หน้าแรก Security Bug M.TECH ผนึกพันธมิตรไอทีรับมือกับภัยในยุค New Normal 2020

M.TECH ผนึกพันธมิตรไอทีรับมือกับภัยในยุค New Normal 2020

แบ่งปัน

จากวิกฤตการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยต่างต้องปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้สามารถรองรับการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการให้พนักงานทำงานจากนอกสถานที่ในลักษณะที่เรียกว่า Work From Home (WFH) ซึ่งนอกเหนือจากการทำงานที่ต้องเปลี่ยนไปแล้วยังรวมไปถึงประสบการณ์ และพฤติกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุคที่เรียกกันว่า New Normal ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Marketplace ที่เป็นแบบดิจิตอลจะเติบโต, บริการด้านการจัดส่งในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะมีมากขึ้นเป็นเท่าตัว นอกจากนั้นแล้วในยุค New Normal นี้ยังส่งผลต่อการเพิ่มมากขึ้นการใช้งานข้อมูล และเรื่องของ Big Data ที่เน้นเพื่อการบริหารจัดการที่ดีกว่าเดิม

กฤษณา เขมากรณ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย M-Solutions Technology (Thailand) Co., Ltd. กล่าวว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ผู้คนที่เคยทำงานในลักษณะแบบเดิม (Office Workers) ต้องปรับเปลี่ยนไปเป็นลักษณะการทำงานที่อยู่ในระยะไกล (Remote Workers) นอกสถานที่มากขึ้น และก็จะเป็นแนวทางใหม่ที่เราคาดว่ามันจะเกิดขึ้นหลังจากนี้เป็นจำนวนมาก

จากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้หลายองค์กรตื่นตัวในเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้น มองเห็นความสำคัญ และความจำเป็นในเรื่องเทคโนโลยีรวมถึงความปลอดภัยของยุค New Normalโครงสร้างระบบอินฟราสตรัคเจอร์ก็จะมีการปรับเปลี่ยนไป จากที่เคยเป็นลักษณะการทำงานที่อาศัยระบบทุกอย่างอยู่ในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กร (On-Prem) ก็จะเปลี่ยนไปสู่ระบบที่เป็นแบบไฮบริดที่ใช้ควบคู่ระหว่าง On-Prem ผนวกกับการใช้งานระบบที่รันอยู่บนคลาวด์ หรือบางองค์กรวางแผนย้ายระบบทั้งหมดไปอยู่ ไปรันอยู่บนคลาวด์เต็มตัว ก็มีความเป็นไปได้สูงมาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าองค์กรเหล่านั้นจำเป็นต้องรองรับการทำงานของบุคลากรประเภท Remote Workers ในยุค New Normal นั่นเอง

อย่างไรก็ตามแม้การทำงานในแบบ Remote Workers หรือการทำงานผ่านระบบคลาวด์นั้นจะช่วยตอบโจทย์ของธุรกิจในยุคใหม่นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่เรายังต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะตามมาด้วยนั่นก็คือ เรื่องของอาชญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber Crime )

โดยกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่มักจะตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดี ที่เห็นได้ชัดเจนก็มีด้วยกัน 8 กลุ่มหลักๆ อาทิเช่น หน่วยงานของภาครัฐ, สถาบันการเงินและธนาคาร, อุตสาหกรรมทางการแพทย์, ธุรกิจที่ให้บริการด้านโทรคมนาคม, ธุรกิจด้านประกันภัย, การขนส่ง และการคมนาคม, บริการด้านการค้าออนไลน์, หน่วยงานที่ให้บริการด้านการจัดการข้อมูล ธุรกิจในข้างต้นนี้เป็นเป้าหมายที่สำคัญ และโดนโจมตีอยู่บ่อยครั้งทำให้เกิดความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

Image credit : กฤษณา เขมากรณ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย M-Solutions Technology (Thailand) Co., Ltd.

สำหรับภัยคุกคาม หรือวิธีการโจมตีที่เกิดขึ้นนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายประการ อย่างเช่น การเรียกค่าไถ่ไฟล์ หรือที่เรียกว่า แรนซั่มแวร์ (Ransomware) ที่สร้างความเสียหายให้กับองค์กรต่าง ๆ เป็นมูลค่าเงินมหาศาล, การใช้เทคนิคหลอกลวง (Web Phishing) โดยการส่งอีเมล์ปลอมเพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือพาสส์เวิร์ด หรือข้อมูลบัตรเครดิตผ่านหน้าเว็บปลอม เป็นต้น หรือเทคนิคแบบ Cryptocurrency Mining ที่แฮ็กเกอร์ทำเข้าแฮ็กเว็บไซต์หรือระบบขององค์กรเพื่อทำการฝังสคริปต์บางอย่าง ให้ทรัพยากรระบบขององค์กรนั้นกระทำตามสิ่งที่แฮ็กเกอร์ต้องการ เช่น นำเอาไปขุดเงินดิจิตอล เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า วิวัฒนาการของอาชญากรรมไซเบอร์มีการเจริญเติบโตตามรอยเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเช่นกัน ทาง M-Solutions Technology (Thailand) ได้นำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพื่อตอบโต้ภัยคุกคามที่คุกคาม ได้แก่ Attivo, Netskope, Tanium และ Silverfort นอกจากนี้ ทางบริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจจาก McAfee, Gigamon และ nCipher เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อครึ่งปีแรกที่ผ่านมา