หน้าแรก Internet of Things IDC คาดการณ์ 10 เทคโนโลยีสำคัญสำหรับประเทศไทยในอนาคต

IDC คาดการณ์ 10 เทคโนโลยีสำคัญสำหรับประเทศไทยในอนาคต

แบ่งปัน
ไมเคิล อาราเนตา, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, IDC

IDC ประเทศไทยได้ประกาศคาดการณ์ เทคโนโลยีสำคัญสำหรับประเทศไทยสำหรับปี 2560 เป็นต้นไป โดยเน้นว่าผลจากการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น (DX) ขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกนั้นจะเข้าสู่ระดับเศรษฐกิจมหภาคในอีก 3-4 ปีข้างหน้า ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่บริษัทดำเนินการ และ การปรับเปลี่ยนรูปแบบของเศรษฐกิจโลกในที่สุด

โดยไอดีซีเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นรุ่งอรุณของ “เศรษฐกิจ DX” อันเป็นระบบเศรษฐกิจที่องค์กรต่าง ๆ มีเป้าหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ ประสบการณ์ใช้งาน และรูปแบบการทำงานใหม่ ๆ ผ่านการใช้งานเทคโนโลยีคลาวด์ โมบิลิตี้ คอกนิทีฟ/ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (ไอโอที) ความเป็นจริงเสริม/ความเป็นจริงเสมือน (เออาร์/วีอาร์) และมีการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่นซึ่งถูกขับเคลื่อนโดยการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้

นายไมเคิล อาราเนตา ผู้จัดการประจำประเทศไทย และทีมนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไอดีซีประเทศไทย ยังเผยการคาดการณ์สำคัญเชิงกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นในปี 2560 เป็นต้นไป ที่สร้างผลกระทบมากที่สุดให้แก่องค์กรในประเทศไทย

1. รุ่งอรุณแห่งเศรษฐกิจ DX
ภายในปี 2563 นั้น 30% ของผู้ประกอบการที่ใหญ่ที่สุด 500 บริษัทของไทย จะพบว่าธุรกิจของพวกเขาส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์การใช้งานที่มีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบ

2. รายได้เชิงดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น
ภายในปี 2062 นั้น 25% ของโครงการด้านไอทีจะสามารถสร้างบริการและแหล่งรายได้ใหม่เชิงดิจิทัล ที่เกิดจากการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นรายได้

3. การซัพพอร์ตโดยใช้ดิจิทัลจะมากขึ้น
ภายในปี 2561 นั้น 60% ของการบริการซัพพอร์ตลูกค้าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเกิดขึ้นในชุมชนออนไลน์

4. อินเตอร์เฟซแบบ 360 องศาจะได้รับความสนใจมากขึ้น
ในปี 2561 นั้น 30% ของบริษัทขนาดใหญ่ 100 บริษัทแรกที่ขายผลิตภัณฑ์/บริการให้กับลูกค้าโดยตรงจะทำการทดสอบการใช้งานเออาร์/วีอาร์ให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำการตลาด อินเตอร์เฟซเป็นหน้าด่านที่จำเป็นต่อการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า และในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเร็วกว่าที่หลายฝ่ายได้คาดการณ์ไว้ การใช้งานเทคโนโลยีเออาร์/วีอาร์และความก้าวหน้าของเทคโยโลยีการสั่งงานด้วยเสียงจะทำให้ประเทศไทยเห็นโลกดิจิทัลเชื่อมต่อกับโลกแห่งความเป็นจริง

Jarit Sidhu, Research Manager and Lead Analyst, IDC Thailand
Jarit Sidhu, Research Manager and Lead Analyst, IDC Thailand

5. การเติบโตของอุตสาหกรรมไอโอที
ในปี 2560 รถยนต์อัจฉริยะ ประกันภัยเชิงเทเลเมติกส์ เทคโนโลยีด้านสุขภาพส่วนบุคคล และสมาร์ตบิลดิ้งจะเป็น 4 กรณีการใช้งานไอโอทีที่แพร่หลายมากที่สุดของประเทศไทย ซึ่งจะกระตุ้นการลงทุนในเทคโนโลยีไอโอทีถึง 7 พันล้านบาท

6. รถยนต์อัจฉริยะ
ภายในปี 2562 นั้น 25% ของรถยนต์ที่เปิดตัวใหม่จะมาพร้อมความสามารถในการรายงานสภาพความสึกหรอของตนเอง แจ้งซ่อมบำรุง ส่งข้อมูลกลับไปหาผู้ผลิตเพื่อพัฒนาเพิ่มเติม และตรวจสอบการเคลมประกันได้

7. การปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วย
การเข้าถึงสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาในประเทศไทยไปแล้วเนื่องจากภายในปี 2560 นั้นประชากรไทยได้เข้าถึงสมาร์ทโฟนกว่า 73% บริการด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ชีวภาพเอง ก็ได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค/ผู้ป่วยกับสภาวะแวดล้อมผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ และพยายามที่จะสร้างการปฏิสัมพันธ์แบบเดียวกันกับผู้ป่วยด้วย

8. กลยุทธ์มัลติคลาวด์
กว่า 55% ของแผนกไอทีจะดำเนินกลยุทธ์การสรรหาและจัดการสถาปัตยกรรมมัลติคลาวด์ภายในปี 2563 ซึ่งจะช่วยผลักดันความเร็วของการเปลี่ยนแปลงภายในแผนกไอทีขององค์กรต่าง ๆ องค์กรต่าง ๆ ของไทยกำลังทำการย้ายจากไอทีแบบดั้งเดิมไปสู่แพลตฟอร์มคลาวด์ ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดที่มีการใช้งานเพิ่มมากขึ้นทั่วประเทศ

9. การยกเครื่องเพย์ทีวี
ในปี 2561 การเติบโตของผู้ใช้บริการทีวีที่มีการออกอากาศแบบโอเวอร์เดอะท็อป (โอทีที) จะผลักดันให้เพย์ทีวีแบบเดิมนั้นต้องทำการยกเครื่องตนเองผ่านการใช้งานคลาวด์ ปี 2561 จะเป็นปีสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของวิดีโอและเป็นปีที่มีการเพิ่มการใช้งานโซลูชั่นเทคโนโลยีของผู้ให้บริการทีวี ไอดีซีคาดว่าผู้ให้บริการเพย์ทีวีในปัจจุบันจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเนื่องจากการพัฒนาของวิดิโอแอปพลิเคชัน ประเภททีวีเอวรี่แวร์ ที่สามารถรับชมได้แบบมัลติสกรีน ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการเพย์ทีวีถูกบังคับให้ต้องให้บริการแบบมัลติสกรีนอย่างเข้มข้นขึ้น

10 คอกนิทีฟไซเบอร์ซิเคียวริตี้
ภายในปี 2562 กว่า 30% ของระบบไซเบอร์ซิเคียวริตี้ขององค์กรในประเทศไทยจะใช้เทคโนโลยีคอกนีฟ/เอไอ เพื่อช่วยในการจัดการกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้นอย่างมาก