หน้าแรก Cloud 5 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงไปใช้บริการคลาวด์ภายในองค์กร

5 ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลงไปใช้บริการคลาวด์ภายในองค์กร

แบ่งปัน
แอปพลิเคชันบางตัวไม่สามารถทำงานบนระบบคลาวด์สาธารณะได้ ขั้นตอนต่อไปนี้คือวิธีเข้าถึงระบบคลาวด์

ในปัจจุบัน ระบบคลาวด์มีประโยชน์อยู่หลากหลายอย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว เช่น ช่วยในการลดต้นทุน การขยายขนาดบริการ การเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มความคล่องตัว แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบนี้จะเหมาะสำหรับทุกแอปพลิเคชัน ปริมาณงานและข้อมูลขององค์กร ปัญหาด้านของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและความปลอดภัยทำให้ไม่สามารถย้ายการทำงานบางส่วนไปยังคลาวด์สาธารณะได้ ในขณะที่บางแอปพลิเคชันมีการทำงานร่วมกัน จึงทำให้ไม่สามารถย้ายไปทำงานบนคลาวด์ได้ ซึ่งในบางกรณี การย้ายไปอาจจะเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ในด้านการเงิน

อย่างไรก็ตาม การย้ายแอปพลิเคชันในองค์กรจากระบบคลาวด์สาธารณะไปยังแบบจำลองการใช้งานจะก่อให้เกิดประโยชน์มากขึ้น กล่าวได้ว่าระบบคลาวด์นี้จะเป็นตัวช่วยในการบริการ ซึ่งแบบจำลองนี้ ธุรกิจต่าง ๆ จะทำงานร่วมกับคู่ค้าที่มีโครงสร้างพื้นฐานและบริการภายในองค์กรที่สามารถช่วยตอบสนองความต้องการทั้งหมดซึ่งจะจ่ายเงินเฉพาะสิ่งที่ใช้เท่านั้น แบบจำลองเศรษฐกิจแบบคลาวด์นี้เปลี่ยนการใช้จ่ายจากค่าใช้จ่ายในด้านต้นทุนไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ปรับวงจรธุรกิจให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานได้ดียิ่งขึ้น

การใช้บริการคลาวด์ในสภาพแวดล้อมภายในองค์กรดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยาก แต่ถ้าทำตามขั้นตอนทั้ง 5 ขั้นตอนต่อไปนี้ก็จะทำให้การเข้าถึงบริการเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 1: ตัดสินใจในการย้ายแอปพลิเคชันและข้อมูล

เริ่มจากการกำหนดว่าควรจะย้าย ไม่ควรย้ายหรือไม่สามารถจะย้ายแอปพลิเคชันและข้อมูลใดไปยังระบบคลาวด์สาธารณะ จากนั้นรวบรวมรายการแอปพลิเคชันและข้อมูลให้ครบถ้วนพร้อมด้วยความต้องการและข้อกำหนด เช่น แอปพลิเคชันทำงานบนฮาร์ดแวร์ใด มีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมอย่างไร ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ระบุการทำงานร่วมกันระหว่างแอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมถึงวิธีและความถี่ที่แต่ละแอปพลิเคชันสื่อสารกัน ระบุข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและความปลอดภัยสำหรับแต่ละแอปพลิเคชันและชุดข้อมูล รวมทั้งปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาหากบางแอปพลิเคชันมีการใช้งานมากขึ้นในบางช่วงเวลาของปี

ระบุความสำคัญทางธุรกิจของแต่ละแอปพลิเคชัน ชุดข้อมูลและสิ่งที่ไอทีต้องทำเพื่อปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐาน หากแอปพลิเคชันและชุดข้อมูลบางรายการมีความสำคัญน้อย สามารถลดประสิทธิภาพการทำงานลงได้เมื่อสร้างแบบจำลองใหม่ทางสถาปัตยกรรมที่มีประสิทธิภาพสูง หากเป็นบริษัททางการเงินที่มีการซื้อขายจำนวนมากหรือหากต้องการการทำงานแบบ Low latency ด้วยเหตุผลอื่นก็จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น

สำหรับการตรวจสอบผลงานของแอปพลิเคชันทั้งหมดและพิจารณาที่จะเลิกใช้แอปพลิเคชันที่ซ้ำกันหรือไม่จำเป็น หลักการง่าย ๆ คือดูจากปริมาณงาน โดยร้อยละ 50 เป็นสิ่งที่ดีสำหรับการย้ายไปยังสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกว่า อีกร้อยละ 30 ควรอยู่ในที่เดิม และร้อยละ 20 ควรเลิกใช้

