หน้าแรก Artificial Intelligence หัวเว่ย ก้าวล้ำนำเทคโนโลยีในยุคสมัยแห่งระบบอัจฉริยะ : คว้าชัยด้วยระบบนิเวศเหนือชั้น

หัวเว่ย ก้าวล้ำนำเทคโนโลยีในยุคสมัยแห่งระบบอัจฉริยะ : คว้าชัยด้วยระบบนิเวศเหนือชั้น

แบ่งปัน

เทคโนโลยี AI ประสานทุกองค์ประกอบเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และในขณะนี้ หัวเว่ยกำลังสร้างระบบนิเวศเปี่ยมนวัตกรรมที่มาพร้อมความยั่งยืนเพื่อแบ่งปันความสำเร็จร่วมกับพันธมิตรผ่านโครงการ Ascend Partner

ศาสตร์แห่งปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence (AI) ไม่ได้เป็นเพียงกลุ่มคำยอดนิยมอีกต่อไป แต่มันกำลังกลายเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามัญชนิดใหม่ มันถือเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง เช่นเดียวกับการปฏิวัติเชิงสังคมและเศรษฐกิจ หัวเว่ยไม่เคยหยุดยั้งการลงทุนในสายงานด้านการวิจัยและพัฒนาศักยภาพดังกล่าวเพื่อเกื้อหนุนความร่วมมือใหม่ๆ ทั้งสำหรับ 5G, cloud, edge และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยสร้างรูปรอยใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น บริการด้านการเงิน การขนส่ง การจ่ายกระแสไฟฟ้า การผลิต และอีกมากมาย

เทคโนโลยีต่างๆ ดังกล่าวมักต้องอาศัยการสอดประสานกันเพื่อบรรลุผลลัพธ์ที่เปี่ยมประสิทธิผล ในการนั้น หัวเว่ยได้ทุ่มเทความอุตสาหะทั้งหมดในการสร้างระบบนิเวศซึ่งรวมกลุ่มการศึกษาวิจัย ภาคอุตสาหกรรม และชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา AI ที่ล้วนช่วยให้เทคโนโลยีและภาคส่วนต่างๆ ดังกล่าวก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปพร้อมกัน ควบคู่ไปกับวิธีการทำงานแบบเปิด การเปิดกว้างทางฮาร์ดแวร์ เราได้ใช้ซอฟท์แวร์ระบบเปิด (open-source) และออกไล่ตามความสำเร็จร่วมกันกับพันธมิตรของเรา

การประสานพลังคือพื้นฐานของความสำเร็จทางเทคโนโลยี

อันที่จริง หัวเว่ยได้นำหน่วยประมวลผล AI ของซีรี่ส์ Ascend มาใช้ในการสั่งการทำงานของ Atlas AI Computing Platform ซึ่งเอื้อให้เกิดโซลูชั่นส์ด้านโครงสร้างพื้นฐานของ AI ในทุกด้านที่รองรับการตั้งค่าได้ทั้ง Device-Edge-Cloud

โครงการ Huawei Asia Pacific Partner Ascend จะเป็นหนึ่งในประตูที่เปิดกว้างให้มืออาชีพและบริษัทด้าน AI เข้าถึงเรา ตลอดจนได้เรียนรู้การปรับใช้ และต่อยอดการใช้งานผลิตภัณฑ์ Ascend AI

นอกจากนี้ โครงการนี้จะเป็นหนึ่งในช่องทางที่ช่วยสนับสนุนโครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆ รวมถึงสถาบันการเรียนรู้ระดับสูงเพื่อการพัฒนามืออาชีพด้าน AI โครงการที่ครอบคลุมการใช้งานอย่างกว้างขวางในหลายด้าน โครงการจะครอบคลุมการใช้งาน 4 ด้านหลักคือ การพัฒนา AI การให้ความช่วยเหลือ การถ่ายโอนความรู้ และการออกตลาดและทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ โดยเป้าประสงค์เชิงคาดการณ์ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

1. โครงการ Independent Software Vendor (ISV) AI Collaboration

ภายใต้โครงการย่อยนี้ ทั้ง ISV นักนวัตกรรมและผู้ประกอบการจะสามารถเข้าถึงพอร์ทัลออนไลน์ ระบบพันธมิตรสามขั้นจะจัดกลุ่มคู่ค้าโดยแบ่งเป็น “สมาชิก” (“Members”) “ผู้ผ่านการรับรอง” (“Certified”) หรือ “ผู้ได้รับการคัดสรร” (“Preferred”) พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับแต่ละขั้น โดยสิทธิประโยชน์ดังกล่าวรวมถึง NRE หรือการจัดหาทุน Non-Recurring Engineering บัตรเข้าสอบสำหรับ HCIA-AI (การสอบใบรับรองทักษะเฉพาะด้าน AI ของหัวเว่ย) การสนับสนุนการออกตลาด ตลอดจนทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ต่างๆ

