หน้าแรก Vendors Fluke Networks ข้อมูลน่ารู้ : รับมือกับภัยพิบัติเกี่ยวกับระบบสื่อสารได้อย่างปลอดภัย

ข้อมูลน่ารู้ : รับมือกับภัยพิบัติเกี่ยวกับระบบสื่อสารได้อย่างปลอดภัย

แบ่งปัน

ในยุคดิจิทัลนี้ที่ทุกอย่างขึ้นกับการเข้าถึงข้อมูล ทำให้การกู้คืนการสื่อสารให้กลับมาทำงานได้ตามปกตินั้นถือว่ามีความสำคัญอันดับต้นๆ ไม่ใช่แค่เพราะคนทั่วไปจำเป็นต้องได้รับข่าวสารโดยเฉพาะในเวลาฉุกเฉินเท่านั้น แต่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่เข้าดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ไปจนถึงเจ้าหน้าที่กู้ภัยและทางการที่ต้องประสานงานเพื่อเร่งหาตำแหน่งผู้ประสบภัยที่อาจขยับตัวไม่ได้ หรืออาจทำให้งานล่าช้าจนเกิดความเสียหายหนักได้ถ้าปล่อยให้เครือข่ายล่มต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ใช่แค่เครือข่ายสื่อสารเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ เพราะนอกจากระบบโครงข่ายสื่อสารที่ออกแบบมาเพื่อส่งต่อข้อมูลแล้ว ก็ต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งกระแสไฟฟ้าควบคู่กันด้วย

กระแสไฟไหลไปได้ทุกที่ทุกตำแหน่ง

เมื่อกระแส AC ถูกจ่ายออกมาในช่วงแรงส่ง 12,000 ถึง 14,000 เพื่อส่งต่อกระแสออกมานอกโรงผลิตไฟฟ้านั้น ก็จะเริ่มมีการใช้โครงข่ายร่วมกับเครือข่ายโทรคมนาคมด้วย และถึงแม้จะถูกลดทอนต่อๆ กันมาจนมาอยู่ที่ระดับ 120 ถึง 240 โวลต์ที่หน้าบ้านหรืออาคารต่างๆ ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สร้างอันตรายต่อชีวิตได้ และไม่เพียงแค่กระแส AC เท่านั้น อย่าลืมว่ายังมีไฟฟ้ากระแสตรง DC ตามโรงงานอุตสาหกรรมที่วิ่งอยู่ด้วยกำลัง 44 และ 57 โวลต์บนสายแลนแบบ Power over Ethernet นอกจากนี้เรายังพบกระแส DC ศักย์สูงมากถึง 1500 โวลต์อยู่ตามรางรถไฟฟ้าและมอเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้กับลิฟท์หรือเครื่องจักรต่างๆ ด้วย

ทุกครั้งที่ระบบจ่ายไฟเสียหาย โครงสร้างอาคารที่เป็นโลหะไม่ว่าชนิดใดก็ตามก็สามารถเป็นตัวนำไฟฟ้าได้ถ้าสัมผัสกับไฟฟ้าแรงสูง ไม่ว่าจะเป็นโครงเหล็ก ราวจับ เคสหุ้มโลหะ หรือแม้แต่อุปกรณ์พกพาและเครื่องใช้ตามบ้านที่มีองค์ประกอบของโลหะ อย่างเวลาน้ำท่วมมิดรูปปลั๊กหรือสายไฟก็อาจทำให้ไฟรั่วจนเสี่ยงที่จะถึงแก่ชีวิตได้

ช่างเทคนิคที่เข้าไปทำหน้าที่กู้ระบบสื่อสาร ทั้งในและใกล้กับบริเวณที่เกิดภัยพิบัตินั้นจึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงอันตรายของไฟรั่ว และรู้วิธีที่จะหลีกเลี่ยง ซึ่งเราจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการนี้

เลือกเครื่องมือให้เหมาะกับงาน

ในพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัตินั้น ยากนักที่จะรู้ว่าวัคถุหรือพื้นผิวไหนไฟรั่วออกมา แล้วรั่วออกมากี่โวลต์ อ้างอิงตาม OSHA และมาตรฐานความปลอดภัยอื่นที่เกี่ยวข้องนั้น อุปกรณ์ตรวจจับกระแสไฟจำเป็นต้องรองรับศักย์ไฟฟ้าที่สูงมากพอที่จะรองรับกระแสที่อาจตรวจวัดได้ พร้อมทั้งมีช่วงเผื่อเพื่อความปลอดภัยมากเพียงพอด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าอาจต้องตรวจวัดกระแสรั่วที่สูงมากถึง 15,000 โวลต์แล้ว อุปกรณ์ตรวจจับก็ควรอยู่ในระดับที่อย่างน้อยประมาณ 20,000 โวลต์ (VAC) เป็นต้น

