หน้าแรก Networking & Wireless 5G พลิกโฉมองค์กรให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น ด้วยบริการล้ำสมัยจาก AIS 5G Digital Enterprise

พลิกโฉมองค์กรให้มีความอัจฉริยะมากขึ้น ด้วยบริการล้ำสมัยจาก AIS 5G Digital Enterprise

แบ่งปัน

โลกแห่งดิจิตอลและการดำเนินการด้านนวัตกรรมหลายอย่างกำลังเปลี่ยนผ่านจากความเป็นไปได้ ไปสู่เรื่องราวแห่งความเป็นจริง การเติบโตของเทคโนโลยี 5G ช่วยให้ผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ สร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ทางดิจิตอลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

AIS ผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมชั้นน้ำแห่งโลกเทคโนโลยี 5G เพิ่งได้มีการจัดงานสัมมนาออนไลน์แบบเต็มรูปแบบไปเมื่อไม่นานมานี้ นำโดยผู้บริหารระดับสูงอย่างคุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ได้มากล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของ AIS ที่จะมีต่อสังคมและการพัฒนาประเทศในวงกว้างมากขึ้น พร้อมทั้งยังมีผู้บริหารอีกหลายท่านตบเท้าขึ้นมาเล่าเรื่องที่น่าสนใจให้ฟังอีกมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคของฝั่งเอ็นเทอร์ไพรส์ ซึ่งในส่วนประเด็นนี้จะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ AIS 5G Digital Enterprise of the Future ที่จะมาพลิกโฉมการให้บริการองค์กรด้วยเทคโนโลยี 5G ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเครือข่ายที่กลายเป็นมาตรฐานของโลกไปแล้ว

เปิดประสบการณ์ AIS 5G ให้แก่โลกดิจิตอลแห่งอนาคต

และเราจะมาไล่เรียงกันดูทีละประเด็นกัน โดยผู้บริหารท่านแรกที่มาแชร์ประสบการณ์ท่านแรกก็คือ คุณยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร ของทางเอไอเอส มาพร้อมกับเรื่องราวเกี่ยวกับ 5G Technologies as Business Digital Transformation Enablers คุณยงสิทธิ์ กล่าวว่า ผู้คนได้มีการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตไปค่อนไปในทางการใช้ดิจิตอลมากขึ้น โดยเห็นได้จากพฤติกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคคอนเทนต์เนื้อหาข้อมูล การทำธุรกรรมการเงิน การช้อปปิ้งสินค้า หรือการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น เป็นต้น ผ่านทางอุปกรณ์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์ IoT, บิ๊กดาต้า และแพลตฟอร์มเครือข่าย และยิ่งเปลี่ยนพฤติกรรมมากขึ้นเนื่องจากการระบาดของไวรัสในช่วงต้นปี 2020 กลายเป็นประเด็น New Normal ที่ทำให้ได้ใกล้ชิดกับดิจิตอลยิ่งขึ้นไปอีก ทำให้องค์กรจำเป็นต้องวางโร้ดแมปใหม่ เพื่อที่จะก้าวไปสู่โลกของดิจิตอลอย่างเต็มขั้นนั่นเอง

ในต่างประเทศนั้นเครือข่าย 5G เริ่มนำมาใช้อุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เราได้เห็นกรณีศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ จากหลายประเทศ ทั้งจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลีใต้ มีทั้งอุตสาหกรรมการผลิต ระบบการแพทย์ทางไกล (Tele Medicine)  โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) โดยจะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่นำมาใช้กับมือถือเพียงอย่างเดียว มันสามารถพัฒนาต่อยอดไปในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง สาธารณูปโภคต่างๆ ได้ผ่านอุปกรณ์ IoT และใช้ฟีเจอร์ล้ำสมัยของ 5G อย่างเช่นพวก eMBB, mMTC และ uRLLC เพื่อมาเพิ่มแบนด์วิธให้มากขึ้น รองรับดีไวซ์มากขึ้น และลด Latency ต่ำกว่า 1 ms (มิลลิวินาที)

