หน้าแรก Advertorial ขยายสัญญาณเครือข่ายได้แรงกว่าเดิมด้วย TP-Link AC1200 Wi-Fi (RE305)

[รีวิว] ขยายสัญญาณเครือข่ายได้แรงกว่าเดิมด้วย TP-Link AC1200 Wi-Fi (RE305)

แบ่งปัน

ปัญหาอย่างหนึ่งของผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านระบบ Wi-Fi โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราท์เตอร์แบบโฮมยูสที่แถมมากับโอเปอเรเตอร์ ก็คือ สัญญาณมักจะอ่อนแรงเมื่อมีการใช้งานในพื้นที่ที่ไกลสัญญาณ เช่น ผู้ใช้งานทำงานอยู่คนละชั้นกับตัวเราท์เตอร์ หรือไม่ก็อยู่คนละห้องและมีผนังกั้น สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือสัญญาณไวร์เลสไปไม่ถึง ทำให้เล่นเน็ตสะดุด หรือกระตุกอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

TP-Link เล็งเห็นประเด็นดังกล่าวนี้ จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ในการช่วยขยายสัญญาณออกมาเป็นทางเลือกและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า Range Extender รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ชื่อว่า TP-Link AC1200 Wi-Fi (RE305) เป็นระบบขยายสัญญาณแบบ Dual Band Wi-Fi รองรับคลื่นความถี่ที่ 2.4GHz และ 5GHz ให้ความเร็วรวมสูงสุด 1,167 Mbps ซึ่งจริงๆ แลัว TP-Link มี Range Extender ออกมาหลายรุ่นให้เลือกใช้งาน อย่างเช่น ตัว TP-Link AC750 เป็นต้น

วิเคราะห์ตัวอุปกรณ์

ตัว TP-Link RE305 จะมีลักษณะเป็นอุปกรณ์สี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัด โดยด้านข้างมีเสารับ-ส่งสัญญาณสองเสาสามารถปรับได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง และมีปลั๊กเสียบสามารถต่อกับปลั๊กไฟได้ทันที

ปุ่มและไฟ LED

สำหรับปุ่มและไฟ LED แสดงสถานะของ RE305 ประกอบไปด้วย

1. ปุ่มสำหรับใช้งานระบบ Wi-Fi Protected Setup (WPS) ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งที่เอาไว้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์กที่รองรับ WPS เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งคู่รู้จักกันในทันที

2. ไฟ LED แสดงสถานะของ TP-Link RE305 มีอยู่ด้วยกัน 4 จุด ประกอบด้วย
– Power : สำหรับดูการทำงานของเครื่อง
– Signal : สำหรับดูสัญญาณของเครือข่าย (ถ้าเป็นสีน้ำเงินสัญญาณแรง ถ้าเป็นสีแดงแสดงว่าสัญญาณอ่อน อาจจะต้องเปลี่ยนตำแหน่งการติดตั้ง)
– 2.4 GHz : จะติดเมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายคลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิร์ตซ์
– 5 GHz : จะติดเมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายคลื่นความถี่ 5 กิกะเฮิร์ตซ์


3. ปุ่ม Reset
เพื่อใช้ในการรีเซตค่าเดิมที่มาจากโรงงาน

4. พอร์ต RJ45 สำหรับต่อระบบ LAN และเอาไว้คอนฟิกค่าเริ่มต้น

การติดตั้ง

การติดตั้งอุปกรณ์ TP-Link RE305 มี 2 วิธีด้วยกัน (มีคู่มือให้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

รูปแบบที่หนึ่ง : การติดตั้งผ่านทางหน้าเว็บบราวเซอร์
1. โดยเสียบอุปกรณ์ TP-Link RE305 เข้ากับปลั๊กไฟ จากนั้นให้คุณค้นหาสัญญาณเครือข่าย (SSID) ที่ชื่อว่า TP-Link_Extender (ปกติเป็นค่าดีฟอลต์) และเชื่อมต่อกับเครือข่ายดังกล่าวนั้น

2. เปิดหน้าเว็บขึ้นมา ให้พิมพ์ http://tplinkrepeater.net/ เพื่อเข้าสู่หน้า Login จากนั้นก็ให้คุณใส่คำว่า admin ทั้งในช่องยูสเซอร์เนมและพาสส์เวิร์ด (เป็นค่าดีฟอลต์ของอุปกรณ์)