จากข้อมูลทั้งหมดนั้นจะสามารถตัดสินใจได้ว่าแอปพลิเคชันใดควรถูกตัดออก แอปพลิเคชันใดที่ควรคงไว้และแอปพลิเคชันใดที่เป็นตัวเลือกสำหรับแบบจำลองการใช้งานภายในองค์กร

ขั้นตอนที่ 2: กำหนดกรณีศึกษาทางธุรกิจสำหรับการโยกย้าย

ถัดไปคือการรวบรวมกรณีศึกษาทางธุรกิจ เพื่อเลือกว่าแอปพลิเคชันและข้อมูลใดควรถูกย้ายไปยังแบบจำลองการใช้งานภายในองค์กร ลองใช้เครื่องมือที่เป็นเกณฑ์ได้แก่ ความสะดวกและผลกระทบ ซึ่งใช้เมทริกซ์แบบสองต่อสอง: โดยในแกนหนึ่งให้ใส่คะแนนความความสะดวกในการย้ายแต่ละแอปพลิเคชันไปยังแบบจำลองภายในองค์กร และอีกแกนหนึ่ง ให้ใส่คะแนนผลกระทบทางธุรกิจของแอปพลิเคชันแต่ละรายการหากมีการเคลื่อนย้ายในบางกรณี การย้ายแอปพลิเคชันจะทำง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น การย้ายแอปพลิเคชันที่ทำงานบนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่า เพื่อมาทำงานบนฮาร์ดแวร์ใหม่ภายในองค์กร อย่างไรก็ตามอาจทำได้ยากกว่าในกรณีอื่น ๆ — เช่น หากจำเป็นต้องออกแบบสถาปัตยกรรมของแอปพลิเคชันใหม่

เมื่อให้คะแนนทุกแอปพลิเคชันทั้งสองแกนแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าแอปพลิเคชันใดง่ายต่อการย้ายและแอปพลิเคชันใดจะมีผลกระทบทางธุรกิจมากที่สุดเมื่อถูกย้าย การทำแบบจำลองทางการเงินสำหรับแต่ละแอปพลิเคชัน เพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการปล่อยแอปพลิเคชันไว้ตามที่เป็นอยู่กับการย้ายแอปพลิเคชัน โดยขั้นแรก ระบุค่าใช้จ่ายในการปล่อยไว้ตามที่เป็นอยู่เดิม สำหรับแอปพลิเคชันที่ทำงานบนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่า ให้ระบุพลังงานที่ใช้ ความต้องการในการระบายความร้อน ความต้องการพื้นที่กี่ตารางฟุตในศูนย์ข้อมูล ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการดูแลระบบ และจำนวนใบอนุญาตที่ต้องการ นำหัวข้อทั้งหมดนี้มาคิดว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าใดในการทำงานของแอปพลิเคชันบนฮาร์ดแวร์รุ่นเก่าในแต่ละปี

เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายดังกล่าวกับค่าใช้จ่ายในการย้ายแต่ละแอปพลิเคชันไปยังแบบจำลองภายในองค์กรโดยพิจารณาจากสิ่งที่คุณจะถูกเรียกเก็บเงินสำหรับการใช้งาน ซึ่งจะช่วยให้คุณประมาณการผลตอบแทนในการลงทุนที่ดีสำหรับการย้ายแต่ละแอปพลิเคชัน

ขั้นตอนที่ 3: ปรับขนาดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับแอปพลิเคชันและปริมาณงาน

หลังจากที่ตัดสินใจว่าจะย้ายแอปพลิเคชันใดแล้ว ให้จับคู่ความสามารถในการจ่ายกับความต้องการที่แท้จริงขององค์กรและต้องมีการปรับขนาดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับแอปพลิเคชันและปริมาณงานที่จะใช้งาน

สมมติว่าองค์กรหนึ่งตัดสินใจย้ายแอปพลิเคชัน 50 รายการไปยังแบบจำลองการใช้งานภายในองค์กร มันเป็นไปไม่ได้ที่จะย้ายทั้งหมดพร้อมกัน แอปพลิเคชันเหล่านี้ ควรถูกย้ายเป็นรอบ ๆ การทำเช่นนี้จะช่วยกำหนดสภาพแวดล้อมที่มีขนาดเหมาะสม เพราะเป็นเรื่องยากที่จะประมาณการณ์ว่าทั้ง 50 แอปพลิเคชันนั้นต้องการความจุปริมาณเท่าใด แต่ถ้าค่อย ๆ ย้ายทีละน้อย จะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีขนาดพอดีและเหมาะสมให้กับแอปพลิเคชันในแต่ละรอบอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 4: เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม

แม้ว่าการย้ายแอปพลิเคชันไปยังแบบจำลองการใช้งานภายในองค์กรแล้ว แต่ยังไม่เสร็จเพียงแค่นั้น ในความเป็นจริงแล้วนี่เป็นแค่การเริ่มต้น เพราะจะต้องมีการจัดการแอปพลิเคชันและสภาพแวดล้อมด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ใช้ปลายทางและไอทีได้รับประสบการณ์การบริการที่มีประสิทธิผลสูงสุด

โดยลักษณะงานที่แตกต่างกันจะต้องใช้เครื่องมือที่แตกต่างกัน นักพัฒนาต้องการเครื่องมือที่ช่วยให้จัดเตรียม VMs และ Containers ได้สะดวกและรวดเร็ว เครื่องมือที่ดีที่สุดเหล่านี้ใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อให้นักพัฒนาสามารถกดปุ่มเพื่อตั้งค่าสิ่งต่าง ๆ เช่น ขนาดเครื่อง การเชื่อมต่อเครือข่าย ขนาดและประเภทของดิสก์ และกำหนดการสำรองข้อมูล

ทีมไอทีต้องการเครื่องมือเพื่อดำเนินการจัดการและแก้ไขปัญหาที่สำคัญที่สุด เช่น การตรวจสอบประสิทธิภาพและค่าใช้จ่าย การจัดเตรียมสภาพแวดล้อม การจัดการวงจรของระบบ การสำรองข้อมูล และการจัดการปัญหาการปฏิบัติตามข้อกำหนด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลก็ต้องการเครื่องมือที่ช่วยให้การเรียนรู้การใช้งานด้วยตนเองผ่านระบบคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการจัดเตรียมและงานหลังบ้านอื่น ๆ

ขั้นตอนที่ 5: เลือกคู่ค้าที่เหมาะสม

ในการทำธุรกิจต้องเลือกคู่ค้าที่เหมาะสมซึ่งสามารถจัดหาโครงสร้างพื้นฐาน การบริการ และเครื่องมือที่จำเป็นในการส่งมอบบริการคลาวด์ภายในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ควรมองหาคู่ค้าที่มองว่าบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในโลกแห่งไฮบริดและไม่มีวิธีการแก้ปัญหาใดที่ตอบโจทย์ได้กับทุกปัญหา

คู่ค้าในอุดมคติจะต้องสามารถทำงานกับแบบจำลองภายในองค์กร คลาวด์สาธารณะ คลาวด์แบบไฮบริด และแบบจำลอง SaaS ได้อย่างคล่องแคล่ว รวมทั้งมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่หลากหลาย การมองหาคู่ค้าที่สามารถแนะนำการผสมผสานเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับปริมาณงาน แอปพลิเคชัน ข้อกำหนดทางธุรกิจ และมีทีมที่แข็งแกร่งพร้อมสำหรับให้บริการและการสนับสนุน

หากปฏิบัติตาม 5 ขั้นตอนเหล่านี้ โดยธุรกิจจะสามารถลด่าใช้จ่ายและมีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญจากการเปลี่ยนไปใช้บริการคลาวด์ภายในองค์กรและบริษัทที่ดำเนินการอย่างถูกต้องจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนสร้างสินทรัพย์ระยะยาวได้ ประมาณร้อยละ 30 และลดเวลาในการดำเนินการลงได้ถึงร้อยละ 65

 

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ HPE

หากต้องการให้ทีมงานติดต่อกลับ กรุณาคลิก ที่นี่   หรือ ติดต่อทีมงาน G-Able เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HPE GREENLAKE หรือขอคำแนะนำและปรึกษาการใช้งานระบบได้ทันทีที่ คุณ ลดาวัลย์ แพรสุวัฒน์ศิลป์ email: Ladawan.P@g-able.com

G-ABLE พร้อมให้บริการและคำปรึกษาให้ทุกธุรกิจ
เพื่อเตรียมความพร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

065-719-3899 หรือ inquiry@g-able.com