เรื่องราวดังกล่าวนั้น เอไอเอส ได้เริ่มแสดงให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ด้วยการนำเอากรณีศึกษาจากการใช้งาน AIS 5G จริงๆ ไปรันบน Production จริงๆ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาโรงงานอัจฉริยะ, Self-Driving, Automated Warehouse, การแพทย์ทางไกล ฯลฯ

ถัดมาเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง 5G Multi-access Edge Computing Fulfilling Ultra Low Latency Business Cases บรรยายโดย คุณกฤษกร ชัยเจริญ หัวหน้าส่วนงานธุรกิจคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ จากทาง เอไอเอส  โดยอธิบายและตอกย้ำถึงเรื่องของความสำคัญของระบบ Cloud และ Edge Computing โดยนำเอาเครือข่าย 5G มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลของ Cloud และ Edge Computing ทำให้เกิดแอพพลิเคชั่นใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในส่วนงานขององค์กรและอุตสาหกรรมตัวอย่างเช่นระบบ Autopilot, ระบบ Public Safety, เทคโนโลยี VR/AR, เรื่องของ Robot/Automated ที่เป็นสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น โดยสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเรื่องของการประหยัดค่าใช้จ่าย และความเร็วในการทำงานของแอพพลิเคชั่นที่ตอบสนองได้ดีกว่าเดิม

เอไอเอสได้ทำการทดลองระบบจริงมาแล้วในส่วนของ Smart Manufacturing , Smart Retail, Smart Healthcare, และ Smart Port ส่วนในกรณีที่ลูกค้าต้องการใช้งาน Cloud โดยไม่ต้องติดตั้งที่ไซต์งานจริง ก็สามารถใช้บริการ คลาดว์และดาต้าเซ็นเตอร์ ของทางเอไอเอส ผ่านทางส่วนงาน CSL (CS Loxinfo เดิม) ได้เช่นกัน ซึ่งครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทย และที่สำคัญในพื้นที่ EEC ทางเอไอเอสก็มี Cloud และ Edge Computing ให้บริการแล้ว

บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการจัดสรรเครือข่ายและความถี่อย่างยอดเยี่ยม

ถัดมาเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่สำคัญมาก ที่จะช่วยให้เห็นถึงความแตกต่างของเครือข่าย 5G กับเครือข่ายอย่าง 3G และ 4G โดยผู้บรรยายคือคุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ จากทางเอไอเอส ในหัวข้อ Enabling a Mission Critical IoT with 5G Slicing and Private Network

คุณวสิษฐ์ ได้ยกกรณีศึกษาที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง Industrial 4.0 โดยมีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจในวงการอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นแนวทางที่ปฏิบัติกันก็คือ “Cyberphysical” โดยอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มเอาเครื่องจักรมาเติมระบบให้กลายเป็นอุปกรณ์ด้านไซเบอร์ ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรหรือผู้ดูแลระบบไอทีสามารถที่จะมอนิเตอร์เครื่องจักรในอุตสาหกรรม และมองเห็นการทำงานของเครื่องจักรและประสิทธิภาพของมันได้อย่างเรียลไทม์ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว การที่อุตสาหกรรมจะพัฒนาตัวเองเป็น Industrial 4.0 ได้จะมีองค์ประกอบทั้ง IoT, Big Data และ Cloud Computing แต่องค์ประกอบเหล่านี้จะเกิดขึ้นหรือทำงานร่วมกันไม่ได้เลยถ้าขาด เครือข่ายที่มีความเสถียรและไว้ใจได้

ก่อนหน้านั้นโรงงานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ระบบ Wire Internet Network แต่อย่างไรก็ตามด้วยการเข้ามาของ 5G จะช่วยให้ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวหมดไป และที่สำคัญมันช่วยประหยัดต้นทุนอย่างมหาศาลในแง่ของเครือข่ายที่จะรองรับเรื่องดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

