หน้าแรก Vendors Cisco ตะลึง ! อาเซียนเสี่ยงจากภัยทางไซเบอร์สูงถึง 750 พันล้านดอลลาร์

ตะลึง ! อาเซียนเสี่ยงจากภัยทางไซเบอร์สูงถึง 750 พันล้านดอลลาร์

แบ่งปัน
asia

บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asian) เผชิญความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นจากการโจมตีทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายมากถึง 750 พันล้านดอลลาร์ แก่บริษัทชั้นนำในภูมิภาคนี้ตามผลการศึกษาล่าสุดที่ได้รับมอบหมายจากซิสโก้

การศึกษาดังกล่าวซึ่งดำเนินการโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการระดับโลก เอ.ที. เคียร์เน่ (A.T. Kearney) เน้นย้ำว่า ความสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่เพิ่มมากขึ้นของอาเซียน ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการโจมตีทางคอมพิวเตอร์

ปัจจัยที่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ ความพร้อมของนโยบายอยู่ในระดับต่ำ ขาดกรอบโครงสร้างการกำกับดูแลที่สอดคล้องกันในระดับภูมิภาค ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ประเมินความเสี่ยงต่ำเกินกว่าความเป็นจริง และขาดการลงทุนที่เพียงพอ

ผลการศึกษาดังกล่าวซึ้งมีชื่อว่า “ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในภูมิภาคอาเซียน: ความจำเป็นในการดำเนินการอย่างเร่งด่วน (Cybersecurity in ASEAN: An Urgent Call to Action)” เน้นย้ำว่า ความเสี่ยงทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในภูมิภาคนี้จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการเชื่อมต่อทางดิจิทัลมากขึ้น นอกจากนี้ แต่ละประเทศให้ความสำคัญในระดับที่แตกต่างกัน และมีความก้าวหน้าทางดิจิทัลในระดับที่แตกต่างหลากหลาย ส่งผลให้มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในระยะยาว

ประเทศต่างๆ ในอาเซียนมีการใช้จ่ายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ต่ำกว่าที่ควร โดยปัจจุบันมีการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยเพียง 0.07 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีรวมในแต่ละปี และจำเป็นที่จะต้องเพิ่มการลงทุน 0.35 ถึง 0.61 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีในช่วงปี 2560 ถึง 2568 เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ดีที่สุดตามเกณฑ์มาตรฐาน (ขึ้นอยู่กับระดับการใช้จ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP สำหรับอิสราเอล) ผลการศึกษานี้ประเมินว่า โดยรวมแล้วประเทศต่างๆ ในอาเซียนจะต้องใช้เงินลงทุนราว 171 พันล้านดอลลาร์ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

นอกจากนี้ ขณะที่ค่าใช้จ่ายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของไทยอยู่ที่ 23.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ใกล้เคียงกับมาเลเซียซึ่งอยู่ที่ 23 พันล้านเหรียญสหรัฐ และฟิลิปปินส์ที่ 22.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามยังอยู่ในระดับที่จำกัด เนื่องจากขาดความน่าเชื่อถือและความโปร่งใส ส่งผลให้ระบบป้องกันทางคอมพิวเตอร์มีช่องโหว่มากขึ้น

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: https://www.cisco.com/sg/atkreport