2. โครงการ Institute of Higher Learning (IHL) AI Talent Cultivation

หัวเว่ยจะมอบความช่วยเหลือที่สอดคล้องกับระดับขั้นทั้งสาม ตั้งแต่ “การประสานหลักสูตร” “นวัตกรรมเทคโนโลยี” ไปจนถึง “ผู้ร่วมทุนทางธุรกิจ” โครงการนี้มุ่งช่วย IHL ในการสร้างสาขาต่างๆ ให้แก่งาน AI ตลอดจนผลิตมืออาชีพด้าน AI และยกระดับการวิจัยเชิงวิชาการและเชิงวิทยาศาสตร์ในสายงาน AI โดยอาศัยศักยภาพทางเทคโนโลยี Atlas AI อย่างเต็มรูปแบบ (full-stack) ของหัวเว่ย

“ในยุคสมัยใหม่แห่ง AI การร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์และหัวเว่ยในการพัฒนางานวิจัยและมืออาชีพด้าน AI จะสร้างผลกระทบใหญ่หลวงให้แก่สังคมของเรา” หวง จื่อยง ผู้ช่วยผู้อำนวยการ Business Analytics Centre ของทางมหาวิทยาลัยฯ กล่าวเสริม

3. โครงการพัฒนาอุตสาหกรรม AI ของรัฐบาล

หัวเว่ยจะให้การสนับสนุนด้านเทคนิคเพื่อส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกด้านนวัตกรรม AI ของชาติโดยอาศัยเทคโนโลยี Ascend ซึ่งหัวเว่ยจะร่วมแบ่งปันประสบการณ์ทางด้านข้อพึงปฏิบัติเชิงอุตสาหกรรม และช่วยเหลือภาครัฐทางด้านงานนโยบายต่างๆ ซึ่งรวมถึงการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม AI แห่งชาติ

“กลยุทธ์ด้าน AI ระดับชาติของอินโดนีเซียซึ่งผลักดันโดย BPPT ถือเป็นหลักชัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างชาติที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม สิ่งนี้เป็นวิสัยทัศน์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของโรดแมปพัฒนาประเทศ Indonesia 2045 ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า AI ที่มีอยู่ทุกหนแห่งจะช่วยนำพาประเทศชาติไปบนหนทางสู่การบรรลุเป้าหมายในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ดร. ฮัมมาน ริซา Head of Agency for the Assessment and Application of Technology (BPPT) กล่าว

ด้วยกลยุทธ์เชิงนวัตกรรมเหล่านี้ หัวเว่ยจึงเดินหน้ามุ่งสร้าง Ascend AI Ecosystem พร้อมแบ่งปันความสำเร็จร่วมกัน ทางบริษัทจะช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ในทุกๆ ประเทศในเอเชียแปซิฟิกให้บรรลุเป้าประสงค์ต่อเนื่องผ่านโครงการที่มีโครงสร้างและมีระบบการทำงาน เช่น

• การปรับใช้และการใช้งานผลิตภัณฑ์ Ascend AI
• การต่อยอดระบบนิเวศ ISV และ start-up
• การสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและพัฒนาในท้องถิ่นและการพัฒนามืออาชีพด้าน AI
• ความสามารถเชิงความรู้และทักษะในการเขียนโปรแกรมและทดสอบโปรแกรมสำหรับผลิตภัณฑ์ Ascend AI
• การเติบโตของ AI Ecosystem ในตลาดซัพพลายเออร์หลายๆ แห่งที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI

พันธมิตรแห่ง APAC ต่างได้ประโยชน์จาก AI

กลุ่มสมาชิกในภูมิภาค APAC ต่างได้รับโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาลผ่านโครงการต่างๆ และระบบนิเวศของเรา การพัฒนา AI ในภูมิภาคต่างๆ การปันผลทางประชากร และนโยบายสนับสนุนของประเทศต่างๆ ได้สร้างโอกาสทางการค้าขายให้แก่การประมวลผลด้วย AI

“ในการประสานความร่วมมือโดยตั้งอยู่บนระบบนิเวศ AI หัวเว่ยมุ่งเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานเป็นสำคัญ ทางเราร่วมงานกับชุมชนวิชาการและอุตสาหกรรมต่างๆ ในการผลักดันการพัฒนา AI ซึ่งช่วยยกระดับได้โดยรวมทั้งเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่างๆ ที่สุดแล้ว ทางเราหวังที่จะลดช่องว่างและบรรลุผลสำเร็จร่วมกันให้ได้โดยเร็วที่สุด” ดาเนียล โจว ประธาน Huawei Cloud & AI Business Group แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวเสริม “ด้วยการผลักดันแบบควบรวม Connectivity + Computing + Cloud ทางเราจึงสามารถสร้างแพลตฟอร์มอัจฉริยะอัตโนมัติที่ทำงานด้วยฐานข้อมูล เพื่อให้พร้อมรองรับเนื้อหา แอปพลิเคชัน และอัลกอริธึมของพันธมิตร”

“ด้วยความร่วมมือร่วมใจ เราจะร่วมกันสร้างระบบนิเวศที่เติบโตและก้าวล้ำนำหน้าในโลกใบที่เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ด้วยระบบอัจฉริยะ” ดาเนียล กล่าวเพิ่มเติม ทั้งนี้ เหนืออื่นใด หัวเว่ยจะสร้างโลกที่เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์ด้วยระบบอัจฉริยะ และโปรแกรม Asia Pacific Ascend Partner ก็คือเสาหลักสู่การบรรลุซึ่งเป้าประสงค์นี้

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเข้าชม https://e.huawei.com/sg/products/cloud-computing-dc/atlas.