อีกประเด็นที่สำคัญในหัวข้อนี้ก็คือเรื่อง Customized level of Service (Slices) เอไอเอส ได้ทำการแบ่งเครือข่ายใน 5G เพื่อให้สามารถรองรับงานอุตสากรรมได้ ทั้งนี้เพราะว่าความต้องการใช้เครือข่ายของอุปกรณ์เครื่องจักรบางอย่างในแต่ละพื้นที่อาจจะมีความแตกต่างกัน บางงานต้องการ แบนด์วิธสูงแต่ไม่จำเป็นต้องมีลาเทนซีที่ต่ำ แต่บางแห่งอาจต้องใช่ลาเทนซีที่ต่ำแต่ไม่ต้องใช้แบนด์วิธที่สูง ซึ่งเอไอเสสามารถกำหนดความสามารถของเครือข่ายได้ นับเป็นสิ่งที่เครือข่าย 5G ทำได้ ในขณะที่ 3G และ 4G ทำไม่ได้ อีกทั้งเอไอเอสยังสามารถแบ่งความถี่เพื่อการใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นความถี่แบบ 700 MHz, 2600 MHz, 26 GHz เพื่อการใช้งานกับอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ต้องการความถี่ที่เหมาะสมได้

บริการใหม่ที่เหนือชั้นจากการพัฒนาร่วมระหว่าง 5G และ AI

ผู้บริหารท่านต่อมาที่มาให้ข้อมูลในการสัมมนาครั้งนี้ก็คือ คุณนวชัย เกียรติก่อเกื้อ หัวหน้าแผนกงานการตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กร จากเอไอเอส โดยมากับเรื่องราวที่น่าสนใจ Transforming Customer Experience with 5G-enabled AI & VR

โดยเขาอธิบายว่า AI และ VR จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้งานทางด้านการตลาดมากขึ้น เพราะสามารถนำเอา AI มาวิเคราะห์พฤติกรรมและการใช้งานของลูกค้าหรือผู้บริโภค ผ่านทางเซ็นเซอร์ต่างๆ เพื่อดูว่าลูกค้ามีความต้องการเป็นอย่างไร อาศัยผ่านทางฟีเจอร์สำคัญอย่างเช่น Voice Recognition, Text Recognition, VDO Analytics, ฯลฯ 5G และ Edge Computing จะเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานที่ทำให้ธุรกิจสามารถนำ AI, AR/ VR มาใช้ประโยชน์พัฒนาข้อเสนอให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนาป้ายดิจิตอลอัจฉริยะ (Digital Signage), การส่งต่อประสบการณ์เสมือนจริงผ่าน AR/ VR หรือการใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นต้น

โดยการนำเอา AI และ 5G มาประยุกต์ใช้งานจริงนั้น ได้รับเกียรติจากทาง คุณกรรณิกา ตันติการุณย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสำหรับธุรกิจองค์กรของเอไอเอส โดยนำเอาเทคโนโลยีอย่าง VR มาใช้งาน ในกรณีศึกษาครั้งนี้ คุณกรรณิกาบอกว่าทางเอไอเอสได้สร้างบริการที่เรียกว่า VR Tour เพื่อที่จะใช้แว่น VR เข้าไปดูสถานที่เสมือนจริง ซึ่งในตัวอย่างเป็นการพาชมดาต้าเซ็นเตอร์ของ CSL โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องไปที่ดาต้าเซ็นเตอร์จริง ส่วนอีกกรณีศึกษาอีกชิ้นหนึ่งเป็นเรื่องของ ป้ายดิจิตอลอัจฉริยะของเอไอเอส ที่ใช้ Big Data, AI และ VDO Analytics ทำการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายหน้าบุคคล เพื่อระบุช่วงอายุ เพศ และอารมณ์ และจะส่งข้อมูลที่เหมาะกับบุคคลท่านนั้นมาให้แบบเรียลไทม์ และกรณีศึกษาชิ้นสุดท้าย เป็นเรื่องหุ่นยนต์ Security Robot ที่ฝังเอาซิม 5G ไว้ในตัว โดยหุ่นยนต์จะเข้าไปในพื้นที่บางจุดแทนคนจริงๆ โดยตัวหุ่นยนต์จะมีผู้ควบคุมในห้องควบคุม ทำให้สามารถโต้ตอบได้อย่างเรียลไทม์

