หน้าแรก Applications งานเข้า Mark Zuckerberg กับกรณีที่ Facebook ตัดสินใจเซ็นเซอร์ภาพเด็กกับระเบิดนาปาล์มในสงครามเวียตนาม

งานเข้า Mark Zuckerberg กับกรณีที่ Facebook ตัดสินใจเซ็นเซอร์ภาพเด็กกับระเบิดนาปาล์มในสงครามเวียตนาม

แบ่งปัน
ภาพหน้าปกของหนังสือพิมพ์ Aftenposten

ข่าวกระฉ่อนนี้ได้รับการแถลงโดยนายกรัฐมนตรีของประเทศนอรเวย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กล่าวติเตียนพฤติกรรมของ Facebook ที่ตัดสินลบภาพอันลือชื่อของเด็กผู้หญิงเปลือยในดงระเบิดนาปาล์มสมัยสงครามเวียตนาม

งานนี้โดนอีกเด้งเมื่อนาย Aspen Egil Hansen บรรณาธิการบริหารของ Aftenposten ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่เป็นเจ้าตลาดของนอรเวย์ ตัดสินใจส่งหนังสือเปิดผนึกไปให้กับ Mark Zuckerburg CEO ของ Facebook ประณาม Mark และ Facebook ว่ามีพฤติกรรมเป็นจอมอิทธิพล เที่ยวลบโพสต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงคราวเวียตนามจากการโพสของนาย Nick Ut ทั้ง ๆ ที่ 7 รูปในกลุ่มนี้ได้รับการยกย่องจากนักเขียนเลื่องชื่ออย่างนาย Tom Egeland ว่ามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของสงคราม แถมหนึ่งในภาพนั้นก็คือภาพของนาง Kim Phuc สมัยเป็นเด็กหญิงเปลือยวิ่งอยู่ในดงระเบิดนาปาล์ม

นาย Hansen กล่าวว่า Facebook ถึงขั้นระงับแอ็กเคานท์ของนาย Egeland ทันทีหลังจากเขาได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์ ลองมาดูสำนวนอันแสบร้อนในจดหมายกัน “Mark เรื่องนี้ร้ายแรงมาก อันดับแรก คุณเที่ยวไปตั้งกฎไม่ยอมรับภาพเปลือยของเด็กและสงครามต่าง ๆ แล้วหลังจากนั้นคุณก็สั่งให้ใช้กฏนีี้โดยไม่มีการอะลุ้มอล่วย แล้วที่หนักที่สุดก็คือคุณไม่ยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ และไม่ยอมให้มีใครหยิบเรื่องที่มีคนวิจารณ์มาพูด ใครทำแบบนั้นคุณก็เที่ยวไปลงโทษเขา”

มาฟังอีกคำพูดจากนาย Ema Solberg นายกรัฐมนตรีของนอรเวย์ “Facebook ทำผิดอย่างมหันต์ที่เที่ยวเซ็นเซอร์ภาพเหล่านั้น เพราะเท่ากับเป็นการปิดกั้นอิสรภาพในการแสดงออกของคน ผมยอมรับเรื่องของสุขภาพ เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็น ไม่ปิดกั้นเรื่องของออนไลน์ และยอมให้ใครไปที่ไหนก็ได้ แต่ผมไม่ยอมรับวิธีคิดของคุณที่เที่ยวไปเซ็นเซอร์เรื่องเหล่านี้”

มาฟัง Facebook กันบ้าง บริษัทแจ้งว่ายอมรับว่าภาพเหล่านี้เป็นเรื่องทางประวัติศาสตร์ แต่ก็ยังผิดต่อนโยบายด้านภาพถ่ายของเด็กเปลือย และพยายามหาจุดลงตัวระหว่างการเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัว กับการรักษาความปลอดภัยและให้การยอมรับของกลุ่มสังคมโดยรวม คำตอบอย่างนี้ไม่เป็นที่สบอารมณ์ให้กับนาย Hansen ซึ่งออกมาเรียกร้องให้ Facebook วางแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนระหว่างนักข่าวและผู้ใช้งาน Facebook ทั่วไป

อ่านเพิ่มเติมที่นี่ : http://www.zdnet.com/article/zuckerberg-under-fire-facebook-wrong-to-censor-famous-vietnam-pic-of-napalm-child/