หน้าแรก Cloud รวมฮิต 14 มาตรฐาน Wi-Fi และคุณสมบัติต่างๆ ฉบับรวดรัด

รวมฮิต 14 มาตรฐาน Wi-Fi และคุณสมบัติต่างๆ ฉบับรวดรัด

แบ่งปัน

มาตรฐานของ Wi-Fi นั้น ต่างถูกผนวกรวมอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า 802.11 ที่ควบคุมโดยคณะกรรมการที่เรียกว่า IEEE ซึ่งตัวอักษรด้านหลังบ่งบอกถึงรูปแบบเทคโนโลยีในระดับกายภาพหรือ PHY ที่แตกต่างกัน ตามนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ออกมา ซึ่งแต่ละมาตรฐานย่อยมีลักษณะและสเปก โดยเฉพาะด้านความเร็วการส่งข้อมูลต่างๆ เรียงตามตัวอักษรด้านหลังดังต่อไปนี้

• กลุ่มที่มีใช้อยู่ปัจจุบัน
– 802.11ah รู้จักกันในชื่อ Wi-Fi HaLow เป็นเครือข่ายในช่วงคลื่นความถี่ต่ำกว่า 1GHz ที่ไม่รวมช่วงคลื่น TV White Space ใช้ในการขยายบริเวณครอบคลุมสัญญาณที่กว้างไกลกว่าคลื่นช่วง 2.4GHz และ 5GHz ปกติ ด้วยคุณสมบัติของความถี่ที่ต่ำทำให้ส่งสัญญาณได้ไกลกว่าเดิม ให้ความเร็วได้ 347Mbps เน้นการใช้พลังงานต่ำ เหมาะกับเครือข่าย IoT

– 802.11ad เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงถึง 6.7Gbps วิ่งบนคลื่นความถี่ 60GHz แต่จำกัดระยะได้แค่ 3.3 เมตรจากแอคเซสพอยต์เท่านั้น

– 802.11ac เป็นมาตรฐานที่ใช้กับเราท์เตอร์ตามบ้านยุคปัจจุบัน ใช้คลื่น 5GHz ร่วมกับเสาอากาศแบบหลายเสาหรือ MIMO ที่ช่วยลดการรับส่งข้อมูลที่ผิดพลาดและยกระดับความเร็วได้มากถึง 3.46Gbps และรองรับเทคโนโลยีเก่ากว่าอย่าง 802.11b/g/n

– 802.11n เป็นมาตรฐานแรกที่ใช้กับเสาอากาศแบบ MIMO ตั้งแต่ยุค 2553 โดยใช้สองคลื่นร่วมกันทั้ง 2.4 และ 5GHz ด้วยความเร็วมากสุดที่ 600Mbps เป็นที่มาของคำว่า Dual-Band

– 802.11g เป็นเทคโนโลยีโลกยุคกลางที่มาแทน 802.11b ด้วยความเร็วที่ทำได้ถึง 54Mbps บนคลื่น 2.4GHz ซึ่งเทียบเท่า 802.11a แต่สามารถวิ่งบนคลื่นความถี่ต่ำกว่าได้

• กลุ่มโลกยุคเก่า
– 802.11a เป็นเทคโนโลยีแรกที่ใช้ตัวอักษรแยกความแตกต่างด้านหลัง สื่อสารบนคลื่น 5GHz ด้วยความเร็ว 54Mbps แต่เปิดตัวออกมาใช้จริงหลัง 802.11b และสร้างความงงงวยแก่ผู้ใช้เนื่องจาก a และ b ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เพราะใช้คนละคลื่นความถี่

– 802.11b เป็นมาตรฐานแรกสุดที่ใช้กับเราท์เตอร์ตามบ้านยุคแรกเริ่ม วิ่งบนคลื่น 2.4GHz ให้ความเร็วที่ 11Mbps แม้จะออกเป็นสินค้าในตลาดจริงก่อน 802.11a แต่พอ 802.11a นำมาใช้จริงแล้ว คนกลับหนีมาซบออก b กันหมด

– 802.11-1997 มาตรฐานแรกสุดของตระกูลนี้ ให้ความเร็วที่ 2Mbps วิ่งบนคลื่น 2.4GHz โดยให้ระยะครอบคลุมอยู่ที่ 66 ฟุตสำหรับในอาคาร และ 330 ฟุตสำหรับภายนอกอาคาร ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในห้องใดห้องหนึ่งเท่านั้น

• กลุ่มเทคโนโลยีใหม่ในอนาคต
– 802.11aj มีชื่อเล่นว่า China Milimeter Wave ปรับแต่งมาจาก 802.11ad เพื่อใช้งานในจีนสำหรับย่านความถี่ 59 – 64GHz เพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยีก่อนหน้าอย่าง 802.11ad ที่ใช้ 60GHz ได้ ซึ่งมาตรฐานน่าจะออกมาได้อย่างเป็นทางการในปลายปีนี้

– 802.11ak ออกมาเพื่อเป็นการเชื่อมต่อลิงค์ภายในระหว่างเครือข่ายบริดจ์แบบ 802.1q ระหว่างอุปกรณ์ไร้สาย 802.11 ที่มีการเชื่อมต่อร่วมกับอีเธอร์เน็ตหรือ 802.3 ทั้งนี้เพื่อยกระดับทั้งด้านความปลอดภัยและ QoSกำหนดเปิดตัวปลายปีนี้เช่นกัน

– 802.11ax รู้จักกันในชื่อ High Efficiency WLANออกมาเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของการติดตั้งเครือข่ายไร้สายในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานหนาแน่น เช่นในสนามกีฬา หรือสนามบิน ซึ่งทำงานทั้งบนคลื่น 2.4GHz และ 5GHzโดยพุ่งเป้าไปที่การเพิ่มทรูพุตมากกว่า 802.11n และ 802.11ac ให้ได้ถึง 4 เท่า ด้วยการใช้ช่วงสเปกตรัมของคลื่นให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม คาดว่ามาตรฐานนี้จะออกมาให้ใช้ได้ภายในกลางปี 2562

– 802.11ay ใช้ชื่อว่า Next Generation 60GHzออกมาเพื่อรองรับทรูพุตสูงสุดที่ 20Gbps สำหรับข้อมูลที่วิ่งบนคลื่น 60GHz รวมทั้งเพิ่มระยะครอบคลุมสัญญาณ และเสถียรภาพด้วย กำหนดเปิดตัวน่าจะภายในปลายปี 2562

– 802.11az หรือ Next Generation Positioning (NGP)ออกมาเพื่อใช้สัญญาณไร้สายในการหาตำแหน่งของสถานีรับส่งที่แน่นอนโดยใช้โปรโตคอล Fine Timing Measurement (MTM)ซึ่งจะช่วยลดการใช้สื่อและพลังงานไฟฟ้า และรองรับการติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานหนาแน่นสูงด้วย คาดว่าจะออกมาในช่วงต้นปี 2564

– 802.11ba รู้จักกันในชื่อ Wake-Up Radio (WUR)มีเจตนาเพื่อยืดอายุแบตเตอรี่ของอุปกรณ์และตัวเซ็นเซอร์บนเครือข่าย IoT โดยลดความจำเป็นในการชาร์จพลังงานสำหรับรับส่งคลื่นความถี่ และลดความถี่ในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ขณะที่ยังรักษาประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ได้ในระดับสูงสุด คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงกลางปี 2563

ที่มา : https://www.networkworld.com/article/3238664/wi-fi/wi-fi-standards-and-speeds-explained-compared.html