หน้าแรก News & Event มรภ.ราชนครินทร์ ผนึกภาคธุรกิจอัพสกิลบุคลากร ป้อนตลาด EEC

มรภ.ราชนครินทร์ ผนึกภาคธุรกิจอัพสกิลบุคลากร ป้อนตลาด EEC

แบ่งปัน

มรภ.ราชนครินทร์ จับมือ ไอเอสเอส คอนซัลติ้งก์และ ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ทำ MOU ระหว่างภาคการศึกษาและกลุ่มธุรกิจดิจิทัล และภาคธุรกิจโรงแรม ในโครงการสนับสนุนและส่งเสริมทักษะบุคคลากรรองรับการเติบโตในพื้นที่ EEC ชี้หลังวิกฤโควิด 19 มีแนวโน้มเติบโตอย่างรวดเร็วคาดมีความต้องการตำแหน่งงานถึง 475,000 ตำแหน่ง

มุ่งพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบดิจิทัล การเงินแลการบัญชีดิจิทัล และการใช้ดิจิทัลในโรงงานอุตสาหกรรม รองรับการใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมศักยภาพธุรกิจ พร้อมการทักษะบุคลากรด้านอาหารและการท่องเที่ยวมาตรฐานสากล เตรียมป้อนตลาด เผยความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาแนวใหม่ ที่ตอบสนองสถานประกอบการด้วยกำลังแรงงานที่มีสมรรถนะเป็น “viral transformer”

รศ.ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ในฐานะผู้บริหารโครการเปิดเผยว่า การลงนามความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคธุรกิจโรงแรมกับกลุ่มธุรกิจดิจิทัล ในโครงการสนับสนุนและส่งเสริมทักษะที่พึงประสงค์ในการทำงานรองรับการเติบโตในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเสริมทัพการพัฒนาทักษะความรู้และศักยภาพในการพัฒนาผลิตบุคลากรตอบโจทย์และตรงต่อความต่อภาคธุรกิจ ทั้งนี้จะเป็นการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมภาคบริการที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย New S curve ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ เพื่อพัฒนาศักยภาพบัณฑิตที่จะก้าวไปสู่บุคลากรในแต่ละสายอาชีพที่อัดแน่นด้วยคุณภาพเทียบมาตรฐานสากล ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยจุดประสงค์พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นสำหรับแรงงานในการพัฒนาด้านสำนักงานดิจิทัล ด้านอาหารและการโรงแรม เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรม ด้านอาหารและการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยกำลังแรงงานที่เข้าร่วมอบรมดังกล่าวได้มีมุมมอง และมีแนวคิดในการปรับตัวสู่ธุรกิจทั้งด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ และความเป็นนานาชาติ เพื่อให้นำสิ่งที่ได้จากการ Reskill-Upskill- New skill courses มาพัฒนากับสถานประกอบการที่กำลังสร้างฐานการผลิตในระดับนานาชาติ

อาจารย์ธรรมรัตน์ สิมะโรจนา ผู้อำนวยการส่งเสริมวิชาการ ผู้ดำเนินการโครงการ กล่าวเสริมว่า หลักสูตรการพัฒนาทักษะความรู้และศักยภาพในการพัฒนาผลิตบุคลากรด้านดิจิทัล เป็นการเตรียมความพร้อมและระดมศักยภาพของบุคลากร โดยการพัฒนาความร่วมมือกับสถานประกอบการในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้านธุรกิจดิจิทัล เพื่อมุ่งเน้นการสร้างแพลตฟอร์มการพัฒนาบุคลากรและมาตรฐานระดับสากล พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ทดสอบสมรรถนะด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประเมินสมรรถนะดิจิทัลให้กับบุคลากรในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการให้คำปรึกษาในการพัฒนาดังกล่าวสู่การยกระดับให้กำลังแรงงานยุคการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคตะวันออก

ทั้งนี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก แต่ประเทศไทยก็สามารถควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้เป็นอย่างดี นับเป็นปัจจัยช่วยสร้างความเชื่อมั่นและสร้างโอกาสด้านการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะใน EEC ซึ่งคาดการณ์ว่าจะขยายตัวและเติบโตอย่างมากหลังวิกฤต จากผลสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ(EEC) 3 จังหวัด ระบุว่ามีตำแหน่งงานที่ต้องการกำลังคนถึง 475,000 ตำแหน่ง ในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทด้านการพัฒนาและสร้างบุคลากรเห็นว่าหัวใจสำคัญ คือ ต้องพัฒนาและเพิ่มเติมทักษะอยู่เสมอ เพื่อเตรียมความพร้อมป้อนบุคคลากรคุณภาพรองรับการเติบโตหลักฟื้นสู่ภาวะปกติ

ทั้งนี้การทำ MOU ร่วมกันครั้งนี้เป็นร่วมมือกันพัฒนาบัณฑิตให้เป็นบัณฑิตเป็นมืออาชีพ สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพใน EEC รวมทั้งสามารถทำงานในโรงแรมแบบ New normal food safety และ green hotel เพื่อรักษา สิ่งแวดล้อม ในด้านดิจิทัลเป็นการฝึกอบรมปูพื้นฐานความเข้าใจการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลในทุกภาคส่วนขององค์การ ซึ่งจะเน้นในการบริหารทางด้านทรัพยากรมนุษย์แบบดิจิทัล การเงินแลการบัญชีดิจิทัล และการใช้ดิจิทัลในโรงงานอุตสาหกรรมโดยใช้วิทยากรจากบริษัท ระดับโลก ทางด้านดิจิทัล ซึ่งได้เชิญวิทยากรจากบริษัทฝึกอบรมในเครือของ SAP ได้แก่บริษัท ไอเอสเอส คอนซัลติ้งก์ มาเป็นผู้ฝึกอบรมในโครงการแ ละในส่วนการพัฒนาทักษะบุคลากรด้านอาหารและการท่องเที่ยวได้รับความร่วมมือจากโรงแรมในเครือไมเนอร์ จำนวน 502 แห่งทั่วโลก อาทิ โรงแรม Avani resort พัทยา ในการสนับสนุนสถานที่และบุคลากรของโรงแรมเป็นผู้ฝึกอบรมทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

สำหรับกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมอบรมในโครงการฯ แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. แรงงานในภาคธุรกิจที่ต้องการพัฒนาบุคลากรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาค

ตะวันออก จำนวน 4 หลักสูตร ๆ ละจำนวน 360 คน ครอบคลุมในพื้นที่ 3 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 1,440 คน กลุ่มที่ 2. เครือข่ายความร่วมมือร่วมกับกระทรวงแรงงานและสถานประกอบการชั้นนำ ซึ่งมหาวิทยาลัยเล็งเห็นว่า การพัฒนาในครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาแนวใหม่ที่ตอบสนองสถานประกอบการที่เป็นฝ่ายผลิตให้มีกำลังแรงงานที่มีสมรรถนะเป็น “viral transformer” ที่สามารถกระจายความเข้มแข็งด้านศักยภาพและพร้อมผนึกกำลังที่จะรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคตได้”

ทางด้านนายวิศิษฐ์ วิระยากรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอเอสเอส คอนซัลติ้งก์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในฐานะบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการเทคโนโลยีและการขับเคลื่อนนวัตกรรมทางธุรกิจ มีความยินดีในการเข้าร่วมเป็นหนึ่งในโครงการฯ นี้ เนื่องจากจะได้นำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ ทักษะให้กับบุคลากร เพื่อนำไปต่อยอดในสายงานและธุรกิจที่กำลังจะเติบโตโในพื้นที่เขต EEC

ทางด้านนายศุภดิษฐ์ มณีรัตน์จรัสศรี ที่ปรึกษาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มหาชน และโรงแรม อวานี พัทยา รีสอร์ท กล่าวว่า ในฐานะองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจอาหารและโรงแรมระดับโลก เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรู้ ศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิท-19 ในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ให้พัฒนาการบริการให้เข้าสู่มาตรฐานระดับโลก และมีการจัดการแบบ new normal hygiene และ food save