หน้าแรก Home feature ถอดรหัส ! ดราม่า King I.T. และ TP-Link จบไม่สวยเท่าที่ควร

ถอดรหัส ! ดราม่า King I.T. และ TP-Link จบไม่สวยเท่าที่ควร

แบ่งปัน

ก็เป็นกระแสวิพากษ์วิจาร์ณเมื่่อช่วงเช้า ที่ King I.T.  หรือ บริษัท คิงส์ อินเทลลิเจ้นท์ เทคโนโลยี จำกัด  และเรียกได้ว่ามีดราม่ากับทาง TP-Link ซึ่งเป็นเวนเดอร์ตัวจริงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2014 แล้วจากการที่เข้ามาทำตลาดของทาง TP-Link ที่มาตั้งบริษัทชื่อว่า บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด  ซึ่งก็มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายตามระดับโกลบอล แต่ King I.T. ดันไม่อยากทำตาม และในท้ายที่สุดก็บอกว่าจะหยุดดำเนินธุรกิจกับ TP-Link

แต่ TP-Link เองพอทราบข่าว ก็ร่อนจดหมายแถลงการณ์ออกมาเหมือนกัน โดยเนื้อหาใจความข่าวสรุปได้ดังนี้ คือ TP-Link บอกขอถอด King I.T ออกจากการเป็นผู้จำหน่ายเช่นกัน

มันเกิดอะไรขึ้น…? เราขอแยกประเด็นออกมาดังนี้

1. King I.T. นั้นให้ข้อมูลว่า (ผ่านเพจตัวเอง ซึ่งดันใชื่อว่า TP-Link Thailan – ตลกตรงนี้แหล่ะ) ทาง TP-Link เมืองนอกมาจัดระเบียบใหม่ พร้อมลดการรับประกันจาก  “LIFETIME FOREVER” เป็น “Lifetime Warranty Limited” ซึ่งณ จุดๆ นี้ ทาง King I.T. รับไม่ได้ และเกิดอึดอัดใจ กดดันและเสียใจเป็นอย่างมาก

2. ด้วยเหตุข้างต้นทำให้ King I.T. จึงตัดสินใจหยุดดำเนินธุรกิจกับ TP-Link อีกต่อไป

3. ด้าน TP-Link นั้นบอกว่า จริงๆ แล้ว King I.T. ทำไม่ถูกเพราะไปละเมิดข้อตกลงข้อหลัก โดยเฉพาะการนำสินค้าคู่แข่งแบบเดียวกันมาจำหน่าย รวมถึงยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า

สามข้อนี้คือเรื่องราวดราม่าทั้งหมดที่เกิดการสั่นคลอนระหว่าง คู่หูที่ทำตลาดมานานต้องมาขาดลง  อย่างไรก็ตามเราในฐานะสื่อกลางขอวิเคราะห์มุมมองตามหลักสากลทั่วไป ซึ่งเรามองว่า King I.T. อาจจะเกิดอาการรับไม่ได้ และเสียใจจาการเปลี่ยนแปลงของ TP-Link ซึ่งถ้าหากมองเป็นเพื่อนก็น่าน้อยใจอยู่ แต่ในแง่ของธุรกิจแล้ว TP-Link เขาเป็นเจ้าของแบรนด์ เขาก็อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไร เขาก็สามารถทำได้ ซึ่งถ้า King I.T. ไม่พอใจ ก็สามารถเลิกได้ปกติ

เพียงแต่ว่า ดราม่ามันอยู่ตรงที่ King I.T. ดันไปขายผลิตภัณฑ์แบรนด์อื่นๆ ซึ่งชนกับ TP-Link น่ะสิ ตรงนี้เป็นสิ่งที่เกิดข้อความที่เรียกว่า “ละเมิดข้อตกลง” รวมถึง “ยอดขายที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย” ทำให้ TP-Link ก็สุดทน และต้องถอด King I.T. ในที่สุด

งานนี้จบไม่ค่อยสวยเท่าไหร่นัก !

ปอลิง – ปัจจุบัน บริษัท คิงส์ ไอ.ที. จำกัด ก็ขายปกรณ์ Network หลากหลายแบนด์จากหลายประเทศ อาทิเช่น NETGEAR (USA), CAMBIUM (USA), EDIMAX (TAIWAN), PLANET (TAIWAN), TOTOLINK (KOREA) ส่วนด้าน TP-LINK ก็ยังคงวางจำหน่ายในประเทศไทย เพื่อตอบสนองตลาดเทคโนโลยีที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผ่านตัวแทนชั้นนำ ได้แก่ Advice, Com7, JIB, Power Buy, Big C, Office Mate และร้านค้าทั่วไปภายในห้าง IT ทั่วประเทศ