หน้าแรก Networking & Wireless ยกระดับ Wi-Fi ภายในบ้านด้วย TP-Link Archer C2300

[รีวิว] ยกระดับ Wi-Fi ภายในบ้านด้วย TP-Link Archer C2300

แบ่งปัน

เทคโนโลยีเครือข่ายนั้น กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วมาก ทุกวันนี้ผู้ใช้ตามบ้านเกือบทุกคนที่ติดตั้งอินเทอร์เน็ตจากโอเปอเรเตอร์ จะได้รับเราเตอร์กระป๋องมาตัวหนึ่ง ซึ่งความสามารถของมันนั้น “ห่วยแตก” อย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น การส่งสัญญาณที่ติดขัด, สัญญาณส่งออกไม่ได้เมื่อเจอประตูห้องกั้นขวาง, หรือแค่ทำงานคนละชั้นเท่านั้นสัญญาณก็ ไปไม่ถึงเสียแล้ว

เราได้รับผลิตภัณฑ์ Gigabit Router มาตัวหนึ่งจากค่าย TP-Link ในรุ่น Archer C2300 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทรง พลังด้านระบบไร้สาย ออกมาเพื่อตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ กับเราท์เตอร์รุ่นเก่าที่แถมมาฟรีกับโอเปอเรเตอร์ ให้ความเร็ว รวมทั้งสิ้น 2,225 เมกะบิต หรือเทียบเท่าประมาณ 2.3 กิกะบิตต่อวินาที่ ขจัดปัญหาของการโอนถ่ายข้อมูลไปอย่างสิ้นเชิงกับความเร็วที่น่าทึ่ง

วิเคราะห์ตัวอุปกรณ์
TP-Link Archer C2300 ออกแบบมาให้ดูมีเสน่ห์และขนาดกะทัดรัด ด้วยรูปทรงเหลี่ยมพร้อมลวดลายด้านบนที่นอกจากจะมีความสวยงามแล้วยังเป็นตัวระบายความร้อนในตัว พร้อมกับมีเสารับ-ส่งสัญญาณจำนวนสามเสา ที่ปรับระดับได้ตามต้องการ โดยอุปกรณ์ที่ให้มาก็มีตัว TP-Link Archer C2300, คู่มือติดตั้ง, อะแดปเตอร์, สายไฟ, เสาสัญญาณ โดยมีคุณสมบัติมากมาย

ปุ่ม, พอร์ต, และไฟ LED
TP-Link Archer C2300 มาพร้อมกับปุ่มต่างๆ พร้อมทั้งพอร์ตและไฟ LED แสดงสถานะ อันประกอบด้วย

1. ปุ่ม Power สำหรับเปิดปิดเครื่อง
2. ปุ่ม ปุ่มสำหรับใช้งานระบบ Wi-Fi Protected Setup (WPS) ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่เอาไว้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์ก ที่รองรับ WPS เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งคู่รู้จักกันในทันที
3. ปุ่ม Wi-Fi On/Off สำหรับเปิดปิดสัญญาณระบบ Wi-Fi
4. พอร์ต USB 2.0 และ USB 3.0 อย่างละ 1 พอร์ต
5. พอร์ต RJ45 สำหรับรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต 1 พอร์ต และอีก 4 พอร์ตสำหรับต่อไปยังเครื่องอื่นๆ รองรับระบบ Gigabit Ethernet
6. ปุ่ม Reset เล็กๆ ใกล้ๆ กัน
7 ไฟ LED จะแสดงสถานะของระบบไม่ว่าจะเป็นสัญญาณแบบ 5 GHz, 2.4 GHz และสัญญาณ Internet เป็นต้น (คุณสามารถที่จะปิดไฟ LED ได้โดยมีปุ่มด้านบนตัวเครื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เวลากลางคืนแสง LED จะได้ไม่รบกวนสายตาเวลานอน)

การติดตั้ง
การติดตั้งอุปกรณ์ TP-Link Archer C2300 ทำได้อย่างง่ายดาย (อ่านคู่มือแค่ 1 นาที ก็ติดตั้งได้แล้ว)

1. ให้คุณปิดเราท์เตอร์ตัวหลักที่บ้านก่อน (ที่แถมมากับค่ายโอเปอเรเตอร์นั่นแหล่ะ)
2. เอาสาย LAN เชื่อมระหว่าง Archer C2300 และเราท์เตอร์ที่บ้านเข้าด้วยกัน
3. เปิดเราท์เตอร์หลักที่บ้าน (รอสัก 2 นาที ให้เราท์เตอร์มันทำงาน) แล้วจากนั้นก็ค่อยเปิดตัว Archer C2300
4. ทุกอย่างเป็นอันเรียบร้อย !!

