หน้าแรก Home feature 7 เทคนิคง่ายๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพเราเตอร์ของคุณ ให้ทำงานได้แรงมากขึ้น

7 เทคนิคง่ายๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพเราเตอร์ของคุณ ให้ทำงานได้แรงมากขึ้น

แบ่งปัน
router

วันนี้มีข้อมูลดีเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพมาฝากทุกท่านกัน เป็นการทำให้เราเตอร์ของคุณทำงานได้แรงมากขึ้น โดยมี 7 ข้อที่น่าสนใจ

1. อัพเกรดเฟิร์มแวร์ของเราเตอร์
สิ่งที่หลายคนไม่รู้เลยคือเราเตอร์ก็ต้องมีการอัพเดตเฟิร์มแวร์เหมือนกัน ซึ่งจะช่วยทั้งในเรื่องของความปลอดภัย และรวมไปถึงเรื่องของสปีดอินเทอร์เน็ตที่มีความเสถียรมากขึ้น การอัพเกรดเฟิร์มแวร์ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของเราเตเตอร์ได้ดีมากยิ่งขึ้น

2. ลองเปลี่ยนเสาสัญญาณดูครับ
เสาสัญญาณที่มากับเราเตอร์อาจจะไม่เพียงพอสำหรับบางคน หรือบางบ้าน คุณสามารถซื้อเสาสัญญาณที่มีขนาดสูงกว่า คุณภาพดีกว่า และสามารถกระจายสัญญาณ Wi-Fi ได้แรงกว่าปกติมาใส่แทนกันได้ ดังนั้นก็ลองถามข้อมูลกับตัวแทนจำหน่ายเราเตอร์ของท่านได้ ว่าจะเปลี่ยนเสาสัญญาณและวิธีการอย่างไรดี

3. เปลี่ยนช่องสัญญาณและความถี่
ลองปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณและความถี่ของเราเตอร์เพื่อให้ได้สัญญาณที่แรงกว่า อย่างความถี่ 40 MHz เป็นความถี่ที่รองรับการส่งข้อมูลในปริมาณมาก เหมาะสำหรับคนที่อยู่ในบ้านหลังใหญ่ แต่ถ้าอยู่ในห้องคอนโดอาจถูกรบกวนจากเราเตอร์ของเพื่อนบ้านได้เนื่องจากความถี่กว้าง เป็นต้น

4. ปิดเราเตอร์บ้างเมื่อไม่ใช้
วิธีบ้านๆ ที่หลายคนทำกันอยู่แล้ว เราเตอร์เมื่อเปิดไว้นานๆ ก็อืดเป็นธรรมดา ปิดเปิดบ้าง ก็จะช่วยให้เน็ตดีขึ้นได้ครับ

5. ใช้พาสส์เวิร์ดบ้าง
การใช้พาสส์เวิร์ดเข้ามาในเราเตอร์ก็จะทำให้คุณช่วยลดแบนด์วิธไปใช้งานกับเครื่องอื่นๆ ได้ลดลง ซึ่งยิ่งมีคนใช้งานมากๆ ระบบของเราเตอร์ก็ย่อมช้าลงเป็นธรรมดา

6. วางเราเตอร์ในจุดที่สัญญาครอบคลุม
บางคนตกม้าตายว่า ทำไมเราเตอร์ไม่แรงเลย ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมันถูกตั้งในจุดอัพสัญญาณ ทำให้ส่งสัญญาณไปไม่ถึง การวางเราเตอร์ในจุดที่ครอบคลุมพื้นที่ให้ได้วงกว้าง ก็จะช่วยให้การส่งประสิทธิภาพทำงานได้ดีขึ้น

7. ขยายสัญญาณด้วยอุปกรณ์บางชนิด
แน่นอนบางที เราเตอร์ตัวเดียวอาจจะไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด การเพิ่มเราเตอร์ หรือการเพิ่มอุปกรณ์ในการรีพีทสัญญาณก็น่าจะช่วยทำให้คุณได้ประสิทธิภาพในการทำงานของเราเตอร์ที่ดีขึ้น

สุดท้าย ถ้าทำทุกวิถีทางแล้วเน็ตมันยังไม่โอเค ก็ต้องเปลียนมาใช้โครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก อย่างโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกที่รองรับความเร็วมากกว่า 100 Gbps ก็น่าจะดีขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://fiber1.co.th/