หน้าแรก Vendors Cisco ตามไปดู 4 เทรนด์ด้านเน็ตเวิร์ก ที่ต้องบอกว่ามาแรงในปี 2017 นี้

ตามไปดู 4 เทรนด์ด้านเน็ตเวิร์ก ที่ต้องบอกว่ามาแรงในปี 2017 นี้

แบ่งปัน
network lan

วงการเครือข่ายปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก และมุ่งเน้นไปที่ซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์มากกว่าอดีต นั่นคือ ชาวเน็ตเวิร์กทั้งหลายจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ทาง Ethen Banks ผู้ได้ CCIE #20655 และผู้ร่วมก่อตั้ง Packet Pushers ได้ให้มุมมองเกี่ยวกับเทรนด์มาแรงแซงทางโค้งมากที่สุดตอนนี้อยู่ 4 ประการ ได้แก่

1. SD-WAN
ขณะที่องค์กรทั้งหลายต่างรอให้ระบบเน็ตเวิร์กแบบจัดการด้วยซอฟต์แวร์หรือ SDN ถึงจุดที่พร้อมนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางเสียทีนั้น ด้าน WAN ก็ได้นำหน้าไปก่อนแล้วด้วย SD-WAN ที่ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง เป็นบริการที่คนสามารถซื้อมาใช้แล้วได้ประโยชน์จริงในปัจจุบัน ด้วยความง่ายในการใช้งาน ทำให้สามารถวางระบบเครือข่าย WAN ที่ซับซ้อน ประกอบด้วยผู้บริการเครือข่ายและประเภทสายกายภาพแตกต่างมากมายได้ด้วยโพลิซีเดียวกัน ที่ระบุการจัดการที่จำเพาะกับแต่ละแอพพลิเคชั่นได้ง่ายๆ โดยไม่จำเป็นต้องไปยุ่งเกี่ยวกับโพลิซีเราท์ติ้งที่ซับซ้อนมากมาย แถมยังมีหลายระดับบริการให้เลือกสรร หรือจะจัดการทั้งหมดผ่านคลาวด์เลยก็ได้ แถมยังประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าไปใช้ผู้ให้บริการอย่าง MPLS ได้เป็นอย่างดี

2. ระบบอัตโนมัติ และ Orchestration
อีกเทรนด์ที่ฮ็อตไม่แพ้กัน เนื่องจากหลายองค์กรได้เลือกที่จะนำแอพพลิเคชั่นไปไว้ในระบบคอนเทนเนอร์โดยใช้ Docker หรือแพลตฟอร์ม Orchestration อื่นๆ เช่น Kubernetes เพื่อจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายให้อย่างอัตโนมัติ ด้วยคอนเทนเนอร์ของ Docker ทำให้สามารถใช้เครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งในด้านความปลอดภัย ก็มีหลายผู้จำหน่ายอย่าง Illumio ที่ให้ระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติสำหรับโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเทนเนอร์ด้วย แทนที่จะเขียนกฎความปลอดภัยที่อิงกับที่อยู่ไอพี ที่ไม่ยั่งยืนและไม่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายอย่างรวดเร็วของเวอร์ช่วลคอนเทนเนอร์ ก็ใช้วิธีรันกฎความปลอดภัยที่อิงตามเมต้าดาต้าแทน ถือว่าระบบทำงานอัตโนมัติและการจัดสรรทรัพยากรเครือข่ายแบบจำเพาะ หรือ Orchestration ช่วยลดภาระงานแมนน่วลของเหล่าวิศวกรเครือข่ายได้เป็นอย่างดี

3. การเชื่อมต่อระหว่างคลาวด์
ด้วยการเติบโตอย่างรุนแรงของไฮบริดจ์คลาวด์ ทำให้บริษัทต่างๆ มองหาโซลูชั่นการเชื่อมต่อระหว่างไพรเวทและพับลิกคลาวด์ ซึ่งมักจะมีค่าใช้จ่ายมหาศาลตามมา จึงมีผู้จำหน่ายบางราย เช่น Nuage Networks ที่ให้การเชื่อมต่อแบบอัตโนมัติระหว่างดาต้าเซ็นเตอร์ของบริษัท กับทรัพยากรบนพับลิกคลาวด์ หรือแม้แต่ VMware ที่มีความร่วมมือกับ Amazon Web Services เพื่อให้การเชื่อมต่อระหว่างพับลิกและไพรเวทคลาวด์ผ่านซอฟต์แวร์ NSX เป็นต้น

4. ความสามารถในการมองเห็น และวิเคราะห์เครือข่าย
หลายปีที่ผ่านมา ทูลประเภทนี้ใช้วิธีการดูดข้อมูลออกมาจากเครือข่าย แต่ในปัจจุบันผู้จำหน่ายหลายรายใช้การตรวจสอบจากระยะไกลหรือ Telemetry พร้อมใช้ทูลวิเคราะห์แบบ Big-Data เพื่อส่งผลมาให้ลูกค้าแทน ไม่ว่าจะเป็นของ Juniper, Arista, หรือ Cisco โดยทาง cisco มีผลิตภัณฑ์ชื่อว่า Tetration, ขณะที่ Arista ใช้เทคโนโลยี CloudVision, ส่วน Juniper ใช้แพลตฟอร์มโอเพ่นซอร์สชื่อ OpenNTI ที่มีอยู่บน GitHub ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการใช้เซ็นเซอร์ตรวจจับข้อมูลจากลูกค้าทุกรายทั่วโลก เพื่อให้ลูกค้าแต่ละรายได้ข้อมูลเจาะลึกถึงต้นเหตุปัญหาได้ชัดเจนกว่า

ที่มา : http://www.networkcomputing.com/data-centers/4-emerging-networking-trends/728900591