หน้าแรก Home Case Study 5 ขั้นตอนในการทำรีโทรฟิตโรงงานสู่ยุคดิจิทัล

5 ขั้นตอนในการทำรีโทรฟิตโรงงานสู่ยุคดิจิทัล

แบ่งปัน

การปฏิวัติทางดิจิทัลและกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติที่เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีนี้ ได้ผลักดันให้มีการผสานการทำงานระหว่างระบบ IT และ OT เข้าด้วยกันมากยิ่งขึ้น ซึ่งหนึ่งในประโยชน์ที่มากที่สุดของแนวทางใหม่นี้ก็ คือ การได้ผสานข้อมูลเป็นหนึ่งเดียว ด้วยเทคโนโลยีและแนวคิดแบบใหม่อย่างระบบ IIoT และอนาไลติก ร่วมกับระบบใหม่ต่างๆ ที่ช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้ในปริมาณมากกว่าที่เคยทำได้ ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ รวมทั้งการบำรุงรักษาระบบและการดูแลเชิงป้องกันได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

อย่างไรก็ตาม ก็มักมีอุปกรณ์และเครื่องจักรหลายตัวในพื้นที่การผลิตที่เก่าเกินกว่าจะรองรับระบบรวบรวมข้อมูลแบบใหม่ข้างต้นได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดด้านการเชื่อมต่อ อินเทอร์เฟซส่งต่อข้อมูล หรือจุดรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น

Advertisement

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องปรับเปลี่ยนระบบเดิมใหม่ หรือเรียกว่า รีโทรฟิต (Retrofit) ซึ่งเป็นการปัดฝุ่นปรับปรุงเครื่องจักรเก่าให้กลับมามีชีวิตเหมือนใหม่ ลองนึกภาพเหมือนเครื่องจักร “เก่าแก่” ที่มีความสามารถแบบ “อัจฉริยะ” ได้ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อเข้าไป ซึ่งวิธีปกติในการทำเช่นนี้ก็ คือ การติดตั้งเซ็นเซอร์ IIoT ลงในเครื่องจักรเก่า เพื่อให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสถานะ สภาพเครื่อง กระบวนการทำงาน และข้อมูลอื่นๆ ที่ส่งต่อให้ระบบต่างๆ ประมวลผลต่อได้

ขั้นตอนการทำรีโทรฟิต

โดยทั่วไปแล้ว มี 5 ขั้นตอนสำคัญที่จำเป็นต้องพิจารณาสำหรับการทำรีโทรฟิตในโรงงานอุตสาหกรรม ดังต่อไปนี้

1. กำหนดเป้าหมายและ KPI

วิธีการทำรีโทรฟิตนั้นขึ้นกับเป้าหมายทางธุรกิจของคุณ เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดว่าเราต้องการข้อมูลอะไรบ้างจากสายการผลิต ตัวอย่างเช่น ถ้าเราตั้งเป้าลดดาวน์ไทม์ของเครื่องจักร ก็จำเป็นต้องคอยติดตามสถานะการทำงานของเครื่องเหล่านั้น ถ้าคุณต้องการให้ระดับความชื้นหรืออุณหภูมิไม่สูงเกินค่าที่ตั้งไว้ ก็จำเป็นต้องติดตั้งเซ็นเซอร์ที่ตรวจวัดค่าเหล่านี้ได้ เมื่อเราทราบถึง KPI ที่ต้องการแล้ว ก็จะสามารถเริ่มทำยุทธศาสตร์การทำรีโทรฟิต

2. จัดทำลิสต์รายการว่ามีข้อมูลที่ต้องการครบหรือยัง

ในขั้นตอนนี้ เราจำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมด้านไอทีเชิงอุตสาหกรรมของเราเป็นอย่างดี ดูว่าเราสามารถเรียกดูข้อมูลอะไรได้บ้างจากเครื่องจักรหรือระบบเดิมๆ เช่น SCADA, HMI, และ MES? เราใช้โปรโตคอลไหนในการสือสาร? มีการเชื่อมต่ออะไรอยู่บ้างแล้ว? ระบบดังกล่าวมีการใช้เกตเวย์อุตสาหกรรมที่คอยเชื่อมระหว่างโลก OT, อุปกรณ์ IIoT, และระบบอัพสตรีมขึ้นไปไหม? เมื่อทราบคำตอบเหล่านี้แล้ว ก็จะมองภาพเกี่ยวกับช่องว่างที่เกิดได้ชัดขึ้น ว่าเราจำเป็นต้องติดตั้งเซ็นเซอร์หรืออินเทอร์เฟซใหม่ตรงไหนบ้าง

3. ตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้งานอยู่

การทำรีโทรฟิตมักมีการเพิ่มเครื่องจักร เซ็นเซอร์ เกตเวย์ และตัวช่วยสื่อสารอื่นๆ เข้ามาในเครือข่ายอุตสาหกรรมด้วย จึงจำเป็นต้องทราบว่าระบบเน็ตเวิร์กปัจจุบันรองรับอะไรแค่ไหน อย่างความสามารถของฮาร์ดแวร์เครือข่ายอุตสาหกรรมที่ใช้ในปัจจุบัน เช่น เราเตอร์ สวิตช์ รวมทั้งตรวจสอบข้อจำกัดด้านแบนด์วิธ การที่จะสามารถเพิ่มเซ็นเซอร์ IIoT และเกตเวย์อุตสาหกรรมเข้าไปในระบบเดิมนั้น เราจำเป็นต้องมั่นใจว่าระบบดังกล่าวรองรับความต้องการใหม่ของระบบที่จะเพิ่มเข้าไปได้

4. ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อมูลที่เข้ามาจากพื้นที่การผลิตนั้นจำเป็นต้องถูกส่งต่อไปยังระบบอื่น ตัวอย่างเช่น ดาต้าเซ็นเตอร์บนคลาวด์หรือฝั่ง On-Premises ซึ่งจะถูกวิเคราะห์แล้วนำไปสร้างเป็นมุมมองเชิงลึกสำหรับตัดสินใจเกี่ยวกับด้านต่างๆ ของกระบวนการผลิตต่อไป แน่นอนว่าข้อมูลเหล่านี้ย่อมผ่านจุดเชื่อมต่อหลายจุดระหว่างทาง ได้แก่ เราเตอร์ สวิตช์ เกตเวย์อุตสาหกรรม และระบบอย่าง MES และ Cloud ERP เป็นต้น

5. วางกลยุทธ์ด้านการเฝ้าตรวจติดตาม

เนื่องจากความซับซ้อนของจุดเชื่อมต่อต่างๆ ข้างต้น จึงจำเป็นต้องคอยตรวจสอบระบบที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ IT และ OT อันได้แก่ สภาพและสถานะของเครื่องจักรในสายการผลิต สถานะของเกตเวย์อุตสาหกรรม ปริมาณแบนด์วิธที่ใช้ และสถานะของอุปกรณ์ IIoT เป็นต้น นอกจากนี้ คุณอาจต้องคอยตรวจวัด KPI ที่กำหนดไว้จากขั้นตอนแรกสุด จึงต้องใช้เครื่องมือตรวจสอบที่สามารถเรียกดูข้อมูลจากเซ็นเซอร์ IIoT, ระบบ OT, และองค์ประกอบด้านไอทีทั่วไปด้วยโปรโตคอลที่ใช้งานร่วมกันได้ และแสดงข้อมูลทุกอย่างรวมอยู่ในที่เดียวกัน

ระบบ PRTG เพื่องานอุตสาหกรรม

ซอฟต์แวร์มอนิตอริ่ง หรือซอฟต์แวร์ตรวจสอบ PRTG นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับสภาพแวดล้อมที่ทำการรีโทรฟิตมาแล้ว ด้วยจุดเด่นด้านคุณสมบัติการทำงานที่หลากหลาย ไม่ขึ้นกับผู้จำหน่ายรายใดรายหนึ่ง สามารถรวบรวมข้อมูลได้จากหลายแหล่งโดยใช้โปรโตคอล OT พื้นฐานที่ใช้งานร่วมกันได้ และโปรโตคอลมาตรฐานอย่าง OPC UA และ Modbus TCP คุณสมบัติในการตรวจสอบสถานะของเกตเวย์อุตสาหกรรมและระบบ OT และคุณสมบัติในการเฝ้าตรวจดูเซ็นเซอร์อุปกรณ์ IIoT และอุปกรณ์อื่นๆ ได้ คุณสามารถใช้ PRTG กำหนดค่าเกณฑ์ต่างๆ ที่ต้องการเพื่อให้แจ้งเตือนเมื่อพบค่าที่เกินกำหนด และด้วยแดชบอร์ด PRTG คุณจะมั่นใจได้ว่าสามารถเรียกดูข้อมูลที่ต้องการได้ครบเพื่อใช้ตัดสินใจ และดูแลให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่องได้

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Paessler ดูได้ที่ www.paessler.com/th
ที่มา:https://blog.paessler.com/5-steps-to-retrofitting-your-industrial-environment

ทาง Paessler ได้จัดงาน Webinare เรื่อง “การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน” ในวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565 , 10.00 – 11.00 น. (เวลาประเทศไทย) โดยมีประเด็นที่น่าสนใจมากมาย โดยทุกท่านสามารถลงทะเบียนร่วมงาน Webinar ดังกล่าวได้ฟรี ที่ Link ด้านล่าง
https://paessler.zoom.us/webinar/register/2816502674405/WN_wv-HOTCaThu5wtAo7MSumA