หน้าแรก Cloud สรุปภาพบรรยากาศ IoT & Cloud Thailand 2017 อัพเดตเทคโนโลยีคลาวด์ และ IoT จากพันธมิตรชั้นแนวหน้า

สรุปภาพบรรยากาศ IoT & Cloud Thailand 2017 อัพเดตเทคโนโลยีคลาวด์ และ IoT จากพันธมิตรชั้นแนวหน้า

แบ่งปัน

เพื่ออัพเดต 2 เทคโนโลยีหลักที่คาดการณ์ว่าจะมาแรงในปี 2017 นี้ อย่างคลาวด์ และอินเทอร์เน็ตของสิ่งของ (IoT) ทาง Enterprise ITPro ที่จัดงาน IoT & Cloud Thailand 2017 ขึ้นเมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา ณ ห้อง อโนมา 2-3 ชั้น 3 โรงแรมอโนมา โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญ และพันธมิตรทางด้านไอทีชั้นนำ ที่ประกอบด้วย บริษัท ลีพ โซลูชั่น เอเชีย จำกัด บริษัท ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย จำกัด บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท อี้ หร้ง คอนซัลแตนท์ส จำกัด บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไอเอฟเอส โซลูชั่นส์ ไทย จำกัด บริษัท เอสเอพี และ UIH & Cloud HM มาให้ข้อมูล

และเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์ ระบบ ERP บนคลาวด์ รูปแบบการให้บริการบนคลาวด์แบบ PaaS, IaaS และ SaaS แนวโน้มและทิศทางที่น่าสนใจของคลาวด์ รวมถึง IoT และระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อช่วยให้ผู้ร่วมงานรับรู้แนวโน้ม และนำเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร และการดำเนินธุรกิจ

คุณไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการอิสระ และอดีตคณะอนุกรรมการกำหนดแผนคลื่นความถี่แห่งชาติ กสทช. ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มทางด้าน IoT ที่จะเกิดขึ้นไว้ 5 เรื่อง โดยเรื่องแรกในด้านของอุปกรณ์ IoT จะฉลาดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในแง่ของฟังก์ชันการทำงานจะซับซ้อนมากกว่าที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันมาก

pairoj
คุณไพโรจน์ ไววานิชกิจ นักวิชาการอิสระ และอดีตคณะอนุกรรมการกำหนดแผนคลื่นความถี่แห่งชาติ กสทช.

เรื่องที่สอง การหาคนมาดูแลโครงการที่เกี่ยวกับสมาร์ทโซลูชั่นจะยากขึ้น ตัวอย่างเช่น คนที่จะมาดูแลโครงการสมาร์ทซิตี้จะค่อนข้างหายาก เพราะไม่ใช่แค่มีความรู้ทางด้านไอทีอย่างเดียวจะสามารถทำได้ แต่ต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในหลายๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมือง

iot

ซึ่งแต่ละเรื่องแต่ปัญหาก็มีความต้องการเซ็นเซอร์ที่แตกต่างกันออกไป ยังไม่นับรวมในเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งต้องมีการดึงเอาข้อมูลที่แตกต่างจากหน่วยงานหลากหลายมารวมกัน แม้ว่าอาจจะยังไม่ถึงขั้นขาดบุคลากรที่จะมาดูแลในเรื่องนี้ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาก็คือ บุคลากรมีทักษะไม่ครบตามที่ต้องการ

เรื่องที่สามความยั่งยืนของสมาร์ทโซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นมาว่าจะอยู่ได้ยาวนานแค่ไหน เพราะทุกวันนี้เราพัฒนาโดยเอาเทคโนโลยีนำหน้า แต่ไม่ได้วางแผนทางธุรกิจว่าสุดท้ายแล้วจะไปทิศทางไหนถึงจะอยู่รอด ซึ่งหากไม่มีการวางแผนที่ดีพัฒนาออกมา 3-4 เดือนก็อาจถูกฆ่าด้วยโซลูชั่นที่บริษัทสตาร์ทอัพพัฒนาขึ้นมาใหม่

iot cloud

 

เรื่องที่สี่คือ การรักษาความปลอดภัย ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะคนที่จะถูกแฮ็กได้ง่ายที่สุดก็คือ ผู้ใช้ทั่วไป และอุปกรณ์ IoT ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็เป็นของผู้ใช้ทั่วไป อย่างเมื่อปีที่ผ่านมาก็เกิดกรณีของการแฮ็กสมาร์ทวอช และกล้องวงจรปิดขึ้นแล้ว เพราะฉะนั้นในการติดตั้งใช้งานอุปกรณ์ IoT ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น เพราะในอนาคตจะมีแฮ็กเกอร์ที่นำช่องโหว่เหล่านี้ไปหาผลประโยชน์อย่างแน่นอน

iot cloud

นอกจากนี้อีกสาเหตุหนึ่งของการถูกแฮ็กก็มาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวอุปกรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะของการปะพุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงจรการใช้งาน IoT นั้นค่อนข้างสั้น ผลิตภัณฑ์มาเร็วไปเร็ว เมื่อใช้วิธีพัฒนาซอฟต์แวร์แบบปะพุแล้วไม่คนมาดูแลอย่างจริงจัง ก็จะเกิดรูโหว่ขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานในการพัฒนาซอฟต์แวร์ IoT