หน้าแรก Cloud 3 วิธีการด้าน Location-based services เพื่อติดตามตำแหน่งผู้คน

3 วิธีการด้าน Location-based services เพื่อติดตามตำแหน่งผู้คน

แบ่งปัน
Image credit : disney

เทคโนโลยีการติดตามตำแหน่งที่ตั้งนั้น ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะภาคธุรกิจอย่างมากแล้วในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้ GPS แต่ทว่า คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดว่าจีพีเอสสามารถใช้ติดตามตำแหน่งภายในอาคารได้ด้วย ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วแทบเป็นไปไม่ได้เลย เนื่องจากจีพีเอสต้องอาศัยสัญญาณสะท้อนจากจานดาวเทียมหลายตัวพร้อมกันเพื่อให้ได้พิกัดที่แม่นยำจริง

ดังนั้น การติดตามตำแหน่งภายในอาคาร จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีประเภทอื่น โดยที่นิยมมากที่สุดมีอยู่ 3 แบบ ได้แก่ Wi-Fi, บลูทูธ, และ RFID โดยเฉพาะการอาศัยการส่งสัญญาณจากอุปกรณ์พกพา ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่ปัจจุบันต่างส่งเสริมให้ลูกค้าโหลดแอพของตนเองเพื่อช่วยอำนวยความสะดวก และให้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษล่อใจในการใช้งานอยู่แล้ว

1. Wi-Fi

มีหลายผู้ให้บริการมีการบริการอิงตามตำแหน่งที่ตั้ง หรือ LBS (Location-based services) ด้วย บริการนี้จะใช้หลายพารามิเตอร์ของ Wi-Fi ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการรับสัญญาณ, ที่อยู่ MAC, ความแรงของสัญญาณ เป็นต้น ในการระบุตำแหน่งของอุปกรณ์ลูกข่าย ซึ่งบริการนี้มักถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เพราะพื้นที่ภายในอาคารส่วนใหญ่ต่างติดตั้งอุปกรณ์ Wi-Fi ไว้อยู่แล้ว แถมยังไม่ต้องอาศัยการรับรู้หรืออนุญาตของเจ้าของอุปกรณ์ลูกด้วย เพราะอุปกรณ์ Wi-Fi สามารถสแกนเครือข่ายเพื่อตรวจหาข้อมูลอปกรณ์โดยรอบได้อยู่แล้ว

2. RFID

ใช้ชิปเล็กๆ หรือป้ายแท๊กที่ติดกับไอเท็มบางอย่าง ซึ่งชิปเล็กๆ พวกนี้มีราคาถูก และไม่ต้องให้พลังงานไฟฟ้าคอยหล่อเลี้ยงให้ทำงาน ป้ายแท๊กนี้ใช้สะท้อนสัญญาณกลับไปยังตัวส่ง ที่เราเห็นบ่อยก็เช่น สติกเกอร์อีซี่พาสที่ใช้ผ่านด่านเก็บค่าทางด่วน, ป้ายแท๊กบนหนังสือในหอสมุด, หรือแม้แต่แถบรัดข้อมือสำหรับใช้ผ่านประตูเล่นเครื่องเล่นของดิสนีย์แลนด์ เป็นต้น แต่เนื่องจากการนั่งติดแท๊กกับทุกไอเท็มที่ต้องการในพื้นที่ภายในอาคารค่อนข้างยุ่งยาก จึงมักใช้เทคโนโลยี RFID นี้ ประมวลผลร่วมกับอุปกรณ์ Wi-Fi หรือ Bluetooth

3. Bluetooth

ใช้การกวาดหาสัญญาณด้วยบลูทูธ โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy หรือ BLE ซึ่งต่างจากบลูทูธปกติที่ใช้แพร์จับคู่อุปกรณ์พกพาที่เรามักใช้กันบ่อยๆ ซึ่งการใช้การกวาดจับสัญญาณด้วย BLE นี้ จำเป็นที่เจ้าของอุปกรณ์ลูกต้องรับรู้และกดอนุญาตด้วย BLE นี้ใช้พลังงานได้ประหยัดกว่าบลูทูธทั่วไปมาก เรียกได้ว่าแบตเตอรี่ชุดหนึ่งสามารถทำงานต่อเนื่องได้หลายปีโดยไม่ต้องชาร์จใหม่เลยทีเดียว แต่ก็มีข้อจำกัดตามธรรมชาติของบลูทูธคือ เหมาะกับการรับส่งสัญญาณในระยะใกล้ๆ เท่านั้น ตัวกวาดสัญญาณจับบลูทูธ หรือที่เรามักเรียกว่า Beacon หรือ Active RFID นี้ จะส่งสัญญาณกวาดรอบตัวเหมือนประภาคาร ซึ่งตัวรับสัญญาณอย่างสมาร์ทโฟน จะเอาสัญญาณบลูทูธที่ได้มาประมวลผล ทำงานร่วมกับแอพหรือเครือข่ายอื่นสำหรับตีความตำแหน่งที่ตั้งโดยเฉพาะ

ที่มา : http://www.networkworld.com/article/3208767/internet-of-things/3-ways-to-track-people-using-location-based-services.html