3. มันจะให้สร้าง Account ขึ้นมาอีกอันหนึ่ง (เพื่อเอาไว้ใช้หลังจากติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้วโดยจะเอาไว้ใช้ในหน้าบริหารจัดการผ่านทางเว็บ และใช้กับแอพพลิเคชั่น TP-Link Tether)

4. เข้าสู่หน้าจอเพื่อเลือกดูเราท์เตอร์ของคุณเอง ซึ่งสามารถตั้งค่าได้ทั้งแบบความถี่ที่ 2.4GHz และ 5GHz (สำหรับเราท์เตอร์หลักของผมรองรับ 2.4 GHz เท่านั้น) และใส่พาสส์เวิร์ดเดิมที่เคยใช้อยู่

5. ต่อมามันจะให้คุณเลือกว่าจะใช้ชื่อเครือข่าย (SSID) อันเดิม หรือชื่อใหม่ก็ได้ (ในที่นี้ เพื่อป้องกันความสับสน ผมได้ตั้งชื่อเครือข่ายใหม่เป็น TP-Link_Extender)

6. ตัว TP-Link RE305 จะทำการรีสตาร์ทตัวเองหนึ่งครั้ง และแค่นี้คุณก็ใช้งานได้แล้ว

รูปแบบที่สอง : การใช้เทคโนโลยี WPS (กรณีนี้เราท์เตอร์หลักต้องรองรับ WPS ด้วย)
โดยเสียบอุปกรณ์ TP-Link RE305 เข้ากับปลั๊กไฟ เพียงแค่กดปุ่ม WPS ของอุปกรณ์ทั้งคู่ (ภายในระยะเวลา 2 นาที) มันก็จะเริ่มจับคู่ระหว่างกันและส่งค่าต่างๆ ด้วยกันอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นตัว SSID, รหัสผ่าน

หน้าบริหารจัดการ

คุณสามารถบริหารจัดการตัว TP-Link RE305 ได้จากหน้าแดชบอร์ดได้อย่างง่ายดาย โดยเข้าไปที่หน้าเว็บ http://tplinkrepeater.net/ และให้ใส่ยูสเซอร์เนมที่คุณสร้างไว้ในตอนที่ทำการติดตั้งครั้งแรก ซึ่งสำหรับหน้าบริหารจัดการนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
หน้า Status จะบอกภาพรวมของสถานะการทำงานของอุปกรณ์และสัญญาณเครือข่ายที่ใช้อยู่


หน้า Wireless จะแสดงให้เห็นถึงเครือข่ายที่คุณเชื่อมต่ออยู่ ว่าเครือข่ายหลักมีชื่อว่าอะไร และเครือข่ายที่เป็นส่วนขยายมีชื่อว่าอะไร รวมถึงค่าคอนฟิกูเรชั่นต่างๆ ด้วย


หน้า Network เป็นเมนูที่จะช่วยให้คุณสามารถกำหนดข้อมูลด้านเครือข่ายต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเลือกคอนฟิกค่าไอพีแบบระบุไอพีเอง หรือเป็นการรับไอพีโดยเปิดฟังก์ชันการใช้ DHCP ก็ได้ ซึ่ง DHCP เองก็ยังสามารถที่จะเลือกช่วงไอพีให้ใช้งานได้อีกด้วย


หน้า Advanced Settings จะเป็นเมนูในการกำหนดการตั้งค่าปิดเปิดตัวอุปกรณ์ตามที่เราต้องการ, เลือกความแรงของสัญญาณได้ 3 ระดับ, และยังสามารถที่จะบล็อกการใช้งานหรือเปิดการใช้งานให้แก่อุปกรณ์ที่เข้ามาเชื่อมต่อได้


หน้า System Tools จะเป็นเมนูเกี่ยวกับระบบทั่วไปเช่นการตั้งค่าเวลาและไทม์โซน, การระบุให้มีการเปิดปิดไฟ LED, การอัพเกรดเฟิร์มแวร์, การแบ็กอัพและการรีสโตร์เครื่อง, การตั้งค่าบัญชี และสุดท้ายการดูล็อกของระบบที่เกิดขึ้น

