หน้าแรก Internet of Things Connected Car 8 เทคนิคไซเบอร์อันตราย !! และบทวิเคราะห์เทคโนโลยี จากภาพยนตร์เรื่อง “I.T. ไอทีมรณะ”

8 เทคนิคไซเบอร์อันตราย !! และบทวิเคราะห์เทคโนโลยี จากภาพยนตร์เรื่อง “I.T. ไอทีมรณะ”

แบ่งปัน
I.T.

หากชาวไอทีคนใดได้ชมภาพยนตร์เรื่อง I.T. ชื่อภาษาไทยว่า “ไอที มรณะ” ก็อาจจะขนลุกขนพองกับความ “ไม่เป็นส่วนตัว” หรือ เรื่องของ Privacy เป็นอย่างมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอถึงความสามารถของเจ้าหน้าที่ไอที ที่เอาความรู้ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งต้องบอกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำได้ออกมาดีและชี้ให้เห็นถึงเทคนิคด้านเทคโนโลยีอันหลากหลาย รวมถึงการจารกรรมทางด้านไซเบอร์

ภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา 2016 และจากการที่เพิ่งมาได้ดูอย่างจริงจัง และในฐานะคนไอที ผมจึงได้เห็นประเด็น และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่อง I.T. นี้มากมายและนำมาแบ่งปันกัน

– เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) กับบ้านอัจฉริยะ

Advertisement

IoT เป็นเทคโนโลยีที่เห็นได้ชัดเจนมากกับเรื่องนี้ โดยบ้านของคุณ Mike Regan ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท Regan Aviation ได้ออกแบบ บ้านที่ต้องบอกว่าควบคุมด้วยเทคโนโลยีทั้งหลัง ใช้เทคโนโลยี Smart Home ในการควบคุม ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าใน บ้าน, ระบบประปา, อุปกรณ์ความบันเทิง, ระบบกล้องวงจรปิดและระบบมอนิเตอร์ เพียงแค่สั่งผ่านเสียงและมือถือทุกอย่างก็เป็นไปได้อย่างอัตโนมัติ

– แฮ็กเกอร์สายดำ (Hacker)

แฮ็กเกอร์ในเรือง คือหนุ่มไอทีโปรแกรมเมอร์ที่ชื่อว่า Ed Porter ที่ทำงานกับ Mike ซึ่่งมีความสามารถในด้านคอมพิวเตอร์ เป็นอย่างมาก ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและดูแลระบบไอทีให้กับองค์กร และเป็นที่ชื่นชอบของ Mike มาก แต่สุดท้ายกับกลายเป็นมือ แฮ็กเกอร์และใช้โปรแกรมอันตรายเข้าไปจารกรรมข้อมูลของ Mike

I.T.

– เทคนิคการจารกรรมและภัยคุกคามทางไซเบอร์

Ed ใช้เทคนิคเทคนิคการจารกรรมและภัยคุกคามทางไซเบอร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่
1. การฝังโทรจันหรือมัลแวร์บางอย่างลงไปที่รถยนตร์ของ Mike
2. การเข้าไปแก้ไขซอฟต์แวร์ในการจัดการกับระบบ Smart Home
3. การใช้เทคนิค Spoofing ในการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกลที่สามารถเข้าถึง Root
4. การใช้เทคนิค BEC Business Email Compromise (BEC) ในการปลอมแปลงอีเมล์ ทางการแพทย์
5. การส่งอีเมล์หลอกหลวงไปยังลูกค้าของบริษัท Mike
6. การแกะรอยและปล่อยคลิป VDO อนาจาร ไปยังกลุ่ม Social เพื่อสร้างความอับอาย
7. การใช้ช่องโหว่ในการแกะรอยเข้าดูเอกสารสำคัญของบริษัท (Data Leak)
8. การปลอมแปลงเอกสารตอนสมัครงาน

– รถยนต์ Connected Car ยี่ห้อ MASERATI

MASERATI เป็นรถยนตร์หรูของ Mike ที่มีความอัจฉริะ และควมคุมด้วยระบบไอที และมันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในเรื่อง โดย มันถูกฝังโทรจันหรือโค้ดมัลแวร์บางอย่างลงไป จนกระทั่งแฮ็กเกอร์สามารถควบคุมระบบยานยนตร์จากระยะไกล และทำการ
“เบรคล้อ” อย่างกระทันหัน ซึ่งทำให้รถเกิดอุบัติเหตุ

– แฮ็กเกอร์สายขาว (White Hacker)

เนื่องจาก Mike ถูกครอบงำจาก Ed ทำให้ครอบครัวเขาตกอยู่ในอันตรายรวมถึงบริษัทก็เสียหายอย่างรุนแรง ทำให้เค้าต้องจ้างแฮ็กเกอร์สายขาว ชื่อว่า คุณ Henrik มาช่วยป้องกัน โดยเทคนิคของแฮ็กเกอร์สายขาวที่ใช้คือ
1. การปลดสัญญาณโทรศัพท์ในเบื้องต้น (ตัดสัญญาณโทรศัพท์ของ Mike)
2. การใช้ช่องโหว่ในการแกะรอยเข้าดูเอกสารสำคัญของ Ed (Data Leak) ที่ทำให้รู้ว่า Ed คือโรคจิต
3. การแฮ็กเข้าแอ็คเคาท์และ สร้างข้อความหลอกล่อเหยื่อ (เป็นการหลวง Ed อีกที)
4. การติดตั้งกล้องวงจรปิดและมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวจากบ้าน

ภาพยนตร์เรื่องนี้ สร้างจากความเป็นไปได้ในการนำเอาระบบไอทีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ และซึ่งแน่นอนว่ามีข้อดีหลายอย่าง แต่ถ้าหากถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องแล้วละก็ หายนะ แน่นอน !!