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ในกรณีถ้าคุณอยากใช้งานเลยทันที !! คุณก็จะพบว่ามีสัญญาณ Wi-Fi ออกมาให้คุณเลือกจำนวนสองคลื่นความถี่ (SSID) ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้นที่ตั้งมาจากโรงงาน จะมีให้เลือกทั้งแบบ 2.4 GHz และ 5GHz (สำหรับเครื่องใดที่รองรับ 5GHz ก็จะเห็นคลื่นความถี่อันนี้) โดยค่า SSID เริ่มต้นที่ผมได้รับคือ TP-Link_26DC และมีพาสส์เวิร์ดตามในแผ่นคู่มือคือ 58893678 โดยคุณสามารถที่จะเปลี่ยนค่าต่างๆ ได้ตามต้องการในตอนที่คุณเข้าไปยังหน้าเว็บสำหรับบริหารจัดการ

การใช้งานและการคอนฟิกค่าต่างๆ
สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและต้องการปรับแต่งค่าคอนฟิกูเรชั่นเพิ่มเติม เช่น เปลี่ยนค่า SSID, เปลี่ยนพาสส์เวิร์ด, กำหนดค่า IP, การตั้งค่า Security, การตั้งค่า Firewall, การทำ Guest Network, การตั้งค่า DHCP Server, การเซตค่า Wireless ฯลฯ ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยที่

1. เข้าไปที่ http://192.168.0.1 ซึ่งเป็นเป็นค่าเริ่มต้นของตัว Archer C2300 หรือจะผ่านทาง http://tplinkwifi.net ก็ทำได้เช่นกัน

2. ครั้งแรกของการใช้งานคุณต้องกำหนดพาสส์เวิร์ดสำหรับการเข้าใช้งานหน้าจัดการอันนี้ก่อน โดยผมเลือกเป็น 12345

3. ในแท็บ Quick Setup จะมีขั้นตอนให้คุณดูอย่างเข้าใจง่ายๆ เช่นการกำหนด Time Zone, กำหนดชนิดของการเชื่อมต่อ (ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นค่าเริ่มต้น) ให้คลิก Next ไป ถัดจากนั้นก็มาถึงหน้า Wireless Settings ซึ่งจุดนี้เองที่สามารถเปลี่ยนค่า SSID และพาสส์เวิร์ดตามต้องการก็ได้ แต่ผมไม่ได้เปลี่ยนค่าอะไรให้มันคงค่าเหมือนเดิมไว้จากนั้น ก็คลิก Next และมันจะสรุปค่าต่างๆ ที่เราตั้งมาให้เบื้องต้น แล้วจากนั้นกด Save เพียงแค่นี้คุณก็ใช้งานได้แล้ว

หน้า Quick Setup
หน้า Quick Setup

4. ตามมาดูในแท็บของ Basic และ Advanced กันบ้าง ในแท็บทั้งคู่นี้จะมีฟีเจอร์คล้ายๆ กัน หน้า Network, หน้า Wireless, หน้า USB Sharing, การเซต Parental Control สำหรับป้องกันการใช้งานเด็ก เป็นต้น ส่วนหน้า Advanced จะเพิ่มการเซตอัพค่าระดับสูงต่างๆ เพิ่มเข้ามาเช่น การทำ NAT Forwarding, การเซตค่า QoS, การเซตค่า Security ทั้ง Firewall และการป้องกัน DDoS แม้กระทั่งการจัดการ IPv6 ก็เช่นกัน

หน้า Basic

 

