หน้าแรก Security Hacker พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ผ่านแล้ว – รัฐสามารถ ยึดข้อมูลและเจาะระบบได้

พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ ผ่านแล้ว – รัฐสามารถ ยึดข้อมูลและเจาะระบบได้

แบ่งปัน

การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่รัฐสภา ซึ่งมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. คนที่ 1 เป็นประธานการประชุม ได้ทำการลงมติเห็นชอบ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. …. (ร่าง พ.ร.บ.มั่นคงไซเบอร์ฯ) ตามที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ ซึ่งมี นางเสาวณี สุวรรณชีพ เป็นประธานเสนอ ในสองวาระรวด

ผลการลงมติ มีผู้เห็นชอบ 133 เสียง ไม่เห็นด้วย 0 เสียง และงดออกเสียง 16 เสียง โดยระหว่างการประชุม ไม่มี กมธ. หรือ สนช. ติดใจสงวนคำแปรญัตติ มีเพียงการตั้งคำถามเพิ่มเติมถึงรายละเอียดบางส่วน แต่ไม่มีการเสนอให้แก้ไข หรือปรับปรุง บทบัญญัติที่ กมธ. เสนอ โดยการอภิปราย และลงมติวาระ 2 และ 3 เป็นรายมาตราทั้งร่าง จำนวน 81 มาตรา โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 20 นาที

โดยมีใจความที่น่าสนใจอยู่ในมาตรา 65 ในการป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ ในระดับร้ายแรง กกม มีอำนาจปฏิบัติการหรือสั่งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเฉพาะเท่าที่จำเป็นเพื่อป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ในเรื่องต่อไปนี้

1 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐในการขอความร่วมมือจากบุคคล ในการให้ข้อมูล เอกสาร หรือสำเนาข้อมูล ที่อยู่ในการครอบครองของผู้อื่นได้ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการทำงาน

2 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ ตรวจค้นสถานที่ ค้นคอมพิวเตอร์ เข้าถึงข้อมูล เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เจาะระบบ ยึด อายัดคอมพิวเตอร์ หรือทำสำเนาเอาข้อมูลได้

3 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่รัฐ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ เมื่อเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ร้ายแรง

4 ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ดำเนินการได้โดยไม่ต้องยื่นขอหมายศาลในกรณีเร่งด่วน

5 ไม่สามารถขออุทธรณ์เพื่อยับยั้งการใช้อำนาจในการยึด ค้น เจาะ หรือขอข้อมูลใดๆ ได้

6 กรณีที่เกิดภัยคุกคามไซเบอร์ในระดับวิกฤติ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ

7 หากผู้ใดฝ่าฝืนและไม่ปฏบัติตามคำสั่งจะมีโทษปรับและจำคุก

ที่มา : Workpoint, ข่าวจริง, ไทยรัฐ, BCC