารหัสข้อมูลเพิ่มอีกชั้นหนึ่ง

4. ฟีเจอร์การโทรหากัน
สำหรับปลายปีนี้จะมี “หน้าต่างเดียวกันที่แสดงข้อมูลอย่างครอบคลุม” ทั้งรายชื่อผู้ติดต่อ ประวัติการโทร และวอยซ์เมล์แสดงร่วมกัน ทำให้ง่ายต่อการกดโทรหรือวางสายได้ในคลิกเดียว

5. ด้านการจัดการของ Teams
Teams Admin Center จะมีการ “พัฒนาประสบการณ์ใช้งานพอทัล” สำหรับจัดการการประชุมและอุปกรณ์ที่ใช้ติดต่อกัน เช่นโทรศัพท์และหน้าจอ

6. อัปเดต Microsoft Defender
เป็นการผสานโซลูชั่นความปลอดภัยจากทั้ง Microsoft 365 และ Azure เข้ามาอยู่ใน Microsoft Defender ขณะที่เปลี่ยนชื่อ Microsoft Threat Protection เป็น Microsoft 365 Defender

7. อัปเดต Compliance Manager
มาพร้อมกับ “ฐานข้อมูลที่หลากหลายมาก ครอบคลุมกฎระเบียบมาตรฐานต่างๆ มากขึ้น”

8. อัปเดต Microsoft Endpoint Manager
ตั้งแต่โซลูชั่นการเข้าถึงจากระยะไกลผ่าน Microsoft Tunnel ที่เปิดให้อุปกรณ์พกพาเชื่อมต่อกับแอพและทรัพยากรต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในบริษัท โดยรองรับทั้ง VPN และ Split Tunneling

ที่มา : CRN