หน้า Advanced
หน้า Quick Setup : เมนู QoS

ทดสอบประสิทธิภาพ
เราได้ต่อเชื่อม TP-Link Archer C2300 เข้ากับเราท์เตอร์หลัก จากนั้นก็พบสัญญาณที่เต็มเปี่ยม เนื่องจากเสาสัญญาณมีถึง 3 เสา มาพร้อมกับเทคโนโลยีอย่างเช่น MU-MIMO ที่ให้ความเร็วกว่าเดิมถึง 3 เท่า เนื่องจากว่าเทคโนโลยีนี้จะส่งสัญญาณพร้อมๆ กันไปยังดีไวซ์ที่เข้ามาเชื่อมต่อ ซึ่งแตกต่างจากเราท์เตอร์ตัวเดิมที่จะส่งสัญญาณไปในลักษณะครั้งต่อครั้ง ทำให้เกิดความล่าช้าในกรณีที่มีอุปกรณ์มาเชื่อมต่อหลายๆ ตัว อีกทั้งยังมีตัว CPU ที่เป็นแบบ Dual-Core CPU ขนาด 1.8 GHz คอยประมวลผลให้เครื่อง ซึ่งทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเป็นไปได้อย่างรวดเร็วทันใจไม่ติดขัด

นอกจากนั้นแล้วสิ่งที่ผมชอบอีกอย่างก็คือเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Range Boost ที่มันพิเศษตรงที่ตัว Archer C2300 ที่จะสามารถหาอุปกรณ์ที่มาต่อเชื่อมไม่ว่าจะเป็นมือถือ, โน้ตบุ๊ก, Tablet, Smart TV ได้ดีกว่า ไม่ว่าจะอยู่ต่างห้อง หรือบริเวณจุดอับสัญญาณ (ที่เราท์เตอร์หลักหาไม่พบ) ช่วยให้ทุกคนที่อยู่ตามห้องต่างๆ สามารถใช้งานสัญญาณ Wi-Fi ได้อย่างไม่ติดขัดเลย

แอพพลิเคชั่น Tether
TP-Link ได้ออกแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจชื่อว่า Tether มาให้ใช้งานผ่านทางสมาร์ทโฟนไม่ว่าจะเป็น iOS และ Android ซึ่งเพียงแค่ดาวน์โหลดลงมาและเข้าสู่หน้าบริหารจัดการผ่านทางยูสเซอร์เนมและพาสส์เวิร์ดที่สร้างไว้ตอนแรก โดยมีเครื่องมือขนาดย่อมให้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการปิดเปิดไฟ LED, การบล็อกการทำงานหรือการเปิดการใช้งานให้แก่อุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อ Wi-Fi, การกำหนดเวลา, ปิดเปิดเครื่อง และอื่นๆ เป็นต้น


บทสรุป
TP-Link Archer C2300 เป็นอุปกรณ์ Gigabit Router ที่เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเทคโนโลยี NitroQAM MU-MIMO, Range Boost และ CPU ขนาด 1.8 GHz ทำให้เราท์เตอร์รุ่นนี้สามารถสร้างความเร็วอย่างสูงสุดให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มาต่อเชื่อม ได้โดยไม่ติดขัดและขยายสัญญาณไปยังห้องทำงานต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม ที่ให้ความเร็วเพิ่มมากขึ้นถึง 25% โดยอัตโนมัติเลยทีเดียว !!

นอกจากนั้นแล้วในกรณีที่คุณมีการใช้สตอเรจภายนอกอย่าง NAS เพื่อทำไฟล์แชร์ริ่ง ด้วยเทคโนโลยี Link Aggregation ที่มาพร้อมให้ ช่วยให้คุณสามารถเร่งความเร็วการส่งผ่านข้อมูล โดยผสานพอร์ต Ethernet ทั้งสองเข้าด้วยกัน สามารถเร่งอัตราการส่งข้อมูลได้สูงถึง 2 กิกะบิต ทำให้การรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่หรือการใช้งานมัลติมีเดียเร็วขึ้นกว่าเราท์เตอร์รุ่นเก่าเกือบ 100% เมื่อเทียบคุณสมบัติและราคา ถือว่าคุ้มค่ามากสำหรับเราท์เตอร์ขนาดกิกะบิตที่มีฟังก์ชันครบครันเช่นนี้ สำหรับปัจจุบัน TP-Link Archer C2300 วางจำหน่ายในราคา 5,900 บาท พร้อมการรับประกันแบบ Limited Lifetime Warranty

ท่านใดสนใจสามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.tp-linkco.th , Line :@tplink , Facebook: www.facebook.com/TPLinkTH