ทดสอบประสิทธิภาพ

เราได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของตัว TP-Link RE305 ด้วยการนำไปติดตั้งในอีกห้องหนึ่งซึ่งอยู่คนละชั้นกับตัวเราท์เตอร์ ซึ่งห้องดังกล่าวนี้เป็นห้องที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายของเราท์เตอร์ปกติจะเข้าไปไม่ค่อยถึง และเวลาใช้อินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นการดู Youtube, หรือดาวน์โหลดไฟล์งานต่างๆ จะช้าและมีอาการกระตุกมาก แต่พอเราเปลี่ยนมาจับสัญญาณเครือข่ายจาก TP-Link RE305 ปรากฏว่าสัญญาณเครือข่ายแรงขึ้นมาทันที (เต็ม 5 ขีด)

ก่อนใช้ TP-Link RE305
หลังใช้ TP-Link RE305

และเราทำได้ทำการทดสอบกับแอพพลิเคชั่น LAN Speed Test ที่เอาไว้ทดสอบความเร็วของเครือข่ายในวง LAN โดยทำการจำลองการสร้าง Package Length ขนาด 1024 MB ขึ้นมา และโปรแกรมจะทำการซิมมูเลตระบบการอัพและดาวน์โหลด ใช้เวลาขาอัพเพียงแค่ 11.3 วินาที ส่วนขาดาวน์โหลดประมาณ 15.5 วินาที ซึ่งผลตัวเลขที่ได้ก็ออกมาประทับใจเลยทีเดียว

แอพพลิเคชั่น Tether

TP-Link ได้ออกแอพพลิเคชั่นที่น่าสนใจชื่อว่า Tether มาให้ใช้งานผ่านทางสมาร์ทโฟนไม่ว่าจะเป็น iOS และ Android ซึ่งเพียงแค่ดาวน์โหลดลงมาและเข้าสู่หน้าบริหารจัดการผ่านทางยูสเซอร์เนมและพาสส์เวิร์ดที่สร้างไว้ตอนแรก โดยมีเครื่องมือขนาดย่อมให้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการปิดเปิดไฟ LED, การบล็อกการทำงานหรือการเปิดการใช้งานให้แก่อุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อ Wi-Fi, การกำหนดเวลา, ปิดเปิดเครื่อง และอื่นๆ เป็นต้น

บทสรุป

TP-Link RE305 ถูกออกแบบมาให้สามารถช่วยขยายสัญญาณเครือข่ายให้ทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในจุดที่อับสัญญาณหรือสัญญาณเข้าไปไม่ถึง อีกทั้งยังมีฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ที่สามารถปรับแต่งได้อย่างมากมาย เช่น การกำหนดค่าไอพีได้, การบล็อกการทำงานหรือการเปิดการใช้งานให้แก่อุปกรณ์ที่มาเชื่อมต่อ Wi-Fi ของเราได้, การปิดเปิดไฟ LED ได้ตามความต้องการ เป็นต้น ด้านความเร็วนั้นก็สามารถขยายได้สูงถึงระดับกิกะบิตเลยทีเดียว นอกจากนั้นแล้วมันยังมีความสามารถเหนือกว่าพวกอุปกรณ์ขยายสัญญาณแบบ Power Line อีกด้วยตรงที่ มันจะเสียบกับปลั๊กใดก็ได้ เช่น ปลั๊กราง, ปลั๊ก 3 ตาทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องไปเสียบกับสายไฟหลักร่วม (เพื่อให้เครือข่ายเชื่อมโยงถึงกัน) นอกจากนั้นแล้วตัวแอพพลิเคชั่น TP-Link Tether ก็สะดวกสบายทำงานได้ผ่านทางมือถือทั้ง iOS และ Android ด้วความสามารถทั้งหมด ช่วย TP-Link AC1200 Wi-Fi RE305 เป็นคำตอบที่ยอดเยี่ยมในการเลือกอุปกรณ์ขยายสัญญาณเครือข่ายไร้สายมาใช้งาน ราคาจำหน่ายที่ 1,790 บาท พร้อมการรับประกันแบบ Limited Lifetime Warranty

ท่านใดสนใจสามารถติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
www.tp-linkco.th , Line :@tplink , Facebook: www.facebook.com/TPLinkTH