ฉนวนที่ตัดขาดกระแสระหว่างตัวบุคคลที่ตรวจวัดกับโครงสร้างโลหะที่ทำการตรวจทดสอบอยู่ก็ถือว่าสำคัญมาก เพราะไฟฟ้าแรงสูงอาจวิ่งข้ามอากาศหรือฉนวนได้ในระยะหนึ่ง โดยตามที่ทาง NFPA กำหนดนั้น สำหรับผู้ที่ผ่านการรับรองในการตรวจกระแสไฟ จะต้องรักษาระยะห่างไว้ที่ 7 นิ้วจากกระแสไฟฟ้าที่มีความต่างศักย์ในช่วง 750 ถึง 15,000 โวลต์ นอกจากนี้การออกแบบเครื่องมือตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหรือวัสดุที่เลือกใช้ต่างก็มีส่วนสำคัญทั้งสิ้น โดยรูปทรงกลมจะช่วยลดการสะสมศักย์ไฟฟ้าได้ และการใช้วัสดุชิ้นเดียวกันทั้งอุปกรณ์จะปลอดภัยกว่ามากเนื่องจากการเอาหลายชิ้นย่อยมาเชื่อมหรือติดกาวผสานกันอาจทำให้ความเป็นฉนวนไม่ต่อเนื่อง ทำให้ไฟฟ้าแรงสูงเกินช็อตประกายไฟได้ เครื่องมือตรวจสอบลักษณะนี้ก็ควรใช้วัสดุที่เป็นโพลิเมอร์ที่ให้การเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ยอดเยี่ยม แข็งแรงทนทาน ทนต่อความชื้นได้ เช่น Acrylonitrile Butadiene Styrene (ABS) และจะดีขึ้นไปอีกถ้าตัวจับเครื่องตรวจกระแสไฟมีกลไกป้องกันการวาบไฟ (Flashover) เพื่อป้องกันผิวไหม้หรือบาดเจ็บได้

กลไกการตรวจจับกระแสไฟฟ้าให้แม่นยำก็ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยทั่วไปเครื่องตรวจจับกระแสไฟแบ่งเป็นแบบสัมผัสโดยตรงกับแบบเหนี่ยวนำ โดยอุปกรณ์แบบสัมผัสโดยตรง (Direct Contact) จะต้องใช้การสัมผัสกับวัตถุจริงๆ ขณะที่แบบเหนี่ยวนำจะเป็นการตรวจจับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่โดยรอบ ซึ่งเครื่องตรวจแบบเหนี่ยวนำนี้นอกจากจะไม่สามารถตรวจจับกระแสตรงแบบ DC ได้แล้ว การที่ไม่ได้สัมผัสตรงๆ ก็ทำให้แยกระหว่างวัตถุที่มีกระแสไหลผ่านกับที่ไม่มีกระแสไหลได้ยากด้วย ตัวอย่างเช่น เวลาตรวจสอบในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากพายุและบริเวณสายไฟที่ขาดห้อยด้วยเครื่องแบบเหนี่ยวนำ อาจให้ผลเหมือนทุกจุดมีกระแสไหลผ่านเหมือนกันหมด นอกจากนี้เครื่องทั้งแบบตัวนำและเหนี่ยวนำไฟฟ้าต่างก็ต้องการวงจรที่ไหลลงกราวด์ ซึ่งไม่ค่อยสะดวกในการใช้งานแบบพกพา จึงควรหาเครื่องมือที่สามารถต่อกราวด์ได้ง่ายด้วย

เดอะบิ๊กชีส

แม้จะดูทั้งใหญ่ทั้งเหลือง ยาวถึง 12 นิ้ว จนอาจดูเทอะทะไปหน่อยในการหนีบเก็บบนที่คาดเอว แต่ถ้าคุณกำลังทำงานด้านการกู้คืนระบบเครือข่าย (ไม่ว่าจะเป็นสายทองแดงหรือไฟเบอร์) ในพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว เจ้า C9970 High Voltage Power Detector Pen ของ Fluke Networks นี้จะเป็นตัวช่วยชีวิตได้เป็นอย่างดี

มีน้ำหนักเบา แถมใช้งานง่ายด้วย โดยตัวตรวจกระแสไฟแบบสัมผัสโดยตรง C9970 นี้สามารถตรวจได้สูงถึง 20,000 โวลต์สำหรับกระแสสลับ (VAC) และ 2,000 โวลต์สำหรับกระแสตรง (VDC) วัดค่าได้เพียงแค่เอาหัวตรงปลายเครื่องที่มีอายุการใช้งานยาวนานนี้สัมผัสกับวัตถุแล้วกดลงเพื่อเปิดการทำงานของแม่เหล็ก จากนั้นสามารถดูผลจากไฟ LED ถ้าเป็นสีเขียวแสดงว่าปลอดภัยไม่มีไฟรั่ว แต่ถ้าขึ้นไฟแดงกระพริบแสดงว่าพบกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ค่อนข้างอันตราย ตัวปลอกที่สวมหุ้มปลายหัวทดสอบของเครื่องนี้นอกจากเอาไว้ปกป้องหัวทดสอบเมื่อไม่ได้ใช้แล้ว ยังสามารถเอามาต่อกับตัวจับเครื่องเพื่อใช้เป็นตัวกลางเชื่อมต่อกับสายที่วิ่งลงกราวด์เวลาทำงานบนที่สูงได้

เคยผ่านการออกแบบมาสำหรับช่างหน้างานโดยเฉพาะด้วยฝีมือของทาง AT&T Bell Labs เมื่อช่วงปลายทศวรรษ 1970 และจนปัจจุบันที่ได้รับการพัฒนาและผลิตโดย Fluke Networks เครื่องทดสอบศักย์ไฟฟ้า C9970 นี้มาพร้อมรูปลักษณ์ทรงกลม เว้นระยะฉนวนตามมาตรฐาน ออกแบบให้ป้องกันไฟช็อตวาบ มีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการจนเป็นที่ชื่นชอบของช่างเทคนิคประจำผู้ให้บริการทั่วทั้งภูมิภาคอเมริกาเหนือ ถ้าคุณกำลังทำงานด้านการกู้คืนระบบสื่อสารในพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว เครื่องนี้คือของมันต้องมี!

ที่มา : Flukenetworks