และประเด็นสุดท้ายของการสัมมนาในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ 5G Fixed Wireless Access (FWA) in Business Network Services โดยคุณอัศนีย์ วิภาตเวทย์ หัวหน้าส่วนงานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองค์กรและบริการระหว่างประเทศหัวหน้างานผลิตภัณฑ์ลูกค้าองกรค์และบริการระหว่างประเทศ เธอเล่าให้ฟังว่า เอไอเอสให้บริการ FWA มาโดยตลอดตั้งแต่ยุค 4G แต่ขีดความสามารถของ 4G ยังห่างกับไฟเบอร์ออปติกเป็นอย่างมาก แต่เมื่อ 5G ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ขีดความสามารถเกือบเทียบเท่าไฟเบอร์ออปติก ทั้งในแง่ของ ความเร็วและประสิทธิภาพที่ดีกว่า ความหน่วงที่ต่ำกว่า รวมไปถึงการเคลื่อนย้ายลิงก์ที่สะดวกและรวดเร็ว

ปัจจุบันเอไอเอสให้บริการ FWA เป็นแบบ 5G FWA โดยมีบริการต่างๆ แยกย่อยมาเป็นเครือข่ายแบบ Broadband Grade Network ในชื่อ 5G FWA Broadband และมีเครือข่ายแบบ Enterprise Grade Network ที่มีทั้ง 5G FWA MPLS และ 5G FWA Corporate Internet รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภท Complementary อย่างเช่น 5G FWA SD-WAN และ 5G FWA Corporate Wi-Fi เป็นต้น โดยบริการเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไว้วางใจได้ด้วยบริการหลังการขายแบบ 24×7 ทั่วประเทศ ผ่านทางเบอร์โทร 1149 (AIS Business Call Center)  และ 1740 (AIS Business ICT Services Desk)

บทสรุป

การสัมมนาครั้งนี้เราได้เห็นรูปแบบการดำเนินงานต่างๆ ผ่านทางเทคโนโลยีล้ำสมัย AIS 5G ที่จะช่วยเปลี่ยนโลกเทคโนโลยีให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพการทำงานที่สูงถึงขีดสุด องค์กรสามารถที่จะนำเอาแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ไปปฏิบัติตามหรือประยุกต์ใช้ให้ตรงกับงานของท่านได้เอง เพื่อสร้างคุณค่าและการให้บริการแก่ตนเองหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าในมิติใหม่ๆ ได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว

สำหรับธุรกิจองค์กรที่สนใจบริการ AIS 5G หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://business.ais.co.th/5g/ หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ AIS Business ที่ดูแลองค์กรของท่านหรือ AIS CORPORTE CALL CENTER 1149

เกี่ยวกับ AIS Business:

AIS Business ผู้นำการให้บริการโซลูชันด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ลูกค้าองค์กรมามากกว่า 29 ปี ได้รับความไว้วางใจจากทั้งบริษัทเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคการศึกษา ในการเลือกใช้โซลูชันต่างๆ ได้แก่ Enterprise Mobility, Business Network, Business Cloud, IoT/ M2M, ICT, Cyber Security รวมถึงบริการทางด้านดิจิตอลอื่นๆ เช่น Digital Marketing, Digital Payment เป็นต้น และด้วยความหลากหลายของบริการและคุณภาพการให้บริการหลังการขายของ AIS จึงทำให้ลูกค้าองค์กรสามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันในยุคดิจิตอลได้อย่างมั่นใจ